น้ำค้างแข็ง (frost) หรือ แม่คะนิ้ง เป็นปรากฎการทางธรรมชาติเมื่อมีอากาศหนาวจัดจะทำให้น้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้าเกิดแข็งตัวเป็นเก็ดน้ำแข็ง(ส่วนมากเกิดบนย่อดดอยในฤดูหนาว)
น้ำค้างแข็ง : ปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก
น้ำค้างแข็ง เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ บรรยากาศซึ่งจะไม่ปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย แต่มักจะพบมากในช่วงฤดูหนาวบนยอดดอยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาถิ่นเหนือเรียกน้ำค้างแข็งว่า เหมยขาบ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า แม่คะนิ้ง
1. ลักษณะทั่วไป : จะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งขาวๆ จับตัวตามใบไม้ ยอดหญ้าหรือวัตถุต่างๆใกล้ๆ กับพื้นดิน
2. กระบวนการเกิดปรากฏการณ์การเกิดน้ำค้างแข็ง มี 2 แบบด้วยกัน คือ
2.1 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
2.2 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม เกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณความชื้นใกล้พื้นดินสูง
3 .สถานที่ปรากฏการณ์ของการเกิดน้ำค้างแข็งในประเทศไทย : มักจะเกิดบนดอยหรือภูเขาสูงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และเลย
น้ำจากฟ้าที่มาพร้อมกับความหนาว
น้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง ในภาษาอีสาน และ เหมยขาบ ในภาษาพื้นเมืองเหนือ จะเกิดขึ้นจากไอน้ำในอากาศที่ใกล้ๆกับพื้นผิวดินลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดน้ำค้าง จากนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ โดยอุณหภูมิยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงจุดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะเกิดการแข็งตัวกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เกาะอวดโฉมตามยอดไม้ใบหญ้า
ทว่าการเกิดแม่คะนิ้งนี้ มันอาจจะน่าสนใจสำหรับใครหลายๆคน เพราะว่ามันช่างแสดงถึงความหนาวเย็น เป็นเกล็ด ดูน่ามอง แต่ว่าจริงๆแล้ว การเกิดแม่คะนิ้งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่ พืชผักต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยจะทำให้ข้าวที่กำลังออกรวงมีเมล็ดลีบ ส่วนพืชไร่ก็จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักก็จะมีใบหงิกงอ ไหม้เกรียม ส่วน ผลไม้อย่างกล้วย ทุเรียน มะพร้าวก็จะมีใบแห้ง และร่วงลงในที่สุด ซึ่งหากแม่คะนิ้งเกิดติดต่อกันยาวนาน ถือว่าชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนเดือดร้อนแน่นอน
สำหรับคนที่อยากชมแม่คะนิ้ง ในเมืองไทยปีไหนที่หนาวมากๆ ก็สามารถลุยความหนาวขึ้นไปดูได้ตามยอดดอยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เนื่องจากเป็นที่ที่มีอากาศเย็นจัด โดยที่มีคนเห็นกันบ่อยๆก็ที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และ ภูเรือ จ.เลย ซึ่งส่วนมากแม่คะนิ้งจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง- การเกิดลูกเห็บ - หิมะ - น้ำค้าง - หมอก - ฝน - พายุฤดูร้อน - เมฆ - เหมยขาบ
- แม่คะนิ้ง
ที่มา
https://www.ebook.ubon2.net/forum_posts.asp?TID=425
https://www.environnet.in.th/news/hot_detail.asp?id=112