น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดจากตับของปลาทะเล นิยมรับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีวิตามินดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมรวมทั้งฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ แต่หากได้รับวิตามินเกินขนาด โดยเฉพาะวิตามินเอและดี ก็อาจเกิดพิษจาก การสะสมวิตามินเกินความจำเป็น โดยมีอาการความดันในสมองสูง ปวดศีรษะ หิวน้ำ และปัสสาวะบ่อย ฯลฯ
น้ำมันตับปลาหมายถึง สารที่สกัดจากตับของปลาทะเล โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ วิตามิน เอ และวิตามิน ดี ซึ่งช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูก และนิยมใช้ในเด็ก
การกินน้ำมันตับปลาในปริมาณสูง ทำให้เกิดพิษจากวิตามิน เอ เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน มีอาการทางระบบประสาท ผมร่วง ผิวแห้ง และตับถูกทำลาย ส่วนวิตามิน ดี มีผลเสียต่อระบบเลือด ไตวายถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงไม่ควรซื้อน้ำมันตับปลาให้เด็กทานเป็นประจำนอกจากแพทย์สั่งเพราะยาจะสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายได้
ที่มา
ภญ.วิภาจรี นวสิริ เภสัชกร
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
น้ำมันตับปลา กับน้ำมันปลาต่างกันอย่างไร
• น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดจากตับของปลาทะเล นิยมรับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีวิตามินดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมรวมทั้งฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ แต่หากได้รับวิตามินเกินขนาด โดยเฉพาะวิตามินเอและดี ก็อาจเกิดพิษจาก การสะสมวิตามินเกินความจำเป็น โดยมีอาการความดันในสมองสูง ปวดศีรษะ หิวน้ำ และปัสสาวะบ่อย ฯลฯ
• น้ำมันปลา (fish oil) เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อ หนัง หัว และหางปลาทะเล อาทิ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันปลามีกรดไขมันที่ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างเองได้ โดยเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) หรือ PUFA 2 ชนิด ในกลุ่มโอเมก้า 3 คือ
- Eicosapentaenoic acid (EPA)
- Docosahexaenoic acid (DHA)
ปัจจุบัน วงการแพทย์ให้ความสนใจถึงความสัมพันธ์ของน้ำมันปลากับโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และสาเหตุการเกดโรคก็มาจากการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจไหลเวียนไม่สะดวกเพราะผนังหลอดเลือดหนาและแข็งขึ้นจากการเกาะตัวของโคเลสเตอรอล การอุดตันของเกร็ดเลือดที่รวมตัวกันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้ จึงมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้รับประทานน้ำมันปลา เพราะมีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี
รับประทานน้ำมันปลาอย่างไรจึงจะปลอดภัย
1. บุคคลทั่วไป ควรรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งอาหารที่มีกรด alpha – linolenic acid สูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง เมล็ดธัญญพืช เต้าหู้ เป็นต้น
2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรรับประทานน้ำมันปลา ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน
3. ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรรับประทานวันละ 2 – 4 กรัม
* ก่อนตัดสินใจรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย และพึงระวังว่าการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง อาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลง *
ที่มา
www.bangkokhealth.com