ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หมอก, หมอก หมายถึง, หมอก คือ, หมอก ความหมาย, หมอก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
หมอก

        หมอก (Fog) คือ ละอองน้ำเล็ก ๆ ที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศใกล้ผิวโลกหรือหมอก คือเมฆที่เกิดในระดับใกล้พื้นโลกนั้นเอง

การเกิดหมอก
        เกิดจากการกลั่นตัวขนาดเล็ก ทำให้เกิดน้ำค้าง น้ำค้างแข็ง หมอกไรม์ บริเวณใกล้พื้นดิน และมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า ๆ ที่อากาศเย็น กลางวันไม่ค่อยมีหมอก และส่วนใหญ่จะเกิดกับบริเวณที่อากาศเย็นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีลมหรือลมมีเล็กน้อย หมอกจะแพ้ลม หมอกเกิดในช่วงอากาศเย็นเป็นส่วนมาก เช่น กลางคืน เช้าตรู่ กลางวันก็มีแต่น้อย

        เมื่ออากาศเย็น ไอน้ำในอากาศจะกลั่นตัว หมอกที่เกิดสูงขึ้นไปหน่อยเรียกว่า หมอกน้ำค้าง (Mist) ซึ่งอาจเกิดจกเมฆสเตรตัสที่มีฐานอยู่ใกล้พื้นดิน (เมฆถ้าขึ้นเครื่องบินดูจะเห็นว่ามันคล้ายภูเขา ) ส่วนหมอกฝุ่น (Dust fogs) หรือ หมอกควัน (Smoke Fogs) หมายถึง การสะสมของควันหรือฝุ่นในอากาศ ก็เรียกว่าหมอกได้เหมือนกัน

        ยังมีหมอกอีกแบบหนึ่งที่เกิดจากควันและฝุ่นมาก เกิดในเมืองที่มีมลภาวะทางอากาศ เช่น กรุงเทพ เราจะเรียกว่า หมอกบนควัน (Smog)

การเกิดหมอก 
        1. เกิดจากการแผ่รังสีความร้อน (Radiation fog) หรือหมอกบนพื้นดิน (Ground Fog) ในเวลากลางวันพื้นดินได้รับแสงอาทิตย์ และเย็นตัวลงในเวลากลางคืน (เพราะดินเป็นของแข็งจะคายความร้อนเร็วกว่าน้ำอยู่แล้ว) ดังนั้น อากาศที่มากระทบพื้นดินอากาศก็จะเย็นลงจนกลั่นตัวเป็นหมอก อุณหภูมิของอากาศต้องต่ำกว่าจุดน้ำค้าง หมอกแบบนี้มักเกิดในหุบเขา เนื่องจากอากาศเย็นจะลอยตัวต่ำลงรวมกันบริเวณหุบเขา ถ้าเกิดที่ขั้วโลกจะเรียกว่า หมอกน้ำแข็ง (Ice fog)

        2. หมอกแอดเวกชัน( Advection Fog) เมื่ออากาศ แบบว่าเมื่อมีกลุ่มอากาศที่ “ร้อนชื้น” เคลื่อนที่ผ่านไปบนพื้นที่(ในแนวนอน)ที่เย็นกว่า อากาศจะเย็นตัวลงและอาจจะอิ่มตัวจนกลั่นตัวเป็นหมอกได้ หมอกที่เกิดจากอากาศที่เคลื่อนที่ไปในแนวนอนเรียกว่า “หมอกแอดเวกชัน” มักเกิดตามชายทะเล ชายฝั่งโดยเฉพาะในฤดูร้อนที่พื้นดินร้อนกว่าน้ำทะเล (แปลว่าน้ำทะเลเย็นกว่าพื้นดินนั่นล่ะ) ดังนั้นหมอกแบบนี้จะเกิดในทะเล จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหมอกทะเล (Sea Fog) ส่วนพื้นดินก็เกิดหมอกแบบนี้ได้เหมือนกัน โดยที่พื้นดินจะเย็นมากเช่นมีหิมะปกคลุม เมื่ออากาศร้อนชื้นผ่านไปจะกลั่นตัวคล้ายๆข้อที่ 1 การกลั่นตัวจะมรกานคายความร้อนแฝงออกมาทำให้หิมะละลายได้

        3. หมอกไอน้ำ (Steam Fog) เมื่ออากาศหนาวเคลื่อนที่ผ่านผิวน้ำที่ “อุ่นกว่า” อากาศข้างล่างจะถูกทำให้ร้อนขึ้น พื้นที่อุ่นกว่าจะมีการระเหยของไอน้ำมากไปยังด้านบนเพราะอากาศคลุกเคล้ากัน)อากาศด้านบนจะทำให้ไอน้ำ(ที่มาจากข้างล่าง) อิ่มตัวและกลั่นตัวเรียกว่าหมอกไอน้ำ พบมากที่อาร์กติก แอนตาร์กติก และเกิดในทะเลจึงเรียกว่า หมอกควันทะเล (Sea smoke)

        4. หมอกตามลาดเขา (Upslope Fog) เกิดเมื่ออากาศที่เคลื่อนที่ไปตามลาดเขา ตามแรงลมหรืออะไรก็ช่างมันเถอะ แต่เมื่อมันเคลื่อนไปตามลาดเขาที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าอากาศที่สูงเย็นกว่าข้างล่างทำให้อากาศนั้นเย็นลงๆ จนถึงจุดน้ำค้าง และกลั่นตัวเป็นหมอก

