มะเขือ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ซาลานุม (Salanum) เป็นพืชวงศ์เดียวกับมะเขือเทศ พริก และมันฝรั่ง แต่กลับมิได้มีถิ่นที่มาจากโลกใหม่อเมริกาเหมือนพวกพ้อง มะเขือเป็นผักยอดนิยมในครัวเมดิเตอร์เรเนียน แต่กระนั้นที่นี่ก็ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดของมะเขือ ที่จริงครัวเอเชียนิยมกินมะเขือมากพอกัน หรือยิ่งกว่าครัวเมดิเตอร์เรเนียนเสียอีก เอเชียนี่แหละคือมาตุภูมิขนานแท้ของมะเขือ
มะเขือเป็นพืชในวงศ์ โซลาเนสอี (Solanaceae) หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า night shade family ไม้บางชนิดในตระกูลนี้มีพิษ แต่หลายชนิดโดยเฉพาะมะเขือเทศ พริก มันฝรั่ง และมะเขือ ก็กินได้อย่างแน่นอน แต่กระนั้น ลักษณะความเป็นพิษบางอย่างก็ยังเล็ดลอดกระเซ็นกระสายเข้ามา อย่างมะเขือแม้จะกินได้ ต้นก็มีพิษสงเพราะมีหนามมาก แถมมีใบเป็นขนคมๆ จับต้องหรือเนื้อตัวไปถูกเข้าจะคัน และแสบร้อนไปนานทีเดียว ใบและกิ่งก้านของต้นมะเขือและมะเขือเทศ มีสารประกอบไนโตรเจนหรือด่างชนิดหนึ่งที่เป็นพิษ นี่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ถูกตัวแล้วคันก็ได้
มะเขือจาน
มะเขือจาน หรือ มะเขือม่วง รูปร่างกลมแป้น มีรอยหยักขนาดใหญ่ประมาณผลส้มเขียวหวาน มีทั้งสีม่วงและสีขาว มะเขือจานมีเปลือกบาง เนื้อนุ่ม และรสหวานเมื่อสุก นับเป็นมะเขือพันธุ์พื้นบ้านที่อร่อยมาก แต่คนรุ่นหลังไม่ค่อยรู้จัก มะเขือจานสีขาวหั่นเป็นชิ้นใหญ่ใส่แกงคั่ว แกงเผ็ด และแกงส้มน้ำใส ได้อร่อยวิเศษ ไม่นิยมกินมะเขือจานสดๆ ส่วนมะเขือจานสีม่วงนิยมนำไปเผาหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทำลาบปลาดุก ใส่แกงเผ็ด และปรุงรสน้ำพริก
ชื่อสามัญ : EGG PLANT
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena L.
ชื่ออื่น : มะเขือกะโปกแพะ, มะเขือหำม้า, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะแขว้งคม (เหนือ)
เป็นพืช ดั้งเดิม ของอินเดีย ปลูกง่าย การดู แลรักษา ไม่ยุ่งยาก ถ้าเอาใจใส่ ดีเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้ ระยะนาน โรคและ ศัตรูมีน้อย ทนแล้ง ปลูกได้ ตลอดปี ทำเลที่เหมาะอยู่ ในระดับ 500-800 เมตร
การปลูก
- ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพาะหรือในถุงพลาสติก
- หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
- เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
- อายุการเก็บเกี่ยว มะเขือประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า
ประโยชน์ทางอาหาร : ประกอบอาหารกิน ผลดิบ-เผาทานกับน้ำพริก
ประโยชน์ทางยา : ลำต้น,ราก-ต้มกินแก้บิด หรือคั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย ใบแห้ง-ป่นเป็นผง เป็นยาแก้โรคบิด ปัสสาวะขัด หนองใน ดอกสดหรือแห้ง เผาให้เป็นเถ้า แล้วบดละเอียด แก้ปวดฟัน ผลแห้ง-ทำเป็นยาเม็ด แก้ปวด แก้ตกเลือดในสำไส้ ขับเสมหะ ผลสด-ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคัน
ที่มา https://www.doae.go.th/library/html/2549/1809/Eggplant/index.htm
มะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ
ชื่ออื่นๆเรียก มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง) มะเขือขันคำ มะเขือคางกบ มะเขือดำ มะเขือแจ้ มะเขือจาน มะเขือแจ้ดิน (เหนือ) เขือพา เขือหิน (ใต้) มั่งคอเก (กะเหรี่ยง ? แม่ฮ่องสอน) มะเขือหืน (ภาคอีสาน) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ตามลำต้นมีหนามสีแดงเกือบดำ ใบมีหนามสีแดงเกือบดำคล้ายมะอึก ผลเมื่อแก่มีสีเหลืองเนื้อในผลสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Solanum xanthocarpum อยู่ในตระกูล Solanaceae
มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่ใช้ผลรับประทาน เป็นไม้พุ่ม มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประทศอินเดีย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะเขือเปราะมีมีลักษณะเป็นพุ่มสูง 2 – 4 ฟุต ใบมีขนาดใหญ่ เรียงตัวแบบสลับดอกมีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยวผลมีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ ผลอาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์
ส่วนที่ใช้บริโภค ผลดิบ
การปรุงอาหาร ผลดิบ ต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด นิยมทานผลดิบกับน้ำพริกผักสด สรรพคุณทางยา รากขับเสมหะ ทำให้น้ำลายแห้ง แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ ทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน
ที่มา
https://www.vegetablenet.th.gs/web-v/egetablenet/page31.htm
https://ayutthaya.doae.go.th/nakhonluang/kvijakan/vijakann2.htm