นอกเหนือจากการดื่มน้ำเปล่า หรือ น้ำเต้าหู้ เพื่อรับมือกับความร้อนของอุณหภูมิภายนอก ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังมีเครื่องดื่มในชีวิตประจำวัน และเครื่องดื่มตามธรรมชาติอีกหลายชนิด ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความร้อนในร่างกาย ดับ กระหาย แก้ไข้ แก้ร้อนใน และสรรพคุณ อื่นๆ ที่ส่งเสริมความแข็งแรงของสุขภาพใน ช่วงหน้าร้อน
ชาวจีนมีความรู้เรื่องการทำน้ำจับเลี้ยง เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการร้อนในมานาน เป็นเครื่องดื่มที่รวบรวมเอาสมุนไพรหลายชนิด เข้ามาเป็นส่วนผสม ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและ เย็น นอกจากจะช่วยป้องกันและบรรเทา อาการร้อนในแล้ว ยังช่วยให้รู้สึกกระชุ่ม กระชวย ชุ่มคอ
ส่วนผสมของน้ำจับเลี้ยงนี้ มีจำหน่าย ชนิดจัดไว้เป็นชุดสำเร็จรูป ตามร้านขายสมุน ไพรจีนทั่วไป หรือใช้ส่วนผสมเหล่านี้อย่างละ หนึ่งหยิบมือ (3-5 กรัม) คือ หง่วงเซียม แซ่ตี่ เหง็กเต็ก แปะตง หล่อฮั้งก๊วย กิมงิ่งฮวย (สายน้ำผึ้ง) เก๊กฮวย ไซเตียวจั๊ว (เมล็ด เพกา) เม่ากิง (หญ้าคา) ไน่เฮียะ (ใบบัว) บักหมี่ฮวย (ดอกงิ้ว) แฮ่โกวเช่า โถวฮก ต้มกับน้ำสะอาด 1-5 ลิตร โดยต้มน้ำให้เดือด ก่อนใส่ตัวยาลงไป ต้มจนได้น้ำยาสีน้ำตาล เข้ม จากนั้นกรองเอาตัวยาออก เติมน้ำตาล กรวดลงไปตามชอบ (อย่าให้หวานนักไม่ดีต่อ สุขภาพ) ต้มจนน้ำตาลกรวดละลาย จากนั้น ใส่ภาชนะที่สะอาด เก็บไว้ดื่มได้ทั้งแบบจับ เลี้ยงร้อนและจับเลี้ยงเย็น (ทั้งนี้ส่วนผสมของ ตัวยาสมุนไพร อาจไม่ต้องครบถ้วนตามชนิด ข้างต้นก็ได้ แต่อาจทำให้รสชาติขาดความ กลมกล่อมไปบ้าง)
นอกเหนือจากจับเลี้ยง ชาวจีนยังนิยม ดื่ม น้ำแชตี่-โถวฮก มีสรรพคุณแก้ร้อนใน เช่นเดียวกัน แต่ยุ่งยากน้อยกว่า เพียงซื้อ แชตี่กับโถวฮกที่สะอาดและใหม่จากร้าน ขายยาจีนอย่างละ 5 กรัม ต้มกับน้ำสะอาด หนึ่งลิตร กรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอากาก ออก จากนั้นนำไปตั้งไฟต่อ เติมน้ำตาล กรวดลงไปเล็กน้อย เมื่อน้ำตาลละลายก็จะ ได้น้ำแซตี่-โถวฮกไว้ดื่มสู้ร้อนกันแล้ว หรือจะเพิ่มแชตี่-โถวฮกลงไปเป็นส่วนผสมใน น้ำจับเลี้ยงด้วยก็ได้ ส่วนเครื่องสู้ร้อนอื่นๆ ที่อยากแนะนำให้ ปรุงดื่มกัน ได้แก่
1. น้ำลูกเดือย ใช้ลูกเดือยแก่เปลือก มาต้มให้สุก แล้วใส่ในเครื่องปั่น ปั่นให้ ละเอียด จากนั้นเติมน้ำเชื่อมและน้ำแข็งลง ไป ปั่นจนเข้ากันดีแล้วเทใส่ภาชนะ ดื่มเพื่อ เติมความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
2. น้ำเฉาก๊วย มีสรรพคุณแก้ร้อนใน
3. น้ำเก๊กฮวย แก้ร้อนใน
4. น้ำแตงโม แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
5. น้ำอ้อย แก้กระหาย ให้ความชุ่มชื่น มีโพแทสเซียม เหล็ก ไนโตรเจน และฟอส ฟอรัสมาก ควรอื่มน้ำอ้อยหีบสด ไม่ควรดื่ม แบบเคี่ยว เพราะปริมาณน้ำตาลจะมากเกิน ไป
6. น้ำลูกตาล จะนำมาปรุงเป็นลูกตาล ลอยแก้วรับประทาน หรือปอกเปลือกรับ ประทานสดๆ ก็ได้ เพราะในเนื้อลูกตาลอ่อน มีฟอสฟอรัส แคลเซียม และน้ำมาก มีกาก ใยและคาร์โบไฮเดรตสูงพอสมควร ช่วยให้ ร่างกายกระชุ่มกระชวย
7. น้ำคั้น/น้ำเอนไซม์ จากแคนตาลูป มะเขือเทศ สับปะรด น้ำมะพร้าว มะนาว มะเฟือง ทับทิม
ที่มา https://www.ku.ac.th/e-magazine/april46/know/hot.html