การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬา จากหลายประเทศทั่วโลก ที่จัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี และแบ่งเป็น โอลิมปิกฤดูร้อน และ โอลิมปิกฤดูหนาว สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 หรือ ปักกิ่ง 2008 โอลิมปิก ถูกจัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ฮ่องกง ชิงเต่า ชิงหวงเต่า เซี่ยงไฮ้ และเสิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม (การแข่งขันฟุตบอลจัดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม) ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ตามมาด้วยพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 17 กันยายน การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่สามที่มีเจ้าภาพอยู่ในทวีปเอเชีย (ครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และครั้งที่สอง ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531) ทำงานอยู่กับบ้าน ผ่าน net 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ สมัครที่ https://doiop.com/76t253
สัญลักษณ์โอลิมปิก 2008 ถูกตั้งชื่อว่า "ปักกิ่งเริงระบำ" จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว "จิง京" ซึ่งหมายถึง "เป่ยจิง (ปักกิ่ง)" อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบถอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ ++แจกฟรี ++ Ebook "ความลับ" สู่ความร่ำรวย https://tinyurl.com/67faks
เพิ่มเติม
รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน
เอเธนส ประเทศกรีซ เจ้าภาพปี ค.ศ. 1896
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าภาพปี ค.ศ. 1900
เซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เจ้าภาพปี ค.ศ. 1904
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เจ้าภาพปี ค.ศ. 1908
สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เจ้าภาพปี ค.ศ. 1912
แอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม เจ้าภาพปี ค.ศ. 1920
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าภาพปี ค.ศ. 1924
อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เจ้าภาพปี ค.ศ. 1928
ลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา เจ้าภาพปี ค.ศ. 1932
เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เจ้าภาพปี ค.ศ. 1936
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เจ้าภาพปี ค.ศ. 1948
เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เจ้าภาพปี ค.ศ. 1952
เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เจ้าภาพปี ค.ศ. 1956
โรม ประเทศอิตาลี เจ้าภาพปี ค.ศ. 1960
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เจ้าภาพปี ค.ศ. 1964
เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก เจ้าภาพปี ค.ศ. 1968
มิวนิก ประเทศเยอรมนีตะวันตก เจ้าภาพปี ค.ศ. 1972
มอนทรีออล ประเทศแคนาดา เจ้าภาพปี ค.ศ. 1976
มอสโก ประเทศสหภาพโซเวียต เจ้าภาพปี ค.ศ. 1980
ลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา เจ้าภาพปี ค.ศ. 1984
โซล ประเทศเกาหลีใต้ เจ้าภาพปี ค.ศ. 1988
บาร์เซโลนา ประเทศสเปน เจ้าภาพปี ค.ศ. 1992
แอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริก เจ้าภาพปี ค.ศ. 1996
ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เจ้าภาพปี ค.ศ. 2000
เอเธนส์ ประเทศกรีซ เจ้าภาพปี ค.ศ. 2004
ปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าภาพปี ค.ศ. 2008
ประวัติกีฬาโอลิมปิก
ประวัติกีฬาโอลิมปิก ก่อนหน้าคริสตกาลกว่า 1,000 ปี การแข่งขันกีฬาได้ดำเนินการกันบนยอดเขา "โอลิมปัส" ในประเทศกรีก โดยนักกีฬาจะต้องเปลือยกายเข้าแข่งขันเพื่อประกวดความสมส่วนของร่างกาย และยังมีการต่อสู้บางประเภท เช่น กีฬาจำพวกมวยปล้ำ เพื่อพิสูจน์ความแข็งแรง ผู้ชมมีแต่เพียงผู้ชายห้ามผู้หญิงเข้าชม ดังนั้นผู้ชมจะต้องขึ้นไปบนยอดเขา ครั้นต่อมามีผู้นิยมมากขึ้นสถานที่บนยอดเขาจึงคับแคบเกินไป จึงทำให้ไม่เพียงพอที่จุ ทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้ทั้งหมด
ดังนั้น ในปีที่ 776 ก่อนคริสตกาลชาวกรีกได้ย้ายที่แข่งขันกันที่เชิงเขาโอลิมปัส และได้ปรับปรุงการแข่งขันเสียใหม่ให้ดีขึ้น โดยให้ผู้เข้าเข่งขันสวมกางเกง พิธีการแข่งขันจึงจัดอย่างมีระเบียบเป็นทางการ มีจักรพรรดิมาเป็นองค์ประธาน อนุญาตให้สตรีเข้าชมการแข่งขันได้แต่ไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขัน ประเภทกรีฑาที่มีการแข่งขันที่ถือเป็นทางการในครั้งแรกนี้มีกีฬาอยู่ 5 ประเภท คือ การวิ่ง กระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลนและขว้างจักร ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งๆ จะต้องเล่นทั้ง 5 ประเภท โดยผู้ชนะจะได้รับรางวัล คือ มงกุฎที่ทำด้วยกิ่งไม้มะกอก ซึ่งขึ้นอยู่บนยอดเขาโอลิมปัสนั่นเอง และได้รับเกียรติเดินทางท่องเที่ยวไปทุกรัฐในฐานะตัวแทนของพระเจ้า และการแข่งขันได้จัดขึ้น ณ เชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิสที่เดิมเป็นประจำทุกๆ สี่ปี และถือปฏิบัติต่อกันมาโดยไม่เว้น เมื่อถึงกำหนดการแข่งขัน ทุกรัฐจะต้องให้เกียรติ หากว่าขณะนั้นกำลังทำสงครามกันอยู่จะต้องหยุดพักรบ และมาดูนักกีฬาของตนแข่งขัน หลังจากเสร็จจากการแข่งขันแล้วจึงค่อยกลับไปทำสงครามกันใหม่ ประเภทของการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างในระยะต่อๆ มา โดยมีการพิจารณาและลดประเภทของกรีฑาเรื่อยมา อย่างไรก็ดีในระยะแรกๆ นี้กรีฑา 5 ประเภทดังกล่าวจัดแข่งขันกันในครั้งแรก ก็ยังได้รับเกียรติให้คงไว้ ซึ่งเรียกกันว่า "เพ็นตาธรอน" หรือ "ปัญจกรีฑา" ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงกำเนิดของกรีฑา ในปัจจุบันก็ยังมีการแข่งขันกันอยู่ แต่ประเภทของปัญจกรีฑาได้เปลี่ยนตามยุคและกาลสมัย
การแข่งขันได้ดำเนินติดต่อกันมานับเป็นเวลาถึง 1,200 ปี จนมาในปี ค.ศ. 393 จักรพรรดิธีโอดอซิดุช แห่งโรมัน ได้ทรงประกาศให้ยกเลิกการแข่งขันนั้นแสีย เพราะเกิดมีการว่าจ้างกันเข้ามาเล่นเพื่อหวังรางวัล และผู้เล่นปรารถนาสินจ้างมากกว่าการเล่นเพื่อสุขภาพของตน รวมทั้งมีการพนันขันต่อ อันเป็นทางวิบัติซึ่งผิดไปจากวัตถุประสงค์เดิมคือ ผู้เข้าแข่งขันทั้งหลายต่างก็อยากได้ช่อลอเรล ซึ่งเป็นรางวัลของผู้ชนะด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงสั่งให้ล้มเลิกการแข่งขันที่เป็นประเพณีอันดีงามนี้ตลอดระยะเวลาที่มีการแข่งขันนั้น ได้จัดขึ้นบริเวณ ณ ที่แห่งเดียวเชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส จึงเรียกการแข่งขันตามชื่อของสถานที่นั้นว่า "การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก"
