คนใช้รถทุกวันนี้ บางคนอาจจะแค่ขับไปทำงานแล้วกลับบ้าน บางคนก็ขับไปไกลๆ ถึงต่างจังหวัด มีหลายคนที่ขับอย่างเดียว โดยที่ไม่สนใจหรือเอาใจใส่รถของตัวเองว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง ทั้งที่รถทุกคันควรได้รับการดูแล และตรวจเช็คก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต จึงขอแนะนำวิธีตรวจเช็ครถของคุณเบื้องต้น กับ 10 สัญญาณเตือนที่จะบ่งบอกได้ว่ารถของคุณนั้นอาการน่าเป็นห่วง
1. สัญญาณเตือน เราสามารถรับสัญญาณบอกอาการผิดปกติของรถได้ โดยใช้ประสาททั้ง 5 คือ การเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การจับต้องชิ้นส่วนนั้น ๆ และการลองขับดู ถ้าสังเกตพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบทำการตรวจเช็คและซ่อมแซมโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม
2. เครื่องยนต์ เครื่องยนต์คือหัวใจของรถ ถ้าเครื่องยนต์มีอาการดังนี้
- เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไร ความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว
- เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาระยะทางไกลพอสมควรแล้ว เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก
- มีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์
ควรนำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
3. ยาง การสึกหรอของดอกยางแบบต่าง ๆ บอกเราได้ว่ายางผิดปกติไปอย่างไร
- ดอกยางตรงกลางล้อ สึกหรอมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป
- ดอกยางขอบล้อ สึกหรอมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป
- ดอกยางสึกหรอข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง
- ดอกยางเป็นบั้ง ๆ แสดงว่าแนวของยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ
ควรนำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่
4. คลัตซ์ คลัตซ์ที่มีปัญหา จะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่าละเลยอาการเหล่านี้
- คลัตซ์ลื่น หรือเข้าคลัตซ์ไม่สนิท หรือเหยียบแป้นคลัตซ์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก
- คลัตซ์มีเสียงดัง เมื่อเหยียบแป้นคลัตซ์
- แป้นคลัตซ์สั่นขึ้น ๆ ลง ๆ ขณะกำลังขับ
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
5. เกียร์ เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว สัญญาณบอกเหตุว่าเกียร์มีปัญหาคือ
- มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่งอยู่
- เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน
- มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้ง ๆที่เหยียบคลัตซ์แล้ว
- ห้องเกียร์มีน้ำมันหล่อลื่นไหลออกมา
ควรนำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์
6. พวงมาลัย พวงมาลัยที่มีปัญหาเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ยางเฟืองท้าย ชำรุดตามไปด้วย
- พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว
- พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว
- พวงมาลัยสั่นในขณะขับ
ควรนำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
7. เบรก ถ้าพบว่าเบรกมีอาการผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที เพราะเบรกชำรุด นำมาซึ่งอุบัติภัยได้ง่ายที่สุด
- เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่ แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ
- เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง
- แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้ง ๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที
8. ไฟชาร์จ ควรจะปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดทุกครั้งที่เราสตาร์ทเครื่อง และเมื่อสตาร์ทติดแล้ว ครู่หนึ่งก็จะดับลง แต่ถ้าไฟชาร์จไม่สว่าง หรือสว่างแล้วไม่ยอมดับ อาจเกิดจากไดชาร์จผิดปกติหรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ ที่แน่ ๆ คือไม่ควร ปล่อยทิ้งไว้ รีบนำรถเข้าอู่ไดชาร์จหรือระบบไฟ
9. หลอดไฟ หลอดไฟขาดบ่อย ๆ หรือต้องเติมน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่บ่อยเกินไป แสดงว่าอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า
10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ
10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ หมายถึง, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ คือ, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ ความหมาย, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ คืออะไร
10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ หมายถึง, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ คือ, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ ความหมาย, 10 สัญญาณเตือนภัย รถของคุณ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!