ประวัติวอลเลย์บอลชายหาด
ในปี ค.ศ. 1920 มีการกล่าวขวัญถึงการเล่นวอลเลย์บอล 6 คน บนชายหาดในฮาวาย (Hawaii) แต่ไม่มีการยืนยันที่แน่นอน ซึ่งในเวลานั้นกีฬาประเภทนี้มีจุดกำเนิดหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ซานตา มอนิก้า (Sawta Monaca) รัฐแคลิฟอร์เนีย (Calafonia) สหรัฐอเมริกา มีลักษณะเหมือนวอลเลย์บอลในร่ม คือเล่นกันฝ่ายละ 6 คน (6 คนต่อ 6) ในปี ค.ศ. 1927 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มเล่นวอลเลย์บอลชายหาด และในปี ค.ศ. 1930 กีฬาประเภทนี้ก็ได้แพร่หลายไปในหลายๆ ประเทศในยุโรปปีเดียวกันนี้เองทางสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเล่นระบบฝ่ายละ 4 คน (4 ต่อ 4) และระบบฝ่ายละ 3 (3 ต่อ 3) การเล่นวอลเลย์บอลชายหาดในครั้งนั้น ยังได้มีการกำหนดกติกาสำหรับการตบ การสกัดกั้นและการรับลูกที่แน่นอน
ในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการจัดการแข่งขันแบบทีมละ 2 คน ขึ้นอย่างเป็นทางการ (เป็นจุดเริ่มต้นของระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ณ ชายหาดสเตท- (State)รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ในทศวรรษที่ 50 ได้จัดระบบการแข่งขันแบบเซอร์กิต (Circuit) ครั้งแรกในสหรัฐฯ และประเทศบราซิลได้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกขึ้น และในทศวรรษที่ 60 ได้มีการกำหนดกติกาเกี่ยวกับเรื่องการตบ และการสกัดกั้นและยังได้มีการเสนอกติกาเกี่ยวกับการรับลูกบอลในกรณีต่างๆ แต่ยังไม่มีการประกาศใช้ ในปี ค.ศ. 1976 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ได้เกิดขึ้นที่ชายหาดสเตท (State) และแปซิฟิก พาริซาเดส (Pacafic Palisades) ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับมืออาชีพ (มีเงินรางวัล 5,000 เหรียญสหรัฐฯ)
ในปี ค.ศ. 1982 วอลเลย์บอลชายหาดเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในกีฬาที่เล่นกันบริเวณชายหาด โดยเฉพาะที่โคปาคาบานา (Copacabana) และอิปานิมา (Ipanema) ในเมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ประเทศบราซิล
ในปี ค.ศ.1986 ได้มีการสาธิตการเล่นในระดับนานาชาติครั้งแรกขึ้นที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ประเทศราซิล มีผู้ชมการแข่งขันประมาณ 5,000 คน ในปี ค.ศ. 1987 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ชิงแชมป์โลกประเภททีมชาติขึ้นที่เมือง อิปานีมา (Ipanema) คาดว่าจะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเข้ามาจัดแข่งขัน
ในปี ค.ศ. 1996 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้จัดการประชุมแบ่งการแข่งขัน "Word Championship-Series" เป็น 3 ระดับคือ 1. Grand Slam, 2. Word Series, 3.Challenger ทุกประเทศสามารถจัดการแข่งขันและเปิดรับสมัครทั่วไปปีนี้เอง วอลเลย์บอลชายหาดได้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก ที่แอตแลนต้า (Atlandta) สหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1997 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจาก "Word Championship-Series" เป็น "Beach Volleyball Word Tour"
กติกาวอลเลย์บอลชายหาด
กติกาวอลเลย์บอลชายหาด
1. ขนาดสนามกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนามอย่างน้อย 5 เมตรทุกด้าน ที่ว่างเหนือพื้นที่การเล่นลูก 12.50 เมตรต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เส้นสนามมีความกว้าง 5-8 ซม. ต้องเป็นสีเดียวกันและตัดกับสีทรายอย่างชัดเจน
