ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โทรเลข, โทรเลข หมายถึง, โทรเลข คือ, โทรเลข ความหมาย, โทรเลข คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
โทรเลข

          โทรเลข (telegraph) เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คนแรกคือ แซมมวล มอร์ส ชาวอเมริกัน โดยได้คิดรหัสโทรเลขเป็นจุดและขีดเพื่อใช้ในการสื่อสารโทรเลข จนถึงปี พ.ศ. 2387  แซมมวล มอร์ส ได้สร้างสายโทรเลขระหว่างเมืองบัลติมอร์กับวอชิงตันขึ้นเป็นครั้งแรกมีระยะทางยาวถึง 64 กิโลเมตร ทำการส่งโทรเลขเป็นจุดและขีด ถือเป็นการเริ่มต้นการสื่อสารโทรเลขอย่างจริงจัง และขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย หลังจากนั้นการสื่อสารโทรเลขได้ถูกพัฒนาขึ้นมา ทั้งอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรเลข ระบบที่ใช้งาน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของการสื่อสารโทรเลข เช่นโทรพิมพ์ และเทเล็กซ์ เป็นต้น

          โทรเลข คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph , wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW)

          หลักการทำงานของโทรเลข เมื่อกดดันเคาะของเครื่องส่งเกิดวงจรปิด   กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดในเครื่องรับ  อำนาจแม่เหล็กจะดูดแม่เหล็กมากระทบแกนเหล็ก  ทำให้เกิดเสียงจังหวะเดียวกับที่กดคันเคาะ   โดยเคาะให้เกิดเสียงเป็นรหัส  จึงต้องมีการแปลสัญญาณโทรเลขเป็นสัญญาณข้อความ

         



รหัสที่ใช้ในการสื่อสารโทรเลข

          รหัสมอร์ส เป็นรหัสที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ในระบบโทรเลขในสมัยเริ่มแรกโดยการใช้จุด และ ขีด ในการเข้ารหัสในการสื่อสารโดยจะนำจุดและขีด นำมารวมกันเป็นตัวอักษร หรือตัวเลขที่เราเข้าใจได้ ตัวอย่างรหัสมอร์สที่เราจะมานำเสนอมีดังนี้
 
 A ._  B _...  C _._.  D _..  E .  F .._.  G _ _.  
 H ….  I ..  J ._ _ _  K _._  L ._..  M _ _  N _.  
 O _ _ _  P ._ _.  Q _ _._  R ._.  S …  T _  U .._  
  V …_  W ._ _  X _.._  Y _._ _ Z _ _..   
          
นี้ก็เป็นตัวอย่างของรหัสมอร์ส ที่ใช้ในการสื่อสารโทรเลข

          รหัสโทรเลข ต่อไปนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของรหัสโทรเลขกันนะครับ เนื่องจากรหัสมอร์สที่ผ่านมานั้นมีความยาวของรหัสของแต่ละตัวอักษรไม่เท่ากันนะครับ จึงเป็นการยากในการพัฒนาเครื่องสำหรับรับ-ส่ง โทรเลข ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารหัสโทรเลขขึ้นมาซึ่ง ความยาวของรหัสของแต่ละตัวอักษรหรือตัวเลขนั้นมีความยาว เท่ากันเช่น รหัส 5 หน่วย รหัส 6 หน่วย และรหัส 7 หน่วย ซึ่งองค์ประกอบของรหัสนี้จะไม่เรียกว่า จุดหรือขีด แต่จะเรียกว่า มอร์ค และ ช่องว่า แทน ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างของรหัสโทรเลขชนิด 5 หน่วยนะครับ 
 
ตัวอักษร รหัสที่1 รหัสที่2 รหัสที่3 รหัสที่4 รหัสที่5
A              M          M          S          S          S
B              M          S          S          M          M
C              S          M          M          M          S
D              M          S          S          M          S
E              M          S          S          S           S 
 
นี่ก็เป็นตัวอย่างของรหัสโทรเลข



ย้อนรอยอดีตการสื่อสารโทรเลขไทย

          เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 รัฐบาลสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้อนุมัติให้ชาวอังกฤษ 2 นาย จัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาทางโทรเลขภายในราชอาณาจักรตามคำเสนอขอแต่การดำเนินงานของบุคคลทั้งสองล้มเหลว

          ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2418 รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการเอง โดยมอบหมายให้กรมกลาโหม สร้างทางสายโทรเลขสายแรก จากกรุงเทพฯ ไปปากน้ำ (จังหวัดสมุทรปราการ) และวางสายเคเบิลโทรเลขได้น้ำต่อออกไปถึงกระโจมไฟ นอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมระยะทางยาว 45 กิโลเมตรเพื่อทางราชการใช้ส่งข่าวเกี่ยวกับการผ่านเข้าออกของเรือกลไฟ พ.ศ. 2421 กรมกลาโหมได้สร้างทางสายโทรเลขสายที่สอง จากกรุงเทพฯ ถึงพระราชวังบางปะอิน และภายหลังได้ขยายทางสายออกไปถึงกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการเช่นกัน

          ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้นรับช่วงงานโทรเลขจากกรมกลาโหมมาทำต่อไป ได้เริ่มสร้างทางสายใช้ลวดเหล็กอาบสังกะสีเป็นสายแรกจากกรุงเทพฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ ศรีโสภณ ไปถึงคลองกำปงปลัก ในจังหวัดพระตะบอง (สมัยนั้นยังเป็นของไทย) และเชื่อมต่อกับสายโทรเลขอินโดจีนไปถึงเมืองไซ่ง่อน เป็นสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ ได้เปิดให้สาธารณะใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2426 ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีประกาศเป็นทางการให้สาธารณชนทั่วไปใช้โทรเลขสาย กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ-อยุธยา ได้ด้วย

          พ.ศ. 2440 กรมโทรเลขได้สร้างทางสายกรุงเทพฯ ไปแม่สอด จังหวัดตาก ไปต่อกับทางสายโทรเลขของอังกฤษไปเมืองมะละแหม่ง และย่างกุ้ง

          ทางภาคใต้ได้สร้างทางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ผ่าน เพชรบุรี ชุมพร ทุ่งสง ไปหาดใหญ่ และสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ได้สร้างทางสาย่อจากสงขลาออกไปถึงไทรบุรี (เดิมเป็นของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย) และกัวลามุดา เชื่อมต่อกับสายโทรเลขของอังกฤษ ไปปีนังและสิงคโปร์



กสท. โทรคมนาคม เตรียมยกเลิกบริการโทรเลข

          บริษัท กสท. โทรคมนาคม เตรียมยกเลิกบริการโทรเลขตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2551 แจ้งประชาชนทั่วประเทศรับทราบ เผยผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสาร ทั้งโทรศัพท์มือถือ อีเมล อีเอ็มเอสและธนาณัติออนไลน์ แถมยังไม่สามารถหาซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องรับส่งโทรเลขเหตุล้าสมัยสุดกู่

          นายสมพลจันทร์ประเสริฐ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เทเลคอม (CAT Telecom) กล่าวว่า กสท กำหนดที่จะยกเลิกบริการโทรเลข โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป 

          เหตุผลที่ต้องปิดให้บริการโทรเลขเนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดบริการโทรคมนาคมและบริการไปรษณีย์ที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการมากมายหลายประเภท อาทิ โทรศัพท์มือถือ การับส่งข้อมูลทางอีเมล การใช้เครื่องโทรสาร บริการอีเอ็มเอสและธนาณัติออนไลน์ ที่สามารถส่งเงินพร้อมข้อความได้ในคราวเดียวกัน

          บริการข้างต้นทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและคล่องตัวมากกว่าบริการโทรเลข จึงส่งผลให้ยอดผู้ใช้บริการโทรเลขลดลงจนเกือบหมด และในอนาคตประชาชนจะให้ความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ จนลืมการให้บริการโทรเลขไปในที่สุด

          เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้กสท ตัดสินใจยกเลิกการให้บริการโทรเลข คือ การซื้อหาอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ อุปกรณ์เครื่องรับส่งโทรเลข และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในระบบการให้บริการหลายๆ อย่าง ไม่สามารถจัดซื้อ หรือหาอะไหล่มาซ่อมบำรุงได้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ล้าสมัย บางชิ้นได้ยกเลิกการผลิตไปแล้ว

          นอกจากนี้ปัจจุบันมียอดผู้ใช้บริการโทรเลขเหลือเพียงเดือนละประมาณ 100 ฉบับ คิดเป็นรายได้ 5,000 บาทต่อเดือน ขณะที่มีต้นทุนจากการจ้างบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้มาดูแลการให้บริการโทรเลขถึงเดือนละ 25 ล้านบาท 

          จากเดิมที่บริการโทรเลขได้รับความนิยมสูงสุดโดยในเดือนมีนาคม 2538 มีผู้ใช้บริการขาเข้าสูงถึง 487,984 ฉบับ และขาออกอีกกว่า 500,000 ฉบับ เมื่อเทียบสัดส่วนรายได้และรายจ่ายแล้ว ถือว่าไม่คุ้มค่าหากยังต้องให้บริการต่อไป

ที่มา
https://www.kingsolder.com/telecom/telegraph.asp
https://blog.hunsa.com/saranchana6410/blog/8689
https://www.rssthai.com/reader.php?t=it&r=10509


โทรเลข, โทรเลข หมายถึง, โทรเลข คือ, โทรเลข ความหมาย, โทรเลข คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu