ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง หมายถึง, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง คือ, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง ความหมาย, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง

มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง

เนื่องด้วย หูฟังรุ่นเก่าโบราณมันพังไปแล้ว ก็เลยอยากจะซื้อหูฟังใหม่ๆไว้ใช้กับ Player และเจ้า Galaxy S แต่ไม่รู้จะเลือกรุ่นใหนดี ก็เลยหาข้อมูลไปเรื่อยๆ 
ดังนั้น ช่วงนี้ก็เลยถือเอาบทความประเภทของหูฟังแต่ละแบบ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผุ้ที่อยากจะหาหูฟังใหม่ๆให้เข้ากับ Player ของคุณ มาดูกันเลยครับ

ว่าด้วยเรื่อง "ประเภทของหุฟัง ( Headphone ) "

เนื่องด้วยปัจจุบันมีหูฟังหลากหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะเหมาะกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันไป บางคนอาจสงสัยว่าจะเลือกหูฟังยังไง ใช้แบบไหนดี และอย่างไรที่เหมาะกับตัวเราที่สุด ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และเข้าใจในภาพกว้างๆ วันนี้ จะมาสรุปให้หังว่าหูฟังแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง ตลอดความเหมาะสมในการเลือกใช้งานของหูฟังว่าแบบไหนที่ตรงใจกับการใช้งานของเรามากที่สุดครับ

เริ่มด้วยประเภทแรก คือ

1 . Fullsize  Headphone ( Circumaural )

สำหรับหูฟังแบบ Full-size จะเป็นหูฟังที่มีขนาดใหญ่ ประเภทครอบเต็มหรือคาดบนศีรษะ โดยอาจจะเป็นหูฟังที่มีลักษณะแบบครอบทั้งใบหู หรือแนบบนใบหูก็เป็นได้ ลักษณะเด่นจะมีลำโพงขนาดค่อนข้างใหญ่ พอที่จะครอบหูทับเราได้ซึ่งช่วยให้เสียงที่ได้มีบรรยากาศ มีมิติที่ดี สมจริงใกล้เคียงลำโพงเครื่องเสียงภายในบ้าน โดยปกติหูฟังแบบ Full-Size จะเหมาะสำหรับการใช้งานแบบส่วนตัวและอยู่กับที่ ไม่เหมาะสำหรับการพกพา เพราะข้อจำกัดของหูฟังขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ยกเว้นหูฟังที่ต้องใช้งานประเภท Monitor ทั้งหลาย แต่ก็ยังเป็นการพกพาในสถานที่จำกัดเท่านั้น 

โดยปรกติ หูฟังแบบ Fullsize ยังสามารถแบ่งแยกย่อยไปได้อีกดังนี้

หูฟัง Fullsize แบบเปิด ( Open Type)

- หูฟัง Fullsize แบบเปิด นิยมใช้ในหูฟังแบบ HiFi ทั่วไป โดยเสียงจะสามารถผ่านออกทางด้านข้างของตัวหูฟังได้ ข้อดีคือ สามารถฟังได้นานไม่อึดอัดเท่ากับหูฟังแบบปิด เหมาะสำหรับฟังเพลงทั่วๆไป ไม่เหมาะใช้งานใน Studio เท่า เพราะจะได้ยินเสียงจากสภาพแวดล้อมภายนอกเล็ดลอดเข้ามา ทำให้เหมาะกับการใช้งานภายในที่พักอาศัย ไม่เหมาะกับงานใน Studio ตัวอย่างหูฟังลักษณะนี้ได้แก่ PS1000 หูฟังรุ่นท็อปจาก Grado ครับ


PS1000 : Grado

หูฟัง Fullsize แบบปิด ( Close Type)

