วันกองทัพอากาศ
กิจการบินของไทยเริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่าง ประเทศได้นำ เครื่องบิน มาบินแสดง ให้ชาวไทยได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ผู้บังคับ บัญชาระดับสูง ของกองทัพในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้อง มีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัยที่ จะเกิดแก่ประเทศ ชาติในอนาคต
ด้วยเหตุนี้กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้ง ได้คัดเลือก นายทหาร บก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรีหลวง ศักดิ์ศัลยาวุธ, ร้อยเอกหลวง อาวุธสิขิกร และร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ในเวลาต่อมา ได้รับ พระราชทาน ยศ และบรรดาศักดิ์ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหา สยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และกองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น "บุพการีของ กองทัพอากาศ"
ในขณะที่นายทหารทั้งสาม กำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้น ทางราชการได้สั่งซื้อ เครื่องบิน รวมทั้งมี ผู้ บริจาคเงิน ร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่ากำลัง ทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยใน ระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราช กรีฑาสโมสร ในปัจจุบันเป็น สนามบิน แต่ด้วยไม่สะดวกหลาย ประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณา หาพื้นที่ที่มีความเหมาะ สมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบล ดอนเมือง แห่งนี้เป็นที่ตั้ง สนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่ โรงเก็บเครื่องบิน อย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้าย กำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบินมาไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม 2457 กระทรวงกลาโหม ได้มีคำสั่งยกแผนกการบิน เป็น "กองบินทหารบก"
ซึ่งถือได้ว่ากิจการบินของไทยได้วางรากฐาน อย่างมั่นคงขึ้นแล้วทางราชการ จึงถือเอาวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
นับแต่นั้นมาบทบาทของกำลังทางอากาศ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และมีการพัฒนาอย่าง เป็นลำดับ อาทิ การเข้าร่วมรบ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปีพุทธศักราช 2460 ซึ่งทำให้ชื่อเสียง และเกียรติภูมิของชาติ เป็นที่ยอมรับและ ยกย่องเป็นอย่างมาก
ที่มา www.rtaf.mi.th