        ยังมีหมอกที่ผกผันตามความสูง (Inversion fog) ซึ่งมักเกิดตามที่สูง ๆ จากระดับน้ำทะเล 200 – 600 เมตร ปกติในระดับสูงหมอกจะมีความหนาน้อยแต่บางครั้งยิ่งสูงหมอกจะหนาแน่นมากขึ้นในขณะที่ใกล้พื้นดินกลับบางลง หมอกแบบนี้เรียกว่า หมอกผกผันตามสูง

        ประเทศไทยยังมีชื่อเรียกหมอกอีกแบบที่เท่ห์มาก เรียกว่า “ฟ้าหลัว” เป็นหมอกที่ไม่หนาทึบ แต่จะบาง ๆ โดยมีมาตรวัดว่า ในระยะทางที่ไม่สามารถมองเกินไปมากกว่า 1 กิโลเมตร เราจะเรียกว่าสภาพฟ้าหลัว ที่เราได้ยินบ่อย ๆ ในวิทยุ

        จะเห็นว่าหมอกเกิดจากการกลั่นตัวของน้ำในอากาศนั้นเอง ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำค้าง อากาศจะไม่อิ่มตัว จนกว่าจะเย็นลงถึงจุดน้ำค้างจึงจะกลั่นตัว

        ถ้าอากาศที่ยังไม่อิ่มตัวทำให้เย็นลง ความชื้นจำเพาะก็ยังคงที่ แต่ถ้าอากาศที่อิ่มตัวทำให้เย็นลงความชื้นจำเพาะจะลดลงขณะที่ควมชื้นสัมพัทธ์ของอากาศจะเพิ่มชึ้น เช่น อากาศอุณหภูมิ 20 องศา และอุณหภูมิจุดน้ำค้างเท่ากับ 7 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศร้อยละ 50 ถ้าอากาศที่ว่านี้เย็นลง จนมีอุณหภูมิ 7 องศาฯ ความชิ้นสัมพัทธ์อาจเป็นร้อยละ 100 (ในขณะนั้นอากาศอิ่มตัว) ความชื้นจำเพาะของอากาศ และความชื้นจำเพาะของอากาศที่อิ่มตัวจะมีไอน้ำอยู่ 6 กรัม/ กิโลกรัมของอากาศ (ขณะที่อุณหภูมิของอากาศและอุณหภูมิของจุดอิ่มตัว) แต่ถ้าเย็นกว่านี้ (ต่ำกว่า 7 องศา) การกลั่นตัวจะเกิดขึ้น ไอน้ำบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

สรุปว่าการกลั่นตัวเกิดจาก
1. อากาศร้อนเคลื่อนที่ผ่านไปที่เย็นกว่า
2. การผสมกันของอากาศร้อนชื้นที่ไม่อิ่มตัวกับอากาศเย็นที่อิ่มตัว
3. พื้นดินเย็นลงเนื่องจากไม่ได้รับความร้อนการแผ่รังสีรังสีจากดวงอาทิตย์
4. อากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน

ส่วนการเอาไปเชื่อมกับมลภาวะทางทัศนียภาพ (ซึ่งเมืองไทยยังมีการศึกษาน้อยมาก) จะสรุปย่อ ดังนี้
1. ด้านการคมนาคม ทางน้ำทางอากาศทางบกล้วนได้รับผลกระทบทั้งนั้นถ้าหมอกลง
2. ด้านเศรษฐกิจ คือการใช้จ่ายเครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องหมอก เช่น ดวงไฟตัดหมอก ที่เพิ่มมาจากไฟธรรมดา หรือการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากหมอกลงจัดย่อมก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
3. ทางด้านอารมณ์จิตใจ เช่น เห็นหมอกแล้วหงุดหงิดวิ่งจับเด็กและผู้หญิงเป็นตัวประกันเป็นต้น
4. อื่นๆ

        ข้อ 1 – 4 นี้ก็ใช้หลักการทางทางสิ่งแวดล้อมมาอธิบายแล้วเชื่อมโยงหากัน ด้านบวกของหมอกก็มี เช่น ในแง่ของนันทนาการและการท่องเที่ยว หลายคนนิยมไปเที่ยวดูหมอกกันเวลาหมอกลง เช่น ไปเที่ยวแถวเชียงราย ภูกระดึง เป็นต้น ทางด้านจิตใจ หลายคนมองหมอกแล้วมีความสุบ เป็นต้น บางคนถึงกับแต่งเป็นเพลงก็มี ผลทางชีวภาพกายภาพ มีบทบาทต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพืชและสัตว์หลายชนิดที่รับผลกระทบทั้งทางบวกทางลบจากหมอก สัตว์บางชนิดจะชอบออกมาเที่ยวเล่นในหมอก

รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
     - การเกิดลูกเห็บ
     - หิมะ
     - น้ำค้าง
     - ฝน
     - พายุฤดูร้อน
     - เมฆ
     - น้ำค้างแข็ง 
     - เหมยขาบ
     - แม่คะ


หมอก, หมอก หมายถึง, หมอก คือ, หมอก ความหมาย, หมอก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu