1. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บหรือ เป็นแผลบริเวณเท้าเนื่องจากถูกแก้วบาด หรือตอไม้ทิ่มตำ และเมื่อมีบาดแผลดังกล่าวแล้วยังเดินย่ำน้ำต่อจะเกิดอันตรายจากการติดเชื้อสูงขึ้นไปอีก
2. ขณะเดินอยู่ในน้ำ เราควรยกเท้าเหนือน้ำเมื่อต้องการจะก้าวเท้าต่อไป ไม่ควรก้าวเท้าโดยให้เท้าอยู่ใต้น้ำ เพราะการกระทำเช่นนี้จะทำให้เดินช้าลง และใช้เวลาลุยน้ำนานขึ้น โดยได้ระยะทางน้อย
3. เมื่อพ้นเขตน้ำท่วมแล้ว ต้องรีบหาน้ำสะอาดล้างเท้าในทันที โดยใช้น้ำสะอาดให้มากพอ ถูสบู่บริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับน้ำ เน้นตรงซอกเท้า ซอกเล็บด้วย บริเวณซอกเล็บควรใช้ แปรงอ่อนๆ จุ่มสบู่เล็กน้อยและถูเบาๆ ทำให้เชื้อโรคหรือไข่พยาธิต่างๆ หลุดออกไปได้หมด หรือจะแช่เท้าในอ่างบรรจุน้ำสะอาดสัก 15-30 นาที แล้วเช็ดเท้าให้แห้ง อาจใช้แป้งฝุ่นโรยสัก เล็กน้อยเพื่อเป็นการหล่อลื่นผิวหนัง
4. ถ้ามีอาการคันบริเวณผิวหนังซึ่งจุ่มน้ำ แสดงว่าผิวหนังได้รับการระคายเคืองมากจากสิ่งปฏิกูลในน้ำ ควรทายาแก้คัน เช่น คาลาไมน์ หรือ ครีมแก้คันอื่นๆ เช่น ไทรแอมซิโนโลน
5. สิ่งของที่เปียกน้ำ ได้แก่ รองเท้า พรมรถยนต์ เบาะรถยนต์ ควรนำไปตากแดด ให้แห้งสนิท เพื่อขจัดความชื้น รวมถึงเป็นการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจติดค้าง อยู่ในสิ่งของดังกล่าวให้หมดไป
ที่มา
https://blog.spu.ac.th/spufcontent5/2008/06/11/entry-1