เป็นการนำความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ผู้เขียนสนใจนำมาเรียบเรียงอย่างชัดเจน
ให้น่าสนใจโดยอาศัยข้อเท็จจริง ระกอบความคิดเห็นของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้เข้าใจ
ตามที่ผู้เขียนต้องการ
องค์ประกอบของเรียงความ
เรียงความมีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
๑. คำนำ (การเปิดเรื่อง)
๒. เนื้อเรื่อง หรือเนื้อความ
๓. บทลงท้าย (การปิดเรื่อง หรือ บทสรูป)
ขั้นตอนการเขียนเรียงความ
๑. กำหนดความมุ่งหมาย ของเรียงความเรื่องนั้น
๒. เลือกแบบการเขียน หรือโวหารการเขียนให้สอดคล้องกับ ความมุ่งหมายสำคัญ
๓. หารายละเอียดประกอบ และขยายความประเด็นต่างๆ ของโครงเรื่อง
๔. กำหนดภาคคำนำ ภาคเนื้อเรื่อง และภาคสรุป
ภาคคำนำ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. ทำให้ผู้อ่านสนใจ
๒. แนะหรือบอกความมุ่งหมายหรือแนวของเรื่อง
๓. ไม่ตั้งต้นไกลเกินไป และมีแนวนำเข้าสู่เรื่อง
๔ .ไม่ยาวเกินไป
ภาคเนื้อเรื่อง เป็นภาคสำคัญประกอบด้วย
๑. ข้อมูลในโครงเรื่อง ซึ่งเรียงตามลำดับเวลา ตามพื้นที่ ตามเหตุผล หรือ
ตามความสำคัญ
๒. ประกอบด้วยย่อหน้าแต่ละย่อหน้า ที่สื่อความคิดอย่างมีประสิทธิผล เหมาะสมตามความสำคัญของเนื้อเรื่อง
๓. มีความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละประโยค แต่ละย่อหน้า
๔. มีรายละเอียดที่ชัดเจน ขยายความ ประกอบความ และสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้ชัดเจนเหมาะสมสอดคล้องกัน
ภาคจบหรือภาคสรุป การจบมักใช้ 2 วิธี คือ
๑. จบด้วย การย่อ คือนำเอาใจความสำคัญ ที่เป็นสาระอย่างแท้จริงมากล่าว
ในตอนท้าย ให้ผู้อ่านประทับใจเป็นการทบทวนอีกครั้ง
๒. จบด้วยการสรุปให้ตรงความมุ่งหมายสำคัญของเรื่อง ใช้วิธี สรุปความ เป็นประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถาม เป็นภาษิต หรือเป็นคำประพันธ์
ที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องก็ได้ภาคจบนี้ควรแยกเป็นย่อหน้าหนึ่ง และต้องสรุป
ความหมายสำคัญเอาไว้ในหน้านี้
ที่มาของข้อมูล https://www.geocities.com/taoliks/e007.htm
เครดิต : https://www.kanzuksa.com/Radio.asp?data=174