ลักษณะหูฟัง Fullsize แบบปิด ด้านข้างของหูฟังจะถูกชีลเอาไว้เพื่อป้องกันเสียงภายนอกลอดเข้ามาโดยเฉพาะ รวมไปถึงเสียงจากหูฟังก็ไม่สามารถดังลอดผ่านออกไปได้เช่นกัน ซึ่งหูฟังแบบนี้เหมาะสำหรับงานมอนิเตอร์ Studio และงานคอนเสิร์ต โดยเฉพาะบรรดา DJ ทั้งหลาย เนื่องจากป้องกันเสียงรอบข้างรบกวนได้ดีเยี่ยม และปัจจุบันก็เริ่มมีหูฟังเพื่อความบันเทิงทั่วๆไปหลายรุ่นที่เป็นแบบปิดมากขึ้น ตัวอย่างหูฟังแบบปิดได้แก่ DJX-1 หูฟังรุ่นดีเจ จากแบรนด์ Beyerdynamic ครับ



DJX-1 / Beyerdynamic

หูฟัง Fullsize แบบกึ่งเปิด-ปิด( Semi-Open Type)

หูฟัง Fullsize แบบกึ่งเปิด-ปิด ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานสตูดิโอ ซาวด์เอนจิเนียร์ (แต่อาจไม่เหมาะสำหรับดีเจหรืองานคอนเสิร์ต) เพราะเสียงสามารถเล็ดลอกเข้า-ออกอยู่ได้บ้าง หรือจะเอาไว้ฟังในที่พักอาศัยก็สามารถทำได้เช่นกัน ตัวอย่างหูฟังแบบกึ่งคือ DT880 หูฟังรุ่นสำหรับงานสตูดิโอ จาก Beyerdynamic ครับ



DT880 / Beyerdynamic


สรุป หูฟังประเภท Full Size มี 3 แบบ คือ แบบ Closed เป็นแบบวัสดุปิด ทำให้ไม่มีเสียงรั่ว เข้า-ออก หรือมีในปริมาณที่น้อยมากๆครับ มักจะเป็นหูฟัง monitor และ DJเมื่อสวมใส่นานๆมักจะมีอาการล้าเนื่องจากการบีบอัดของหูฟัง เหมาะสำหรับการ Mix และ อัดเสียง

2. แบบ Open ก็จะเป็นแบบวัสดุที่มีช่องเปิดให้เสียง เข้า-ออก ได้ นิยมในหูฟัง Hi-Fi พราะสวมใส่สบายต่อเนื่องได้ยาวนาน มีช่องสำหรับลม-เข้าออก มักจะขับเสียงบางย่านได้ดี เช่น เสียงเบส ซึ่งมักจะเป็นหูฟังที่มีความไพเราะ และ color ครับ จึงเหมาะสำหรับการใส่ฟังเพลงทั่วไปในบ้าน

และสุดท้ายคือ Semi Open จะกึ่งกลางระหว่าง 2 แบบข้างต้น ไม่เหมาะสำหรับงานสตูดิโออัดเสียงร้องเพราะ มีผลิตทั้งแบบ Professional Use (ใช้ในงานสตูฯ Mix เสียง) และแบบ Home Use (ใช้ทั่วๆไป) แล้วแต่ผู้ผลิตออกแบบมาครับ

-----------------------

2. Semi-Fullsize Headphone (Supra-aural)

หูฟังแบบ Semi-Full Size จะเป็นหูฟังแบบ Fullsize ที่ย่อส่วนลงมา ทำให้มีขนาดเล็กกว่า Full-Size พอสมควร โดยถูกออกแบบมาเพื่อสามารถเน้นการพกพาได้โดยสะดวก ลักษณะเด่นของลำโพงรวมทั้ง Pad จะเป็นแบบแนบหูครับ ไม่ได้ครอบปิดหูเหมือนแบบ Full-Sized ข้อดีคือทำให้มีขนาดเล็กลง พกพาสะดวกขึ้น แต่มีข้อเสียคือป้องกันเสียงรอบข้างแทบจะไม่ได้เลย รวมถึงเสียงบรรยากาศที่ได้ ก็ไม่เท่ากับหูฟังแบบ Fullsize แต่จะได้ในเรื่องการพกพาที่สะดวกขึ้นมาแทนครับ


ตัวอย่าง หูฟังแบบ Semi Full size พกพาง่าย รุ่น T50P จาก Beyerdynamic ครับ



ด้วยจุดเด่นของการที่หูฟังมีขนาดเล็กและพกพาสะดวก จึงมีการคิดค้นดีไซน์หูฟังแบบ Semi-Full Sized ออกมาหลายรูปแบบ และการแบ่งแยกหูฟังในส่วนนี้ จะแยกตามรูปแบบการ design ของหูฟังเป็นหลักครับ โดยส่วนใหญ่จะแยกออกเป็นดังนี้


Street Style / Earpad Headphone ( On The Ear ) 




โดยปรกติแล้ว หูฟังประเภท Street Style กับ Earpad Headphone จะถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด เพราะลักษณะที่แท้จริงของ Street Style คือ ต้องเป็นหูฟังที่มีก้านเชื่อมหูฟังทั้งสองข้างอ้อมไปทางด้านหลังหัว หรือที่เรียกกันว่า “ Neckband ” ในขณะที่ตัว Earpad Headphone จะเป็นก้านแบบคาดหัวที่เรียกกันว่า “ Headband ” แต่ปัจจุบัน ผู้ผลิตเริ่มนำมาใช้เรียกรวมๆกันว่าเป็น Street Style ทั้งหมด
หูฟังแบบ Street Style เหมาะกับการพกพา โดยเฉพาะงานประเภท Outdoor หรือการออกกำลังกาย เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ซึ่งตัวหูฟังจะไม่หลุดง่าย เหมือนกับหูฟังประเภทอื่นๆ หูฟังแบบ Street Style แท้ๆ ส่วนใหญ่จะมีก้านล๊อคตรงใบหูเพื่อช่วยล๊อคลำโพงให้แนบสนิทกับใบหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” และไม่มีการล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูนั่นเอง

ตัวอย่างหูฟังแบบ Street Style ยี่ห้อ SONY



Clip-On / Clip-Ear 

หูฟังแบบ Clip-On/ Clip-Ear หรือที่ทั่วไปเรียกว่า Ear Clip จะมีลักษณะเด่นคือมีส่วนก้านล๊อคเข้าที่ก้านหูคล้ายๆกับของ Street Style เพียงแต่จะไม่มี Neckband อ้อมไปด้านหลังคอ เพราะต้องการให้ใส่แล้วรู้สึกเบาสบายไม่เกะกะ โดยส่วนใหญ่หูฟังประเภทนี้จะค่อนข้างล๊อคติดแนบแน่นกับหูเราพอสมควร ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับพกพานอกสถานที่และใช้ในการออกกำลังกายทั่วไป ข้อดีอีกอย่าง คือมันพกพาง่ายกว่าพวก Street Style หรือ Earpad Headphone เพราะไม่มีก้านที่ต้องพับให้วุ่นวาย มีเพียง Driver ซ้ายและขวาเท่านั้น ซึ่งหูฟังแบบ Ear Clip นั้นมีให้เลือกตั้งแต่ในราคาหลักร้อยบาทขึ้นไป และพกพาสะดวกกว่า จึงมีความนิยมในระดับนึงทีเดียว ตัวอย่างหูฟังประเภท Ear Clip ยี่ห้อ Asaski



สรุป ลักษณะหูฟังแบบ Semi Full size จะเป็นหูฟังแบบแนบหูซะส่วนใหญ่ ซึ่งมีหูฟังแฟชั่นรุ่นใหม่ๆหลายรูปแบบ หลากดีไซน์ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะออกแบบมาใช้งานในส่วนใหน ข้อดีคือพกพาได้ง่าย สะดวกกว่า แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องเสียงรบกวนภายนอกซึ่งจะมีมากกว่าแบบครอบหูนั่นเอง ส่วนการดีไซน์แต่ละแบบมีชื่อเรียกต่างๆกัน อาทิ Ear clip, Street Style ,Head band , Earpad Headphone ทั้งหมดนี้จะต่างที่วิธีการสวมใส่ และการใช้งานแต่ลักษณะลำโพงโดยส่วนใหญ่ก็เป็นแบบ Supra-aural ซึ่งเป็นลำโพงทีี่มีขนาดใหญ่กว่าแบบ in-ear และแบบ Ear bud ครับ

-----------------------------------------


3. Micro-Size




หูฟังประเภท Micro Size เป็นหูฟังที่ถูกพัฒนามาจาก Semi Full-size เพื่อให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้นและใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันถือได้ว่าเป็นหูฟังที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดและมีจำหน่ายในท้องตลาดมากที่สุดในบรรดาหูฟังทุกประเภทและมีหลากหลายยี่ห้อ ทั้งมีราคาต่ำสุดและคุณภาพต่ำสุด ไปจนถึงราคาแพงคุณภาพดีที่สุดเลยก็ว่าได้ จุดเด่นของหูฟังประเภทนี้คือ มีระยะที่ไกล้ชิดกับหูทำให้ได้ยินเสียงทุกมิติชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหูฟังที่ทำให้มีคุณภาพดีได้ยากที่สุดเช่นเดียวกันเพราะข้อจำกัดของขนาด Transducer ที่เล็กมากและระยะที่ใกล้ชิดกับหูมากๆ ทำให้การออกแบบเพื่อได้มิติเสียงที่ดีโดยเฉพาะในย่านความถี่ต่ำ ทำได้ยาก ดังนั้นหูฟังที่เด่นๆจริงๆจึงมีเพียงไม่กี่ยี่ห้อและไม่กี่รุ่น 



หูฟังแบบ Micro-Size นั้นสามารถแยกย่อยออกมาได้ 3 ประเภทหลักๆ โดยแบ่งออกเป็น Earbud , In-Ear และ Hybrid ซึ่งเป็นหูฟังที่ผสมผสานระหว่าง In-ear และ Earbud เข้าด้วยกัน ดังนั้นเรามาเริ่มกันที่หูฟังที่เป็นที่นิยมที่สุดในท้องตลาดขณะนี้ก่อนเป็น อันดับแรกคือ 

Ear Bud 


สำหรับหูฟังแบบ Earbud นั้นถือว่าเป็นหูฟังสำหรับยุคแรกๆเลยทีเดียวและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะ player ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาด มักจะแถมหูฟังแบบ Earbud มาพร้อมเสร็จสรรพในชุดอยู่แล้ว กระทั่งพวก Handfree ที่ใช้กับมือถือทั้งหลายก็ยังใช้หูฟังแบบ earbud เป็นตัวยืนพื้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงหูฟังคนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึง earbud ก่อนเป็นอันดับแรก 

แต่ก็อย่างไรก็ดี หูฟังแบบ Earbud นั้นถือได้ว่าเป็นหูฟังที่ออกแบบให้ดีได้ยากมากๆ เพราะข้อจำกัดในเรื่องขนาดและระยะของเสียงจาก Driver ไปยังแก้วหูนั้น มันอยู่ในระยะที่ใกล้มาก ดังนั้นหูฟังโดยทั่วๆไปที่วางขายกันอยู่โดยเฉพาะของสินค้าทั่วไปถูกๆหรือของจีนแดง มักจะให้คุณภาพเสียงที่ไม่ดีเท่าไหร่ นอกจากเรื่องคุณภาพเสียงแล้วยังรวมไปถึงคุณภาพการผลิตก็ไม่ดีเท่ากับหูฟังที่มีแบรนด์เพราะใช้งานได้ไม่เท่าไหร่ก็มักจะพังเอาง่ายๆ อาการที่เสียบ่อยๆ ก็มักจะเป็นที่สายขาดใน และหูฟังชำรุด Driver หลุดออกมาจาก Housing เป็นต้น ดังนั้นการเลือกหูฟัง Earbud ให้ได้คุณภาพที่ดี ควรเน้นที่ Brand ที่มีชื่อเสียง และค่อยทดลองฟังเสียงก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะจะช่วยให้อัตราการเสี่ยงที่เจอหูฟังด้อยคุณภาพลดลงไปเยอะ 

หูฟังเด่นๆที่แนะนำคือ หูฟัง Sennheiser รุ่น MX400 ซึ่งเป็นหูฟังที่ฮิตขายดีถล่มทลายในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา และยังคงมีจำหน่ายอยู่ สำหรับราคาก็ตกอยู่ราวๆ สองร้อยไปจนถึง ห้าร้อยบาทครับ ซึ่งจะต่างกันที่ล็อตการผลิต แพคเกจและคุณภาพของฟองน้ำครับ 



Sennheiser MX400 

ในส่วนของ Micro-size นั้น นอกจากจะมี Earbud แล้ว ก็ยังมีอีกแบบที่กำลังเป็นกระแสที่มาแรงในขณะนี้ นั่นก็คือ IEM หรือ หูฟังแบบ In-ear นั่นเองครับ 

IN-EAR ( IEM ) 


หูฟังแบบ IEM (In Ear Monitor) เป็นหูฟังที่เหมาะสำหรับใช้งานในยุคปัจจุบันที่สุดแล้วครับ และยังเป็นหูฟังมาแรงในขณะนี้ จนหลายค่ายต่างก็พากันผลิตหูฟังประเภทนี้กันแทนที่หูฟังแบบ Earbud ครับ ที่สำคัญ ช่วงหลังๆมาทั้งเครื่องเล่น Mp3 Player ยี่ห้อต่างๆ ก็เริ่มเปลี่ยนมาแถมเป็นหูฟังแบบ In-ear กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานก็คงจะมาแทนที่ตลาด Earbud จุดเด่นของหูฟังประเภท In-ear คือจะมีจุกยางเสียบเข้าไปในรูหู โดยจะมีหลายขนาดเพื่อความเหมาะสมของสรีระของแต่ละคน คุณภาพเสียงจะให้เสียงกลางและแหลมที่มีรายละเอียดดี มีความเพี้ยนต่ำ เนื่องจากตัวลำโพงของหูฟังจะมีขนาดที่เล็กและอยู่ใกล้กับโครงสร้างของหูในส่วนที่ใช้รับเสียงมากกว่าหูฟังแบบอื่น และยังได้ชื่อว่าเป็นหูฟังที่ให้ “มิติเสียง” ได้ดีที่สุดด้วย ทำให้การแยกแยะชิ้นดนตรีชัดเจน และเนื่องจากว่าตอนใช้งานต้องแยงลงไปในรูหูทั้งยังทำให้ช่วยบล็อกเสียงจากภายนอกไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปรบกวนได้มาก

หูฟังประเภท In-ear นั้น แรกเริ่มเดิมที ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานใน Studio , Stage และ PA เป็นหลัก เพราะความที่มันมีระบบ isolation หรือ การเก็บเสียงที่ดี เหมาะสำหรับใช้งานที่ที่อึกทึกมากๆ ดังนั้นในยุคแรกๆมันจึงได้ใช้ชื่อว่า IEM หรือ In Ear Monitor นั่นเอง เพราะส่วนใหญ่เค้าจะเอามาใช้งานด้านเสียง มากกว่าเอามาฟังเพลง เพราะสามารถป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้ดีมากๆนั่นเอง

หูฟังที่เด่นๆในส่วนของ In-ear ก็จะมี 

ltimate Ears - Super.fi 3 live , Super.fi 4 , Super.fi 5 pro และ Triple.fi 10 pro 
Westone - UM2 
Shure - E3C , E4C , E5C
Etymotic - ER4P, ER6i 
Creative - EP630 
Philips - SHE9700 
Sennheiser - CX300 , CX500 
Crossroad - Mylarone X3 
Soundmagic - PL11, PL12 , PL30 
SONY - MDR-EX500 , MDR-EX700 
Jays - qJAYs 
Altec-Lensing - IM716 



Shure SE530

นอกเหนือจากหูฟังในแบบ Mass Production แล้ว ยังมีหูฟัง In-ear แบบที่ Build by order ในลักษณะที่เป็นหูฟังแบบพอเหมาะพอเจาะกับหูของเราแบบเป๊ะๆในชื่อว่า Custom In-ear ซึ่ง ตอนนี้กำลังเริ่มเป็นที่นิยมในระดับนึงเลยทีเดียว เพราะหูฟังแบบนี้จะเสียบเข้าพอดีกับหูเราและจะค่อนข้างเก็บเสียงได้ดีกว่าพวกที่ใช้ Housing แบบ Universal ที่วางขายในท้องตลาดทั่วๆไป 

แต่เนื่องจาก Custom In-ear มีราคาสูง ฟังได้แค่คนเดียว แถมยังขายต่อไม่ได้อีก ทำให้คนที่นิยมก็ยังอยู่กันในแค่วงแคบๆเท่านั้นครับ เห็นว่าอีกไม่นานจะมีหูฟังแบบ Custom ของคนไทย ก็หวังว่าจะออกมาไม่แพง และช่วยให้คนที่เล่นหูฟังมีทางเลือกมากขึ้นนะครับ 

ตัวอย่าง. หูฟังแบบ Custom In-ear 




-------------------------------------
แถม

ประเภทสุดท้าย

4. Headset



หูฟังแบบ Headset ในประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นคือมีไมโครโฟนยื่นออกมาด้วย สำหรับใช้ในการสื่อสาร งานด้าน Call center และพวกนักเล่นเกมส์ออนไลน์ทั้งหลายครับ ซึ่งนอกจากจะไว้ใช้ฟังเสียงแล้วยังได้คุยสนทนาสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ทั้งนี้หูฟังแบบ Headset นี้จะระบุไว้ชัดเจนว่า สำหรับสื่อสารเฉยๆเท่านั้นหรือเพื่อเล่นเกมส์ด้วย ซึ่ง Headset สำหรับเล่นเกมออนไลน์จะมีราคาแพงกว่านิดหน่อย แต่ก็จะแลกกับอรรถรสและความมันส์ในการเล่นเกมส์ที่มากกว่าเดิมครับ

ตัวอย่าง หูฟังแบบ Headset . 



การเลือกซื้อหูฟังซักตัว นอกเหนือจากเรื่องเสียง Design และงบประมาณแล้ว เราก็ควรจะดูลักษณะการใช้งานด้วยครับว่า ปกติส่วนใหญ่เราใช้งานในลักษณะไหน เช่น ออกนอกบ้านบ่อยๆ ใช้ข้างนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ ก็ควรใช้หูฟังแบบ Semi-Fullsize หรือ Micro-Size แต่ถ้าอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ และอยากได้หูฟังดีๆไว้ใช้ในบ้าน ก็น่าจะหาหูฟังแบบ Full-size ดีๆซักตัว ใส่สบายๆจะดีกว่าครับ 
จริงๆแล้วของพวกนี้ก็ไม่ได้มีกฎกำหนดตายตัวว่าจะใช้อะไรแบบไหนที่ไหนยังไง เพราะผมยังเคยเห็นคนใส่ Full-Size เดินขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า ซึ่งก็ดูเท่ห์ไปอีกแบบ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เราจะมีความสุขกับการฟังเพลงได้มากกว่าครับ

แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าลักษณะการใช้งานของเราเป็นแบบใหน และข้อดี-ข้อด้อย ของหูฟังแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ก็รอดูบทความในบล๊อกถัดไปได้เลยครับ 




Credit : G7-G7.blogspot
headphonescrazy.com 

 

มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง หมายถึง, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง คือ, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง ความหมาย, มารู้จักหูฟังแบบต่างๆ และเทคนิคการเลือกซื้อหูฟัง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu