วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
ในอดีต ประเทศไทยได้ชื่อว่า มีทรัพยากรที่สมบูรณ์มากที่สุด พื้นที่อุดมไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าเพียง 17% ของ พื้นที่ประเทศ ส่งผลให้สัตว์ป่าขาดแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารทำให้สัตว์ป่าลดลง บางชนิดสูญพันธ์ และอีกหลายชนิดตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธ์
ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นในปี 2503 เพื่อเป็นเครื่องมือ สำคัญในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศ จนถึงปี 2535 ก็ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมโดยได้ เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเพาะสัตว์ป่าบางประเภท ได้ เพราะการเพาะเลี้ยงเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้สัตว์ป่าคงอยู่ อยู่ต่อไป อย่างไรก็ตามสัตว์ป่าก็ยังถูกไล่ล่าและลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เพียงเจ้าหน้าที่อย่างเดียวไม่พอต้องอาศัยความร่วมมือกับองค์การต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐ และเอกชนรวมถึง ประชาชนและเยาวชนของชาติ ด้วยพระหากรุณาธิคุณสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงห่วงใยต่อ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าทรงมีพระราชดำริแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เสมอมา
ในวันที่ 26 ธันวาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายก รัฐมนตรี ได้ร่างกฎหมายว่าด้วย การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น ด้วย พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระศรีนทราบรมราชชนนี ครั้งเมื่อดำรง พระยศสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงลง พระนามในพระนามในพระปรมาธิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2503 ขึ้น
ต่อมา วันที่ 26 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
ข้อมูลจาก : สำนักงาน สส.นพดล พลเสน