
เลซิติน (Lecithin) เลซิตินเป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสกับไขมันบางชนิด และวิตามินในกลุ่มวิตามินบี ไม่สำคัญว่าเลซิตินประกอบด้วยสารใดบ้างแต่สิ่งสำคัญคือเลซิตินเป็นหน่วยพื้นฐานในทุกๆเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ที่สำคัญไปกว่านี้ก็คือเลซิตินนั้นช่วยจับไขมันและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ด้วยคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของเลซิติน คือ การที่เลซิตินสามารถละลายในได้ทั้งน้ำและไขมัน เลซิตินจึงละลายอยู่ในกระแสเลือดแล้วคอยจับเอาไขมัน หรือคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอิสระในกระแสเลือดและไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดไว้ ด้วยวิธีนี้ของเลซิตินจึงทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิตินคือ สารฟอสฟาติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอันอุดมไปด้วยสารโคลีน โคลีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มของวิตามินบี ที่มีความสำคัญคือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสื่อประสาทในสมองของเราสารดังกล่าวคือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine)
อาการเมื่อขาด
เมื่อกล่าวถึงเลซิตินนั่นหมายถึงสารฟอสฟาติดิลโคลีนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเลซิติน แม้จะยังไม่เคยมีรายงานถึงการขาดเลซิติน แต่งานศึกษาบางชิ้นพบว่า ถ้าร่างกายมีระดับของโคลีนที่ต่ำจะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงชนิดถาวรและมีปัญหาเกี่ยวกับไตด้วย
ผลข้างเคียง
จากประสบการณ์ของหลายๆท่านที่รับประทานเลซิตินปริมาณหลายกรัมต่อวันพบว่า มีปัญหาบ้างเกี่ยวกับความอึดอัดในช่องท้อง หรือคลื่นไส้ และปัญหาที่พบในกรณีบริโภคโคลีนมากจนเกินไปคือ การมีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลาได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.alternateinfo.com
www.bangkokhealth.com/
ขนาดรับประทาน
ขนาดรับประทานที่แนะนำเพื่อบำรุงสมองคือ 1,200 -2,400 มิลลิกรัม ถ้ารับประทานเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอสในกระแสเลือดต้องได้รับวันละ2,400 -3,600 มิลลิกรัม และตามรายงานนั้นจะต้องเพิ่มขนาดรับประทานเป็นวันละ 10 กรัมทีเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณของเลซิตินในน้ำดีและรักษาอาการนิ่ว
แหล่งอาหาร
เลซิตินสามารถพบได้ในอาหารหลากชนิดจากผลิตภัณฑ์ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ซอสถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย เรพสีด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ รวมทั้งไข่แดง นม สมอง ตับ ไตและกล้ามเนื้อ เลซิตินยังพบขายอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั่วไปในท้องตลาดมากที่สุด
ส่วนประกอบ
ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารสำคัญที่พบในเลซิติน ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาติดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ
ประโยชน์
1. ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
2. Phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
3. ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones)
5. ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
6. การใช้เพื่อป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer"s disease) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา