ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม หมายถึง, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม คือ, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม ความหมาย, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม

    ในรอบเดือนที่ผ่านมา นอกจากสถานการณ์ทางการเมืองในบ้านเราที่ร้อนแรงและน่าสนใจยิ่งแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์นอกประเทศที่อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่น่าในใจมาก ได้แก่ การที่กลุ่มบริษัท Lehman Brothers ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัททางการเงินที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆของโลก ได้ประกาศขอเข้าแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้มาตรา 11 ของกฏหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอนุญาตให้บริษัทที่มีปัญหาทางการเงินประกาศขอล้มละลาย และต้องการฟื้นฟูกิจการด้วยตนเอง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาหนี้เสียในสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาความไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่มีเครดิต (ปัญหา Sub-Prime Lending)     จุดกำเนิดของกลุ่ม Lehman Brothers เมื่อ 158 ปีที่แล้ว เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากครอบครัวที่เป็นนายหน้าซื้อขายสินค้าเกษตรแล้วพัฒนาตัวเองต่อมาจนเป็นนายหน้าซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จนมีธนาคารและสถาบันการเงินประเภทต่างๆเป็นของตนเอง จนถือได้ว่าเป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่เป็นนายหน้ารายหลักในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และเป็นบริษัทที่มีการลงทุนทั่วโลกทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน เป็นทั้งบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และเป็นบริษัทที่ปรึกษาใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีสาขาอยู่ในตลาดการเงินใหญ่ๆทั่วโลก เช่น ลอนดอน โตเกียว     การล่มสลายของกลุ่มบริษัท Lehman Brothers เกิดจากบริษัทลูกที่มีนามว่า BNC Mortgage ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาด้านเครดิต (Sub-Prime Lending) ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้านและที่ดินที่เกิดปัญหาหนี้เสีย ครั้งมโหฬารและต้องปิดตัวลงในที่สุดในปี 2550 โดยการปิดตัวของ BNC Mortgage ทำให้กลุ่ม Lehman Brothers ต้องประสบภาวะการขาดทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งมีผลให้กลุ่มบริษัท Lehman Brothers เกิดวิกฤต และยังส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอีก 2 แห่งได้แก่ Merrill Lynch และ American International Group (AIG) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางธุรกิจที่รุนแรง ทั้งยังจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปถึงบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอีกเป็นวงกว้าง ซึ่งนักการเงินส่วนใหญ่ก็คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินในระดับโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเศรษฐกิจของอเมริกาเจ็บป่วยด้วยโรคทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง โรคดังกล่าวก็จะลามและมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของโลก อย่างแน่นอน ดังนั้น ภาวะของ Hamburger Crisis จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับ     คำถามที่น่าสนใจก็คือปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีต้นตอมาจากปัญหาอะไร ซึ่งถ้าเรามาพิจารณาดูถึงระบบทุนนิยมเสรีของสหรัฐอเมริกาที่เน้นหลักการบริโภคนิยมเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่คำนึงถึงหลักศีลธรรมจรรยา เน้นการแข่งขัน โดยเฉพาะในตลาดการเงินภายใต้ระบบทุนนิยมเสรีที่ปล่อยให้ทุกคนในระบบแข่งขันกันถึงที่สุดโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักธรรมภิบาล ดังเช่นในกรณีของกลุ่มบริษัท Lehman Brothers ปัญหาเกิดจากการเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ ที่เมื่อขาดสภาพคล่องเนื่องจากปัญหาการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาลง การขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ก็ทำให้บริษัทถึงจุดจบ และอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอของวิกฤตการณ์ Sub-Prime ในสหรัฐอเมริกา ก็คือปัญหาจริตวิบัติ (Moral Hazard) ของเจ้าหนี้ ซึ่งน่าจะมาจากความย่อหย่อนในการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐซึ่งทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีการแก้ไขปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะมีการลุกลาม     วิกฤตการณ์ Sub-Prime จึงเป็นอีกภาพหนึ่งของระบบในตลาดทุนนิยมเสรีที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบที่เกิดจากการสร้างจริตคนให้เกิดความโลภและปัญหาจริตวิบัติในระดับสูงต่อเจ้าหนี้ และสถาบันการเงินอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแท้จริงแล้วปัญหาจริตวิบัติมีรากฐานมาจากผลประโยชน์ทับซ้อนจำนวนมหาศาลของผู้เล่นฝ่ายต่างๆที่ภาครัฐปล่อยปละละเลยจนเป็นปัญหาและมีผลกระทบต่อลูกหนี้จำนวนมากที่ต้องเดือดร้อนอย่างไม่เป็นธรรม และอาจจะลุกลามใหญ่โตไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เพราะโลกในปัจจุบัน เศรษฐกิจได้มีการผูกโยงกันอย่างแนบแน่น     เชื่อว่าภายหลังวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ ประเทศต่างๆทั่วโลกคงต้องตระหนักถึงความจริงและผลกระทบของตลาดแบบเสรี (Free Market) ทั้งต้องให้มีการทบทวนนโยบาย ตลอดจนให้มีการกำกับพฤติกรรมของผู้เล่นที่เกี่ยวข้องในระบบตลาดทุน ตลาดการเงิน โดยเฉพาะกลุ่มวาณิชธนกิจและกลุ่มเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งมีผลให้สังคมโลกทั่วไปเกิดความเสียหาย และต่อไปสังคมคงจะหวังไม่ได้ว่าการพึ่งพากลไกตลาดให้ทำงานเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่มีการกำกับดูแลอย่างระมัดระวังจะทำได้อีกต่อไป เพราะกรณีของวิกฤติ Sub-Prime ปัญหาจริตวิบัติ จนถึงการล่มสลายของกลุ่มบริษัท Lehman Brothers ได้แสดงให้เห็นแล้วถึงความล้มเหลวของระบบธรรมาภิบาลของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจชั้นนำของโลกที่ไม่สามารถกำกับดูแลสถาบันการเงินให้ทำงานอย่างเป็นธรรมและไม่สามารถกำจัดปัญหาให้เหลือน้อยที่สุดได้     ในกรณีนี้ ถือได้ว่าเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับประเทศไทยที่สมควรจะรีบนำมาศึกษาและพิจารณาอย่างเร่งด่วน เพื่อพิจารณาวางแผนการสร้างธรรมาภิบาลในระบบตลาดทุน หรือสถาบันการเงินของบ้านเราก่อนที่จะประสบปัญหาเช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา           โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม
 
          ที่มา TSI Investment Wiki
           
          แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
          https://www.tsi-thailand.org/
          https://www.set.or.th/

Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม หมายถึง, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม คือ, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม ความหมาย, Hamburger Crisis กับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu