ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชิมไปบ่นไป, ชิมไปบ่นไป หมายถึง, ชิมไปบ่นไป คือ, ชิมไปบ่นไป ความหมาย, ชิมไปบ่นไป คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ชิมไปบ่นไป

          นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้รับเป็นพิธีกรในรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการอื่น ๆ ของบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ที่มีนายศักดิ์ชัย แก้ววรรณีสกุล เป็นกรรมการผู้จัดการ อันเป็นบริษัทของเอกชนที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร  

          นายสมัคร ได้ดำเนินรายการกับบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัดมานานประมาณ 7 ปีแล้วโดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ก่อนหน้าที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และยังประสงค์ดำเนินรายการต่อไปหลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน

         นายสมัคร สุนทรเวช เริ่มทำรายการ “ชิมไปบ่นไป” ตั้งแต่ปี 2543 โดยบริษัท เฟซมีเดีย จำกัด  ชวนให้เป็นวิทยากรเพื่อให้มาบรรยายเรื่องการทำอาหาร ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ว่าฯกทม. ส่วนค่าตอบแทนจะให้ค่ารถและค่าน้ำมันแก่คนขับรถของนายสมัคร ในระยะหลังก็ให้ค่าทำอาหารด้วย ส่วนการบันทึกเทปได้บันทึกเป็น 1 วันออกอากาศได้ 4 ตอนสามารถใช้ออกอากาศได้ 1 เดือน ทางบริษัทเคยถามว่าจะทำรายการต่อได้หรือไม่ ปรึกษากับทางนักกฎหมายก็บอกว่าเป็นเรื่องรับจ้างไม่ใช่ลูกจ้าง ในข้อบังคับห้ามเป็นลูกจ้าง นายสมัคร สุนทรเวช ก็เลยทำต่อไป  หลังดำรงตำแหน่งนายกฯ เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ มีคนทักท้วง จึงยุติออกอากาศทั้งสองรายการ  

คดี ชิมไปบ่นไป

จุดเริ่มต้นคดี ชิมไปบ่นไป

          17 เมษายน 2551 จุดเริ่มต้นคดี  ชิมไปบ่นไป นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา  ยื่นคำร้องต่อ กกต.  ให้ตรวจสอบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า กระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 หรือไม่  กรณีที่ไปเป็นพิธีกรจัดรายการชิมไป บ่นไป และรายการ ยกโขยง 6 โมงเช้า  ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 267  มีสาระสำคัญ คือ "นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท  หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มิได้ด้วย"

          18 พฤษภาคม 2551   2 เดือนหลังมีผู้ร้องต่อ กกต. นายสมัคร  ประกาศผ่านรายการ "สนทนาประสาสมัคร"   ขอยุติการจัดรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า

          ขณะที่ กกต.ตั้ง อนุกรรมการสอบสวนฯ เรื่องนี้ แต่ก่อนที่จะมีข้อสรุปว่าจะรับคดีไว้ตรวจสอบหรือไม่  วันที่ 6 มิถุนายน  นายเรืองไกรผู้ยื่นคำร้อง  ก็ได้รวบรวมรายชื่อ ส.ว. 29 คน ยื่นผ่านประธานวุฒิสภาไปยังศาลรัฐธรรมนูญ  ให้วินิจฉัยคุณสมบัติของนายสมัครอีกทางหนึ่งด้วย  ขณะที่ กกต.ก็ได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นกัน

          จนกระทั่ง วันที่ 5  สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้รับคำร้องทั้งสองไว้พิจารณา นัดตรวจพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม และนัดไต่สวนเพียง 4 นัด  คือ วันที่ 26 และ 27 สิงหาคม วันที่ 4  กันยายน  และวันที่ 8 กันยายน เป็นนัดสุดท้าย  ส่วนคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟัง บ่าย 2 โมง 9 กันยายน

ที่มา ทีมข่าวการเมือง สำนักข่าวไทย
https://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTE4MDMxJm50eXBlPWNsaXA=

บทสรุป

          วันที่ 9 กันยายน นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.และคณะรวม 29 คนและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในการรับจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" เป็นนัดสุดท้าย

          หลังจากได้นัดไต่สวนนายสมัคร และนายศักดิ์ชัย แก้ววรรณีสกุล กรรมการบริหารบริษัท เฟซ มีเดีย ผู้ผลิตรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า เป็นนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา

          คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของนายสมัครนั้น มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าขัดรัฐธรรนูญ ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติเอกฉันท์ 9-0

ที่มา https://news.sanook.com/politic/politic_303580.php

ชิมไปบ่นไป, ชิมไปบ่นไป หมายถึง, ชิมไปบ่นไป คือ, ชิมไปบ่นไป ความหมาย, ชิมไปบ่นไป คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu