Nomophobia ภัยใกล้ตัวที่มาจากโทรศัพท์มือถือ
Nomophobia ภัยใกล้ตัวที่มาจากโทรศัพท์มือถือ
ทุกวันนี้เทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนได้ล้ำหน้าไปไกลเกินกว่าที่หลายคนเคยคิด การอำนวยความสะดวกอัน แสนรวดเร็วทันใจ (ในบางพื้นที่) การเข้าถึงและเชื่อมต่อกับผู้คนที่เรารู้จักทั่วโลกได้เพียงปลายนิ้ว คือเสน่ห์ที่ทำให้ใคร
หลายคนต้องหลงใหล แต่หารู้ไม่ว่าเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนที่ เราแสนจะโปรดปรานนี้กำลังค่อยคืบคลานเข้ามาพรากตัวเรา ไปจากบางสิ่งบางอย่างทีละเล็กทีละน้อย
ผลการสำรวจจากโรงแรม Travelodge ในประเทศอังกฤษได้เผยว่า ชาวอังกฤษ 72% ใช้เวลานอนอันแสนมีค่าประมาณ 1 ชั่วโมง 39 นาที ไปกับการท่องโลกเฟสบุ๊กและทวิตเตอร์ ซึ่งใน 20% ของผู้ที่ตอบผลสำรวจยอมรับสารภาพว่ายอมหยุดกิจกรรมทางเพศทันทีที่มีข้อความเข้าสมาร์ทโฟนของตัวเอง นั่นหมายความว่า มีหนุ่มสาวแดนผู้ดีหลายพันคู่ต้องเคยประสบปัญหา “อารมณ์ค้าง” ขณะเข้าด้ายเข้าเข็มอย่างแน่นอน!
Nomophobia ภัยใกล้ตัวที่มาจากโทรศัพท์มือถือ
ข้ามไปทางฝั่งอเมริกาบ้านเกิดของสมาร์ทโฟนชื่อดังกันบ้าง บริษัท 11mark ได้เผยผลสำรวจออกมาว่าชาวอเมริกันมากกว่า 70% นิยมพกโทรศัพท์มือถือเข้าไปในห้องน้ำเพื่อคุยเรื่องงาน ส่งข้อความ และเล่นอินเตอร์เน็ต
โดยมีผู้ชายจำนวนสูงถึง 30% ถึงกับบอกว่าจะไม่ยอมย่างเท้าเข้าสู่ดินแดนแห่งสุขาเป็นอันขาด หากไม่มีสมาร์ทโฟนติดตัวคู่กายเข้าไปด้วย
Nomophobia ภัยใกล้ตัวที่มาจากโทรศัพท์มือถือ
เมื่อดูจากการทำผลสำรวจในต่างประเทศ ทำให้เรารู้ว่าอาการติดโทรศัพท์มือถือนี้จะไม่ได้มีแค่ในประเทศของเรานะครับเพราะฝรั่งเองก็เป็นกันจนถึงขั้นมีการบัญญัติศัพท์เพื่อใช้เป็นชื่อโรคกันเมื่อประมาณ
4 ปีที่แล้ว โดยมีชื่อว่า Nomophobia (ที่มาของคำว่า Nomophobia ก็คือ no-mobilephone phobia นั่นเอง)ซึ่งก็คือโรคที่เกิดจากความหวาดกลัวในการไม่มีโทรศัพท์มือถือไว้เพื่อติดต่อสื่อสารหรือใช้งาน
รวมไปถึงภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในจุดอับสัญญาณจนไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับใครได้ฟังดูแล้วก็ไม่น่าเชื่อว่ามีโรคแบบนี้อยู่ด้วย!?
เรามาลองสำรวจตัวเองกันดูหน่อยไหมว่ามีอาการของโรค Nomophobia ดังต่อไปนี้หรือไม่?
- เครียดและหงุดหงิด เมื่อลืมเอาโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ที่บ้าน แบตเตอรี่หมด หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณ
- กลัวโทรศัพท์หาย!!
- สนใจโทรศัพท์มือถือในมือมากกว่าเพื่อน คนรัก สมาชิกในครอบครัว
- ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอื่นและใช้งานโทรศัพท์มือถือไปด้วย
- มีคนคอยเตือนอยู่เสมอว่า “เลิกเล่นมือถือได้แล้ว”
- เช็คโทรศัพท์มือถือบ่อยมากผิดปกติ
จากอาการต่างๆ ที่ว่ามาข้างต้นนี้ เราจะสามารถพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นมักจะเป็นวัยที่ติดเพื่อนและแฟน ขี้เหงาและไม่ค่อยชอบอยู่ตัวคนเดียวมากกว่าวัยอื่นๆ จึงเป็นอันต้องใช้โทรศัพท์มือถือทุกครั้ง
เมื่ออยู่ตัวคนเดียวนั่นเอง
และในเมื่อมีการตั้งชื่อโรคกันซะขนาดนี้ ก็ต้องมีแนวทางการเยียวยารักษาอย่างแน่นอน ทางผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรค Nomophobia ได้ให้คำแนะนำวิธีการรักษาอาการเหล่านี้ไว้โดยสามารถ เข้ารับการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะขอให้ผู้ที่มีอาการของโรคนี้ นำโทรศัพท์ไปเก็บไว้ในอีกที่เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยสามารถนำไปฝึกเองที่บ้านได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว จุดเริ่มต้นของการรักษาด้วยวิธีนี้ต้องเริ่มจาก การยอมรับว่าตัวเราเองเป็น Nomophobia และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อที่จะลด ละ เลิกพฤติกรรมเหล่านี้ให้ค่อยๆ หมดไปในที่สุด
สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าผมจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Nomophobia แต่ก็อยากจะขอแนะนำให้หลายๆคนที่มีอาการดังกล่าวลองใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่นบ้างเช่น ไปเตะบอล (ไม่ได้แปลว่าต้องมีอารมณ์ทางเพศนะ)
ใช้เวลาไปกับงานอดิเรกเพื่อน คนรัก หรือสมาชิกในครอบครัว แล้วคุณจะรู้ว่าโลกของเรานั้น ไม่ได้มีแต่ตัวเราคนเดียวที่อยู่ในโลกแคบกรอบสี่เหลี่ยมขนาด 4 นิ้ว หรือหน้าจอเป็นล้านๆ สีเท่านั้น แต่ยังมีผู้คนและสรรพสิ่งอื่นๆ
ที่สวยงามอีกมากมายที่คุณสามารถสัมผัสได้รออยู่
ที่มา : whatphone.net