ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า ไม่รู้จักปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)
ปีที่ผ่านมา ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดกว่าหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคกลางประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนภาคใต้ก็เจอกับพายุที่รุนแรงขึ้น ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาลึกมากขึ้น คงไม่ต้องย้ำกันอีกรอบ ตามที่วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์แห่งนิตยสารคดี บอกว่า ภาวะโลกร้อนได้มาเคาะประตูบ้านของเราแล้ว...
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า ๒,๕๐๐ คน จาก ๑๓๐ ประเทศ ได้พบข้อสรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุของปัญหาโลกร้อน นั้น ร้อยละ ๙๐ มาจากการที่ มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนความร้อนจากพื้นโลกไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงไปทั่วโลก
ดังนั้นภารกิจที่เหล่ามนุษยชาติต้องรับผิดชอบร่วมกันก็คือ ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงและปล่อยก๊าซคารบอร์ไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด เพื่อต่อเวลาให้กับโลกใบนี้ให้ยาวยิ่งขึ้น
ถุงพลาสติกที่เราใช้รองรับสินและอาหาร ผลิตจากเม็ดพลาสติก จากอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ที่ใช้เพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อนำมาใช้จะมีอายุการใช้งานสั้น และส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงขนาดเล็กและบางถุงที่ผ่านการใช้งานแล้วและถูกนำไปทิ้งจะเป็นภาระในการเก็บขน และจัดการเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบาง และมีปริมาณมากปะปนกับมูลฝอยประเภทอื่นๆ จะทำให้การย่อยสลายมูลฝอย เป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น
ถ้าถามว่า “ลดใช้ถุงพลาสติกเกี่ยวอะไรกับโลกร้อน” และเราคนเดียว ลด หรือ ไม่ใช้ ถุงพลาสติก จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้? คำตอบคือ ได้
ต้นเหตุสำคัญคือ ร้อยละ 90 มาจากมนุษย์ สร้างกิจกรรมเผาผลาญเชื้อเพลิง ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ – CO2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินความสามารถของโลกที่จะสะท้อนความร้อนจากพื้นโลกออกไปนอกโลกได้ทัน ผลคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่เป็นผลกระทบระดับมหันตภัยทั้งสิ้น เช่น
• พายุหมุนที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น
• ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
• สภาพอากาศที่แปรปรวน จนยากจะคาดเดา
• ฤดูกาล และวงจรการเกษตรเปลี่ยนแปลง
• โรคระบาดใหม่ๆ เป็นต้น
ความเกี่ยวโยงระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับโลกร้อนคือ ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ
ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี
ทั้งนี้ ปัจจุบัน (กันยายน 2550 ) กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปี
ข้อดีของการใช้ถุงผ้า
ถ้าคนเราใช้ถุงผ้าสัปดาห์ละ 1 วันจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุงต่อปี ข้อดีของการใช้ถุงผ้ามีดังนี้
• ซักทำความสะอาดได้โดยง่าย
• นุ่มสบายมือน่าใช้ และไม่ก่อให้เกิดการกดทับอย่างรุนแรงต่อฝ่ามือเท่าถุงพลาสติก
• ใช้ง่ายขาดยาก ตกแต่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ
• ย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างจนเป็นปัญหาในสิ่งแวดล้อม
• ทนทานและใช้ซ้ำได้มากครั้งกว่าถุงพลาสติก
• ช่วยลดปริมาณมูลฝอย ไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
• ช่วยลดปัญหาโลกร้อน
• บ่งบอกภาวะรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้
• ใช้ถุงผ้าไปได้ทุกที่ ใส่ได้หลายอย่าง
• ใช้เป็นสื่อรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง
• ถุงผ้าดิบจะช่วยลดการเกิดและการปนเปื้อนของสารประกอบไดอ๊อกซินที่เป็นสารก่อมะเร็งที่มีอันตรายต่อชีวิต
• พกพาติดตัวได้ง่าน และติดรถ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส
• ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เริ่มใช้ถุงผ้าตั้งแต่วันนี้ และแบ่งปันถุงผ้าที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เพื่อขยายวงกว้างของความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก
• ถุงพลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดวิเศษ น้ำหนักเบาในยุค 1960 ซึ่งพัฒนาขยายผลมาจาก เซลลูลอยด์ ที่สังเคราะห์ขึ้นจากความต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้าง ในการผลิตลูกบิลเลียดในช่วงปี 1868
• ถุงพลาสติกเป็นของใช้ยอดนิยมของคนทั่วโลก ในปัจจุบัน มียอดการใช้ 5 แสนล้าน ถึงล้านล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยทุก 1 นาทีมีการใช้ถุงหิ้วอย่างน้อย 1 ล้านใบ
• และจำนวน 5 แสนล้านใบนี้ ต้องใช้พลังงานการผลิตจากน้ำมันจำนวน 9 พันล้านลิตร เทียบให้ชัดคือ พลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติก 8.7 ใบ สามารถเปลี่ยนไปเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกล 1 กิโลเมตร
• ถุงพลาสติกเป็นของใช้ที่มีอายุการใช้งานสั้น พร้อมเป็นขยะทันทีหลังการใช้ แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปีเป็นอย่างน้อย
• ถุงพลาสติกหูหิ้ว แม้จะเป็นชนิดที่นำไปรีไซเคิ้ลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิ้ลน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป จากการสำรวจพบว่าทุกตารางกิโลเมตรทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกราว 46,000 ชิ้น
• ทุกปีผู้คนจับจ่ายซื้อของทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้อง ใช้เวลา ย่อยสลาย นานกว่า 1,000 ปี
• ถุงพลาสติก 1.6 ล้านใบ นำไปเรียงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ 1 รอบ
• ทุก 1 ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก 46,000 ใบลอยในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวน 100,000 ตัว และปลาอีกนับไม่ถ้วน
• แต่ละปีมีเต่าทะเล และสัตว์น้ำจำนวนมาก ตายจากการกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร เช่น แมงกะพรุน
• ถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีนั้น ถ้าเอามาต่อกัน จะได้เป็นระยะทางเท่ากับ เดินทางไปกลับดวงจันทร์ 7 รอบเลยทีเดียว
ปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติก
ประโยชน์เพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ของถุงพลาสติกได้ทำให้เกิดโทษต่อระบบนิเวศและชีวิตของผู้บริโภคต่อเนื่อง กว้างขวางและยาวนานในแต่ละสัปดาห์ คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง หรือมากกว่า 5000 ล้านถุงในแต่ละปี การนำถุงพลาสติกไปใช้ซ้ำอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอย่างมากโดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติกใส่มูลฝอยจะทำให้เกิดการแปรสภาพมูลฝอยในภาวะที่ขาดอากาศเป็นผลให้เกิดก๊าซชีวภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก และทำให้โลกร้อน
ถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
• การเสื่อมโทรมของดิน
• การเสื่อมคุณภาพของน้ำ
• เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบก
• เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดชีวภาพที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ
• ให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารก่อมะเร็งเมื่อถูกเผา
• ทำให้เกิดการอุดตันในทางระบายน้ำ ปละทำให้เกิดน้ำท่วม
• เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ
• เป็นต้นเหตุของการเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของพาหะนำโรคและการแพร่ระบาดของโรคร้ายหลายชนิด
• เป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุของการเดินทางทั้งทางบก และทางน้ำและทางอากาศ
การผลิตและนำออกมาใช้มีปริมาณมากและต่อเนื่อง ขณะที่การย่อยสลายต้องใช้เวลายาวนานทำให้เกิดการสะสมปริมาณถุงพลาสติกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดและป้องกันปัญหาหลากหลายที่เกิดจากถุงพลาสติก จำเป็นต้องลดการใช้ ด้วยการใช้ทางเลือกในการรองรับและขนส่งสินค้าและอาหาร แทนการใช้ถุงพลาสติก เช่นการใช้ถุงผ้า หรือวัสดุอื่นที่ย่อยสลายได้ และสามารถใช้ได้ยาวนาน ผู้บริโภคจะสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย และลด-แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ถุงผ้า
การลดการใช้ถุงพาสติก
ถุงพลาสติกเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากเพราะย่อยสลายได้ยาก ใช้เวลาเป็นร้อยๆปี วิธีการกำจัดถุงพลาสติกนั้น มีอยู่ 2 วิธี คือ
1. ฝัง : การฝังต้องใช้พื้นที่เยอะและพื้นที่นั้นก็จะทำการเกษตรไม่ได้อีกเลย เพราะ พลาสติกไม่ย่ิอยสลาย
2. เผา : การเผานี้ ถ้าเผาไหมไม่สมบูรณ์ ก็จะมีก๊าซพิษออกมาด้วย แต่แม้ว่าจะเผาไหมสมบูรณ์ก็จะมีก็าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก็าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติอมความร้อน ไปปกครุมอยู่รอบโลก ทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเผาไหมก็ไม่มีทางที่จะสมบูรณ์ 100% ได้ ทำให้มีทั้งก๊าซพิษ และก๊าซเรือนกระจก
จะกำจัดอย่างไร อย่างไรก็เป็นผลเสียทั้งนั้น พวกเราต้องช่วยกัน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก โดยการ
1. นำถุงผ้า หรือพาชนะไปใส่ของแทน แล้วก็พูดว่า "ไม่ต้องถุงก็ได้" ตัวอย่างเช่น จะไปตลาดก็เอากระเป๋าผ้าและกล่องใส่อาหาร ไปใส่ของแทน ไปซื้อกับข้าวก็เอาปิ่นโตไปแทน ไม่ต้องเอาถุงพลาสติกทุกชนิดนะจ๊ะ
2. ใช้ถุงกระดาษ อย่างเมืองนอกเวลาเราดูหนัง เขาซื้อของกลับมาบ้าน อุ้มถุงกระดาษเข้ามา ก็เพราะเขาไม่ต้องการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยากนั้นเอง ยังไงใช้ถุงกระดาษก็ยังดีกว่านะ อันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากพ่อค้า แม่ค้า และห้างใหญ่ๆด้วย
3. ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ ถุงแบบนี้ความจริงมีมานานแล้ว ถุงพลาสติกแบบนี้จะผสมสารย่อยสลาย ซึ่งก็จะแทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของเม็ดพลาสติก สารย่อยสลายนี้เมื่อเจอกับแสดงแดดก็จะทำปฏิกิริยากับเม็ดพลาสติก ให้โมเลกุลแตกสลาย ถุงแบบนี้จะใช้เวลา 1 ปีในการย่อยสลาย โดยจะเห็นได้ว่า ความเหนียวของถุง จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือเลย
มาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ
จากความร้ายแรงของภัยถุงพลาสติก ทำให้หลายๆ ประเทศมีมาตรการคุมกำเนิดถุงพลาสติกกันอย่างจริงจัง จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี เช่น
• การประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในบังกลาเทศ และออสเตรเลีย
• การเก็บภาษีถุงพลาสติกในไอร์แลนด์
• การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกของไต้หวัน
• การแขวนการ์ดไว้ที่แคชเชียร์ของห้างใหญ่ในเมืองฮิโรชิม่า ที่ญี่ปุ่น ถ้าลูกค้าไม่ต้องการถุง ก็ยกการ์ดขึ้น แล้วจะได้รับแต้มสะสมเพื่อสิทธิประโยชน์จากทางห้างต่อไปด้วย
• ที่สิงคโปร์ ร่วมกันรณรงค์ โดยกำหนดให้วันพุธแรกของเดือนเป็นวันพกถุงช้อปปิ้ง หากไม่ได้เตรียมถุงไปก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าถุง ใบละ 0.1 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 2.50 บาท
• ซานฟรานซิสโก ออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติก นับเป็นเมืองแรกของอเมริกา ประเทศที่ถือเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุด
• การประกาศตัวเป็นเมืองปลอดถุงพลาสติกของเมืองลีฟเรปิดส์ ในแคนาดา ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษเป็นค่าปรับหนักๆ คิดเป็นเงินไทยมากถึง 30,200 บาท
• ส่วนในบ้านเรายังเป็นการรณรงค์ในลักษณะประปราย ที่เคยจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ๆ ก็เมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน จากนั้นกระแสก็ซาไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปีนี้ และที่น่าจะเป็นความหวังคือการพัฒนาวัสดุทดแทน “พลาสติกชีวภาพ” (bioplastic) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษา ไม่แน่ว่าบ้านเราอาจจะมีพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ พร้อมๆ กับที่ฝรั่งเศส ซึ่งออกกฎระเบียบให้เริ่มใช้พลาสติกชีวภาพ ในปี 2553
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นทั้งแนวคิด และแรงกระตุ้นให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในบ้านเรา ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะซุปเปอร์สโตร์ข้ามชาติที่มีสาขาทั่วประเทศ และกำลังซื้อจากลูกค้ามหาศาล ร้านสะดวกซื้อขนาดย่อมที่กระจายอยู่แทบทุกซอยในกรุงเทพ และตัวเมืองของทุกจังหวัด จับมือกันสร้างกระแสนี้ให้เป็นจริงในเมืองไทย
จะให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่เราทำได้ หรือจะปล่อยให้เป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราไม่เคยคิดจะทำ คำตอบอยู่ที่ใจคุณ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ลดอุณหภูมิโลก ลดการบริโภค
www.thaivolunteer.org
คนไทยร่วมใจใช้ถุงผ้า
www.greenleafthai.org
ร่วมมือจุดปลี่ยน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก
https://developed-thailand.blogspot.com
"ไม่เอาถุง" กู้โลกร้อน ?? โดย : Whiskas
https://webboard.mthai.com/7/2007-08-29/342384.html