วันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศ หรือ วันยุติความยากจนสากล (International Day for the Eradication of Poverty) ซึ่งความยากจนเปรียบเหมือนกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก, ผู้ชาย หรือ ผู้หญิง ก็มีสิทธิในความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานอย่างพอเพียง ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพหรือความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, การได้รับการดูแลทางการแพทย์ และการรับบริการทางสังคม ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ได้ถูกกำหนดให้อยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ และปฏิญญาที่รัฐบาลจำต้องยึดมั่นเอาไว้
ที่มา
หากจะกล่าวถึงวันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศนั้นคงต้องย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1987 ในวันนั้นผู้คนมากกว่าแสนคนได้มารวมตัวกันที่โทรคาเดโร (Trocadero) ในเมืองปารีส ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ใช้ในการเซ็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ. 1948
ซึ่งการมารวมตัวในครั้งนั้นทำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความยากจน ความรุนแรง และความหิวโหย พวกเขาได้ประกาศว่าความยากจนคือความรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชน และได้เห็นว่านี่คือสิ่งที่ต้องมารวมตัวกันเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธินี้จะได้การเคารพ การลงโทษนี้ได้ถูกจารึกไว้ในอนุสรณ์ที่ได้ถูกเปิดเผยในวันนั้น
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนจากที่มาจากหลากหลายภูมิหลัง หลากหลายความเชื่อ และความต่างทางสังคม ได้มารวมตัวกันในวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อยืนยันการมีส่วนร่วมและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันต่อความยากจน โดยรูปจำลองของอนุสรณ์ได้ถูกเปิดเผยไปทั่วโลกเพื่อทำการเฉลิมฉลองในวันนั้น ซึ่งหนึ่งในรูปจำลองได้ถูกตั้งอยู่ในสวนของสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ที่ใช้ในการจัดงานประจำปีโดยสำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ก
กำเนิดอย่างเป็นทางการ
และในการประชุมทั่วไปเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 1992 ได้มีการประกาศให้วันที่ 17 ตุลาคม เป็น วันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศ (International Day for the Eradication of Poverty) และได้เชิญทุกรัฐให้อุทิศวันนี้เพื่อการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เหมือนกับเป็นวาระแห่งชาติ โดยการจัดกิจกรรมด้วยความเอาใจใส่เพื่อเป็นการกำจัดความยากจนและความอดอยาก รวมถึงได้เชิญให้หลายๆ องค์กรมาร่วมช่วยเหลือรัฐในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลสำเร็จมากที่สุด
โดยในวันที่ 17 ตุลาคม จะเป็นโอกาสให้ได้รับรู้ถึงความพยายามและความดิ้นรนของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่กับความยากจน เพื่อเป็นโอกาสสำหรับพวกเขาที่จะทำให้สังคมรับรู้ รวมถึงให้ช่วงเวลานี้ได้รับการจดจำว่ายังมีผู้คนที่ต้องต่อสู้กับความยากจนอยู่ โดยคนเหล่านั้นแหละคือจุดสำคัญในวันนั้นตั้งแต่ที่มีการเริ่มต้น ซึ่งอนุสรณ์ของวันที่ 17 ตุลาคม จะสะท้อนให้เห็นความตั้งใจของผู้ที่อยู่กับความยากจนที่จะใช้ความชำนาญในการกำจัดความยากจนให้หมดไป
ขอบคุณข้อมูลจาก www.panyathai.or.th