รังแค (dandruff) เป็นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะเกิดจากเซลล์ชั้นบนสุดของหนังศีรษะลอกตัวหลุดออก ตามปกติแล้วเซลล์หนังศีรษะของคนเรา ซึ่งเกิดใหม่จะค่อยๆ เลื่อนจากใต้ผิวหนังขึ้นมาจนถึงผิวชั้นบนสุด และหลุดออกไปในเวลา ประมาณ 28 วันโดยเฉลี่ย โดยเซลล์ที่หลุดออกจะเป็นชิ้นเล็กๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น แต่ถ้ามีสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้วงจรนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้น เช่น จาก 28 วัน เหลือแค่ 7-21 วัน โดยเซลล์ที่หลุดออกแทนที่จะเป็นชิ้นเล็ก กลับมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นขุยสีขาวหรือเทา และมองเห็นได้ชัด แถมยังคันศีรษะอีกต่างหาก แสดงว่ามีรังแคเกิดขึ้น รายได้เสริมทำออนไลด์ผ่าน net รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn
รังแคทำให้มีอาการคันและมองดูไม่สะอาดตา ยิ่งเกายิ่งคันและจะมีขุยหลุดร่วงมากขึ้น สร้างความรำคาญและบั่นทอนบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก บางครั้งสามารถรักษาให้หายได้ แต่มักจะกลับเป็นซ้ำได้อีก โดยทั่วไปรังแคจะไม่มีการอักเสบบวมแดงทีบริเวณหนังศีรษะเลย แต่ถ้ามีรังแคมาก ร่วมกับอาการคัน หรือผื่นแดงที่หนังศีรษะ อาจเป็นอาการของโรคผิวหนัวบางชนิด เช่น โรคผิวหนังอักเสบ เซ็บ-เดิร์ม (seborrheic dermatitis) โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) หรือโรคแพ้สารเคมี หรือน้ำยาบางอย่าง สุดจะ Happy ทำงานผ่าน net 4 เดือนรับ 95,000 บ/ด สนใจอ่านด่วนที่ www.make.18.to
สาเหตุของรังแค
รังแคเกิดได้อย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเชื้อราเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งมักเป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนของคนทั่วไป และใช้ไขมันที่ผลิตจากต่อมไขมันเป็นอาหาร ในผู้ป่วยที่มีปัญหารังแค มักจะมีจำนวนเชื้อราเหล่านี้มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งไปเพื่อลดจำนวนเชื้อให้น้อยลง โดยใช้ยาสระผม ซึ่งมีส่วนประกอบของ คีโตโคนาโซล ซิงค์ไพริไทโอน ซิลีเนียม ซัลไฟต์ หรือทาร์ เป็นต้น
ในบางคนรังแคอาจเกิดจากต่อมน้ำมันของผิวหนังอักเสบและติดตามด้วยเชื้อแบคทีเรีย ทำให้อักเสบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้อาหารและการรักษาความสะอาดก็มีส่วนด้วย พบว่า ผู้ที่มีรังแคมากจะชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเป็นผู้ที่ไม่ชอบทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะ
วิธีรักษารังแค
ในผู้ป่วยที่มีปัญหารังแค มักจะมีจำนวนเชื้อราเหล่านี้มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งไปเพื่อลดจำนวนเชื้อให้น้อยลง โดยใช้ยาสระผม ซึ่งมีส่วนประกอบของ คีโตโคนาโซล ซิงค์ไพริไทโอน ซิลีเนียม ซัลไฟต์ หรือ ทาร์ เป็นต้น
การใช้ยาสระผมเหล่านี้ ไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้เพียงทำให้ลดจำนวนลง และไม่ก่อให้เกิดปัญหา ผู้ป่วยต้องใช้ยาสระผมเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ การสระผมแต่ละครั้งต้องทิ้งยาสระผมไว้เป็นระยะเวลา 5-15 นาที เพื่อให้ออกฤทธิ์ ไม่ควรรีบล้างออก หลังจากอาการดีขึ้น สามารถลดการใช้เป็น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากใช้ยาสระผม ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจพบว่าไม่ได้ผลดี ควรเปลี่ยนเป็นยาสระผมชนิดอื่นในกลุ่มที่กล่าวข้างต้น แล้วหมุนเวียนสลับกันไปเรื่อยๆ ได้ ส่วนมากหลังเลยวัยรุ่นหรือเมื่อความมันของผิวลดลงอาการก็จะดีขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนแอนโดรเจน มีบทบาทเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย มีความเครียด รังแคอาจกำเริบขึ้นมาอีกได้
ในกรณีที่ใช้ยาสระผมเพียงอย่างเดียวแล้วไม่ได้ผล อาจต้องได้รับการตรวจเพื่อหาโรคผิวหนังอื่น ซึ่งอาจเป็นสะเก็ดผิวหนังคล้ายรังแคได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน หรือเชื้อราที่หนังศีรษะ เป็นต้น ซึ่งโรคทั้ง 2 ชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ยาทาที่ลดการอักเสบของผิวหนัง หรือยากินฆ่าเชื้อรา เป็นต้น การใช้ยาหยดเพื่อลดการอักเสบที่หนังศีรษะ โดยใช้หวีหวีผมแสกออก หยดน้ำยาลงบนหนังศีรษะบริเวณที่มีสะเก็ด ใช้นิ้วเกลี่ยให้ทั่วบริเวณแล้วทิ้งไว้ ไม่ใช้วิธีชโลมหรือนวดเส้นผม ทำวันละสองครั้ง
ข้อมูลจาก www.bangkokhealth.com
ที่มา www.vachiraphuket.go.th