2. พื้นสนามต้องเป็นทรายที่มีความหนาอย่างน้อย 40 ซม. ต้องเป็นเม็ดกลมละเอียด ปราศจากการอัดแน่น และสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน ฯลฯ ต้องไม่หยาบเกินไปหรือละเอียดเกินไปจนกลายเป็นฝุ่น
3. ความสูงตาข่ายประเภททีมชาย 2.43 เมตร หญิง 2.24 เมตร ประเภทอายุไม่เกิน 16 ปี 2.24 เมตร ไม่เกิน 14 ปี 2.12 เมตรไม่เกิน 12 ปี 2.00 เมตร (ทั้งประเภทไม่เกิน 16 ปี, 12 ปี ความสูงของชายและหญิงเท่ากัน)
4. ลูกบอลต้องไม่ดูดซึมน้ำ สีสดใส เช่น สีชมพู ส้ม ลายสลับ ฯลฯ แรงอัด 0.175-0.225 กก./ตร.ซม. จะใช้ลูกบอล 3 ลูกในการแข่งขัน
5. ทีมจะประกอบด้วยผู้เล่น 2 คนเท่านั้น ไม่มีผู้เล่นสำรองหรือ การเปลี่ยนตัว ไม่มีผู้ฝึกสอน
6. ระบบการนับคะแนนมี 2 แบบ คือ
6.1 แบบ ก แข่งขันแบบเซตเดียว ชนะกันที่ 15 คะแนน ถ้ามีการดิวซ์จะไม่เกิน 17 คะแนน และเมื่อคะแนนรวมกันทั้ง 2 ทีม ได้ 5, 10, 15 จะมีการเปลี่ยนแดนและหยุดพัก 30 วินาที
6.2 แบบ ข แข่งขันแบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และ 2 ผู้ที่ทำได้ 12 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะ (ไม่มีการดิวซ์) ในเชตที่ 3 เป็นการแข่งขันแบบทีมที่ชนะในการเล่นลูกจะได้คะแนนทุกครั้ง (TIE-BREAK) ทีมที่ทำได้ 12 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนนำฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน (เช่น 13:11, 15:13) และเมื่อคะแนนรวมกันทั้ง 2 ทีมได้ 4, 8, 12, 16 ฯลฯ จะเปลี่ยนแดนและหยุดพัก 30 วินาที ยกเว้นเซตที่ 3 หลังจากเปลี่ยนแดนแล้วจะแข่งขันต่อทันทีไม่มีการหยุดพัก
7. อยู่ในระหว่างแนวของเส้นข้างทั้งสอง ผู้เสิร์ฟสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในเขตเสิร์ฟ การเสิร์ฟต้องเป็นไปตามลำดับการเสิร์ฟตลอดเซตเพื่อนร่วมทีมของผู้เสิร์ฟต้องไม่กำบังทีมตรงข้ามไม่ให้เห็นผู้เสิร์ฟ ต้องเสิร์ฟภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินอนุญาตไม่มีความพยายามในการเสิร์ฟ
8. ถ้าผู้เล่นทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมกันเหนือตาข่าย และไม่เป็นการพักลูกถือว่าไม่ผิดกติกา ถ้าสามารถเล่นต่อไปทีมที่รับลูกสามารถถูกลูกบอลได้อีก3 ครั้ง (กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการสกัดกั้น) แต่ถ้าลูกบอลออกนอกสนามถือว่าทีมที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามทำลูกออก
9. ลูกบอบอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ แต่ต้องไม่มีลักษณะของการจับลูกหรือโยนลูกบอล การเล่นลูกโดยใช้นิ้วเล่นมือบน (การเซต) ต้องเป็นการถูกลูกบอลในลักษณะการถูกลูกครั้งเดียว ยกเว้นการรับลูกตบด้วยความรุนแรง สามารถเล่นลูกบอล 2 จังหวะ หรือพักลูกได้เล็กน้อย
10. ผู้เล่นอาจล้ำเข้าไปในแดนหรือเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้และห้ามทุกส่วนของร่างกาย (ยกเว้นผม) รวมทั้งชุดแข่งขันถูกตาข่าย
11. การถูกบอลขณะทำการสกัดกั้น นับเป็นการถูกบอลของทีม 1 ครั้ง ทีมที่สกัดกั้นจะเล่นได้อีก 2 ครั้ง หลังจากการสกัดกั้น แต่กรณีนี้อนุญาตให้ผู้เล่นสกัดกั้นเล่นบอลครั้งที่ 2 ได้
12. การกระทำต่อไปนี้คือการรุกที่ผิดกติกา
12.1 ผู้เล่นทำการรุกอย่างสมบูรณ์ โดยการแบมือและใช้ปลายนิ้วกดหรือพาลูกบอล
12.2 การเซตข้ามตาข่ายต้องอยู่ในแนวหัวไหล่ของคนเซต ไม่ว่าจะด้านหน้าหรือด้านหลัง
13. การพักระหว่างเซต (ระบบ 2 ใน 3 เซต ) พัก 5 นาที
14. ทีมจะมีเวลานอกได้เซตละไม่เกิน 4 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
ที่มา : www.siamsport.co.th