หลังจากโอลิมปิกโบราณได้ล้มเลิกไปเป็นเวลาถึง 15 ศตวรรษ โอลิมปิกยุคใหม่เกิดขึ้น โดยมีนักกีฬาคนสำคัญของฝรั่งเศสชื่อ "บารอน ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง" ท่านขุนนางผู้นี้เกิดในกรุงบารีสเมื่อ 1 มกราคม 2406 สนใจประวัติศาสตร์ ปัญหาการเมืองและสังคมในปี พ.ศ. 2432 ท่านอายุได้ 26 ปี ได้เกิดความคิดที่จะฟื้นฟูการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งได้ล้มเลิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) โดยติดต่อกับบุคคลสำคัญของประเทศอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศสเป็นเวลาถึง 4 ปี ในที่สุดได้เปิดการประชุมอันไม่เป็นทางการขึ้นที่ตำบลซอร์บอนน์ ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 และประกาศ ณ ที่นั้นว่าการแข่งขันโอลิมปิกซึ่งได้หยุดมานานกว่า 15 ศตวรรษ จักได้ฟื้นขึ้นใหม่เป็นการปัจจุบัน และแผนการของงานโอลิมปิกปัจจุบันนั้นได้เป็นที่ตกลงกันในที่ประชุมจำนวน 15 ประเทศ ณ ตำบลซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส คณะกรรมการผู้ริเริ่มได้ลงมติว่ามิให้ทำการเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้น โดยกำหนด 4 ปีต่อ 1 ครั้งและให้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปเป็นเจ้าภาพระหว่างประเทศเครือสมาชิก แต่การเปิดแข่งขันครั้งแรกให้เริ่ม ณ กรุงเอเธนส์ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการกำเนิดกีฬาโอลิมปิกเมื่อครั้งโบราณ จากนั้นเป็นต้นมาการแข่งขันและวิธีเล่นกรีฑาก็พัฒนาไปอย่างกว้างขวาง และการแข่งขันทุกๆ ครั้งให้ถือเอากรีฑาเป็นกีฬาหลัก ซึ่งจะขาดเสียมิได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง
การที่จะกำหนดว่าประเทศใดจะได้เป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป ณ สถานที่ที่ทำการแข่งขันครั้งสุดท้ายดำเนินอยู่นั้นเองคณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะเข้าประชุมพิจารณาในบรรดาประเทศสมาชิกที่เสนอขอจัดและมีอำนาจเด็ดขาดที่จะลงมติให้ประเทศใดเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นทางการในวันพิธีเปิดการแข่งขันครั้งสุดท้ายนั้น ประเทศที่ได้รับพิจารณาให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับความไว้วางใจ อันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อปวงชนทั้งประเทศ
ในปัจจุบันประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิกของโอลิมปิก 197 ประเทศ แต่บางประเทศไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันเพราะเป็นประเทศเล็กขาดความพร้อมในเรื่องตัวนักกีฬาท่านบารอน ปิแอร์เดอ ดูเบอร์แตง ไม่ให้นิยามการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกว่า ผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่เลือกผิวพรรณ ศาสนา ลัทธิการปกครองแต่อย่างใดความหมายการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาชาติต่างๆ ได้มาร่วมชุมนุมกัน ตัวนักกีฬาเปรียบเสมือนทูตสันถไมตรีส่งมาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ร่วมเล่นสนุกสนานด้วยความเห็นอกเห็นใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดทั้งสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน อันนำมาซึ่งความสามัคคีและเพื่อสันติภาพของโลก การแพ้หรือชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ "การเข้าร่วม"
รางวัลของการแข่งขัน ในสมัยโบราณผู้ที่ชนะจะได้รับการสรรเสริญมาก รางวัลที่ให้แก่ผู้ชนะในสมัยนั้น คือ "กิ่งไม้มะกอก"ซึ่งตัดมาจากยอดเขาโอลิมปัส อันเป็นที่สิงสถิตของพระเจ้าซีอูซ แล้วทำเป็นวงคล้ายมงกุฎจักรพรรดิจะเป็นผู้พระราชทานครอบลงบนศรีษะของผู้ชนะนั้นๆ พร้อมทั้งได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ชนรุ่นหลังศึกษาและชื่นชมต่อไป สำหรับการแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันแบ่งรางวัลเป็นสามระดับ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญบรอนซ์ ให้แก่ผู้ชนะเลิศ ผู้ชนะเลิศที่สอง และที่สามตามลำดับ ส่วนที่สี่ไปถึงอันดับที่ 6 จะได้ประกาศนียบัตรการเข้าร่วมการแข่งขันโคมไฟโอลิมปิก เมื่อมีการแข่งขันโอลิมปิกจะมีการจุดไฟขึ้นสว่างไสว ในสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าจึงจุไฟกองใหญ่ขึ้นบนยอดเขาโอลิมปัส เพื่อเป็นสัญญาณ
ประกาศให้คนทั่วไปทราบว่าการเฉลิมฉลองได้เริ่มขึ้นแล้ว การจุดไฟเริ่มแรกนั้นเขาทำพิธีกันบนยอดเขาโอลิมปัส ใช้แว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์พุ่งไปยังเชื้อเพลิงเมื่อเกิดไฟแล้วจึงนำตะเกียงต่อเอาไว้ส่วนไฟกองใหญ่จะคงลุกโชติช่วงต่อไปจนตลอดงานฉลอง ส่วนตะเกียงนั้นจะมีการวิ่งถือไปทั่วทุกนครรัฐด้วยการส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ จากนักวิ่ง คนละ 2 ไมล์หากผ่านทะเล หรือแม่น้ำก็จะลงเรือข้ามฟากโดยไฟไม่ดับ ไฟนี้ชาวกรีก ถือว่าเป็นไฟศักดิ์สิทธิ์ และความสงบสุขของชาวกรีก ซึ่งพระเจ้าจะทรงพระพิโรธต่อบุคคลที่ไม่สนใจในกิจการนี้โอลิมปิก ปัจจุบันก็ยังคงรักษาประเพณีเรื่องการจุดไฟไว้ดังเดิมทุกประการ กล่าวคือ ก่อนจะมีการแข่งขันจะมีพิธีจุดไฟ ณ เขาโอลิมปัส ผู้จุดคือสาวพรหมจารีย์ผู้บริสุทธิ์เป็นผู้ต่อไฟจากแว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์ด้วยคบเพลิง และไฟนี้จะถูกแจกจ่ายไปยังประเทศสมาชิกทั่วโลก และข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ประเทศเจ้าภาพ และมีการวิ่งถือคบเพลิงส่งต่อกันไปจุดที่กระถางใหญ่บริเวณงานในวันแรกของพิธีเปิดการแข่งขัน ไฟจะต้องไม่ดับตั้งแต่เริ่มจุด ณ ภูเขาโอลิมปัส จนกระทั่งกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้นๆ
ธงโอลิมปิกมีผืนธงเป็นสีขาว ขนาดมาตรฐานยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตร ส่วนเครื่องหมายห้าห่วงคล้องกันอยู่บนกลางธง ขนาด 2 เมตร คูณ 0.60 เมตร มีสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว สีแดง ตามลำดับจากซ้ายไปขวา คล้องไขว้กันอยู่ตรงกลางสองแถว แถวบน 3 ห่วงแถวล่าง 2 ห่วง ห่วงสีที่คล้องกันอยู่ตรงกลางธงบนพื้นธงสีขาว รวมเป็น 6 สี โดยแท้จริงแล้ว ห้าห่วง หมายถึง ห้าส่วนของโลกที่อยู่ในโอบอ้อมของ "โอลิมปิกนิยม" มิเจาะจงเป็นห้าทวีปในโลก อย่างที่เข้าใจกัน แต่บังเอิญห้าทวีปนี้ก็เป็นห้าส่วนของโลกก็เลยอนุโลมกันไปเช่นนั้น ส่วนสีที่ห่วง 5 สี มิได้หมายถึงสีประจำทวีป ซึ่งสีทั้งหมด 6 สี รวมทั้งสีขาวที่เป็นพื้นธง หมายความว่า ธงชาติของประเทศต่างๆ ในโลกประกอบด้วยสีใดสีหนึ่งหรือกว่านั้นในจำนวนหกสีนั้น และไม่มีธงชาติของประเทศใดที่มีสีนอกเหนือไปนอกจากหกสีนี้