พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งนำโดย อาจารย์ดวงแก้วพิทยากร ศิลป์ ที่สนใจการสร้างหุ่นขี้ผึ้ง และศึกษาค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ สามารถสร้างหุ่น ขี้ผึ้งยุคใหม่จากไฟเบอร์กลาสที่มีความคงทน ประณีต งดงาม เหมือนคนจริงที่สุด จนคณะผู้ร่วมงานเห็นสมควรที่ จะสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไป เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและศิลปินไทย จึงเริ่มโครงการก่อตั้งพิพิธ ภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ไทยในปี พ.ศ. 2525 สำหรับเป็นสถานที่สร้างและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส เพื่อการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชน โดยปัจจุบันมีหุ่นไฟเบอร์กลาสทั้งหมด 120 รูปอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยนี้เป็นอาคารสองชั้น โดยมีการจัด แสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงค์จักรี, พระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ชุดพระอริยสงฆ์, ชุดมุมหนึ่งของชีวิต เป็นต้น
( Thai Human Imagery Museum )
ตั้งอยู่ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บนเนื้อที่ 12 ไร่ เป็นที่จัดแสดงหุ่นซึ่งหล่อจากไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนจริง เช่น หุ่นพระอริยสงฆ์ พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี หุ่นครอบครัวไทย ฯลฯพิธีเปิด
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2532 นับเป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์ กลาสแห่งแรกของประเทศไทย อันเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย และความชื่นชมของชาวโลกวัตถุประสงค์
1. เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทย2. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ด้านประติมากรรม และศิลปะแขนงต่าง ๆ
3. เพื่อเป็นสถานที่ทัศนศึกษาสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
โซนแรก คือ ห้องจัดแสดงพระอริยสงฆ์ ซึ่งได้แก่ พระครูภาวนารังษี, พระธรรมญาณมุนี, พระโพธิญาณเถร, ครูบาชัยวงศาพัฒนา, หลวงจีนคณาณัติจีนพรต, พระมงคลเทพมุนี, พระราชสังวราภิมณฑ์, พระสุพรหมยานเถร, พระนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาจารย์, หลวงพ่อเกษม, สมเด็จพระพุฒาจารย์, พระครูวิมลคุณากร, พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์, พระอาจารย์มั่น, ครูบาศรีวิชัย ปั้นได้เหมือนจริงมาก
ห้องแสดงต่อไปซึ่งถือเป็นไฮไลด์ของที่นี่ ห้องจัดแสดงพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงค์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 ล่ะ ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทยนั่นเอง ภายในห้องนี้ประกอบไปด้วยประราชประวัติและ พระกรณียกิจต่างๆ และภาพงานพระราชพิธีสุดท้าย
ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องหุ่นชุดครอบครัวไทย เป็นห้องแสดงสุดท้ายสำหรับห้องจัดแสดงชั้นล่าง ซึ่งเดินไป เดินมาจะมาออกที่ ด้านหน้าทางเข้า พวกเราก็เดินขึ้นชั้นสองกันต่อ ซึ่งห้องจัดแสดงชั้นบนแรกสุดจะเป็นการ จัดแสดงชุด 3 ครูไทยได้แก่ ครูจวงจันทร์ จันทร์คณา (บรมครูพรานบูรพ์) ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูไพบูลย์ บุตรขัน
เดินเข้าไปตามทางเดินเรื่อยๆ ห้องแสดงหุ่นชุดต่อไปคือ ชุด 3 บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งได้แก่ มหาตมา คานธี, อับราฮัม ลินคอล์น, เซอร์ วินสตัน เชอรชิล เป็นต้น คานธีเป็นนักการเมืองที่ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ จากการปกครองของอังกฤษทำให้โลก ต้องจดจำคานธี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "มหาตมา" แปลว่า ผู้มีจิตใจ สูงส่ง เป็นบิดาแห่งประชาชนชาติอินเดีย อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา "รัฐบาลของ ประชาชนโดย "เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล เป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ซึ่งทั้งสามท่านมีบทบาททางด้านการเมืองในแต่ละประเทศ โดยส่วนตัวแล้ว เราเองเป็น คนที่ไม่ค่อยมีความรู้
ห้องจัดแสดงชุดต่อไปเป็นชุดวัฒนธรรมประเพณีไทย เรื่องการละเล่นของไทย ได้แก่ การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่น แมงมุม การเล่นจ้ำจี้ การเล่นขี่ม้าช้างชนกัน และการเล่นหัวล้านชนกันห้องต่อไปที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจ จากเด็กๆ ก็เห็นจะเป็นชุดวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณีของสุนทรภู่นี่ล่ะ ห้องนี้เหมือนห้องรวมดาววรรณคดี สุนทรภู่เลยล่ะสุนทรภู่กวีเอกของโลก มีชื่อเสียงในด้านสำนวนกลอนเป็นที่เลืองลือจนได้รับการยกย่องว่าเป็น บรมครูกลอนแปด และได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นกวีที่มีจินตนาการกว้างไกล สร้างโครงเรื่องและเนื้อหา ของ นิทานได้น่าสนใจ และชวนติดตามสุนทรภู่ได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็นกวีของโลก จากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
เวลาเปิด - ปิด
วันจันทร์ - ศุกร์ เปิด ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.30 น
วันเสาร์ - อาทิตย์ - วันหยุดราชการ เปิด ตั้งแต่เวลา 08.30 - 18.00 น.
ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ผู้ใหญ่ 50 บาทเด็ก 10 บาท
นิสิต นักศึกษาในเครื่องแบบ 20 บาท
แหล่งที่มา : https://www.paiduaykan.com/76_province/central/nakhonpathom/thaihumanimagery.html
https://pirun.ku.ac.th/~b4915055/wordwork1.htm