ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง หมายถึง, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง คือ, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง ความหมาย, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขาได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีคให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20

ประวัติ
ภูมิหลังและการศึกษา
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนโตของนายอนันต์ ฉายแสง อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา และ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี กับนางเฉลียว ฉายแสง

จาตุรนต์ เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ในจังหวัดบ้านเกิด จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้สอบเข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งทำกิจกรรมนักศึกษาไปด้วยจนได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และขณะที่ยังเรียนชั้นปีที่ 4 ได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้เขาต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าระยะหนึ่ง โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า "สหายสุภาพ" ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายจึงกลับเข้าเมืองและตัดสินใจไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟฟาโล สหรัฐอเมริกา และได้รับทุน Teaching ของมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา เรียนต่อระดับปริญญาเอก จนสอบประะมวลความรู้ (Comprehensive) แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากต้องกลับประเทศไทยเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.


ครอบครัว
จาตุรนต์ ฉายแสง สมรสกับ นางจิราภรณ์ ฉายแสง (สกุลเดิม "เปี่ยมกมล") อดีตเลขานุการหน้าห้อง ของนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร ขณะดำรงตำแหน่งเป็น ปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยพิธีหมั้นระหว่างนายจาตุรนต์ กับ น.ส.จิราภรณ์ มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2546 ที่สยามสมาคม มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าภาพฝ่ายชาย และมี นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นเจ้าภาพฝ่ายหญิง โดยมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธี

จาตุรนต์ มีชื่อจีนว่า หลิว หง อวี่ เมื่อเริ่มศึกษาภาษาจีน และปี พ.ศ. 2551 เขาได้ออกซีดีเพลงจีนที่เขาร้องเอง
จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549

ภายหลังรัฐประหาร พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายจาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน

หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน นายจาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว นายจาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง


ตำแหน่งในพรรคการเมือง


ปี พ.ศ. 2535 - 2538 ดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคความหวังใหม่
ปี พ.ศ. 2540 - 2542 ดำรงตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
ปี พ.ศ. 2542 - 2544 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
ปี พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคไทยรักไทย

ตำแหน่งบริหาร


ปี พ.ศ. 2539 - 2540 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรก ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ปี พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ. 2545
เดือนมีนาคม 2545 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เดือนตุลาคม 2545 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ. 2548
เดือนเมษายน 2548 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ต่ออีก 1 สมัย
เดือนสิงหาคม 2548 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงเหตุการณ์รัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และหลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แทนพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร

ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ
ประธานกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.)
กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
รองประธานกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก

เกียรติรางวัลที่เคยได้รับ

จากการทุ่มเททำงานและยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ทำให้เขาได้รับรางวัลยกย่องจากองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น

รางวัล "นักการเมืองมาตรฐานแห่งปี 2542” จากสมัชชา สสร.แห่งประเทศไทย
นิตยสารเอเชียวีค (Asia Week) จัดให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติในเอเชีย ที่มีบทบาทในศตวรรษที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2542
นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาลออสเตรเลีย เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
รางวัล “ลี กวน ยิว” จากประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภาอาเซียนกับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2546
รางวัล "บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย" (Thailand key's maker) ปี พ.ศ. 2546 จากการโหวตของประชาชนผ่านคลื่น 101 News Channel ด้วยผลงานการจัดระเบียบโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ เมื่อปี 2547

ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง หมายถึง, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง คือ, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง ความหมาย, ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu