..... 6 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับ ครีมกันแดด .....
สภาพอากาศในบ้านเราตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ ร้อนที่สุดของปีเลยก็ว่าได้ เมื่อแสงแดดแรงขนาดนี้ไม่ว่าจะเป็นสาวๆ หรือหนุ่มๆ ก็ต้องเพิ่ง ครีมกันแดด กันแน่นอน และครีมกันแดดตอนนี้คงจะใช้ SPF น้อยๆคงจะต้านแสงแดดไม่ไหว เดี๋ยวนี้ต้อง SPF50 ขึ้นไป แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่าครีมกันแดดนั้นมีอะไรมากกว่าที่เราคิด ไปติดตามพร้อมกันกับทีนเอ็มไทยดีกว่า 6 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับ ครีมกันแดด ^^
6 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับ ครีมกันแดด
1. ครีมกันแดดส่วนใหญ่ ป้องกันได้เฉพาะ UVBเพราะในแสงแดด นอกจากจะมี รังสี UVB ที่สามารถส่องทะลุได้ถึงชั้นหนังแท้ จนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง และริ้วรอยเหี่ยวย่นได้แล้ว ยังมี รังสี UVA ซึ่งเป็นตัวการทำให้ผิวหนังไหม้ และเกิดจุดด่างดำอยู่ด้วย ทว่าครีมหรือโลชั่นกันแดดจำนวนมาก ที่วางขายอยู่ในท้องตลาด กลับระบุว่ามีค่า SPF (Sun Protecting Factor) ที่ป้องกันได้เฉพาะรังสี UVB เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่า ครีมหรือโลชั่นขวดนั้นๆ สามารถป้องกันริ้วรอยเหี่ยวย่น และมะเร็งผิวหนังได้ แต่อาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันผิวคุณมิให้เกิดรอยไหม้ หรือจุดด่างดำ
ถ้าอยากป้องกันผิวสวยให้ครบสูตร คุณควรเฟ้นหาครีมกันแดด ที่นอกจากจะมีค่า SPF ที่ป้องกัน UVB ได้แล้ว ยังควรมีค่า PA (Protection Grade of UVA) ที่ป้องกันรังสี UVA ได้ด้วย
2. ค่า SPF สูงเกินควร ไร้ประโยชน์ แถมเกิดโทษต่อผิวครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ไม่ได้ดีต่อผิวเสมอไป เพราะหากคุณไม่ได้ไปออกแดดแรงจัด แต่ดันชโลมครีม ลูบไล้โลชั่นที่มีค่า SPF ระดับสูงมากๆ เช่น SPF70 หรือ SPF90 แทนที่ผิวจะปลอดภัย กลับกลายเป็นได้รับสารเคมีเพิ่มเข้าไปในผิวซะอย่างงั้น โดยเฉพาะหากคุณเป็นผู้ที่มีผิวบอบบาง และแพ้ง่าย การใช้ครีมที่มีค่า SPF สูง อาจทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองได้ง่ายๆ
ทางออกที่ดีสำหรับผู้มีผิวบอบบางคือ การใช้ครีมหรือโลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำลงมาสักหน่อย และขยันทาให้บ่อยครั้งอีกสักนิด ซึ่งอาจคำนวณเองได้ง่ายๆ โดยการนำตัวเลขที่ต่อท้าย SPF มาคูณด้วย 30 ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะหมายถึงจำนวนนาทีที่ครีมกันแดดนั้นจะป้องกันรังสี UVB ได้ เช่น SPF15 ให้นำ 15 x 30 จึงเท่ากับครีมนั้น สามารถป้องกันรังสี UVB ได้นาน 450 นาที
3. ความร้อนทำครีมกันแดดเสื่อมสภาพ
การที่คุณเก็บครีมหรือโลชั่นกันแดด ไว้ในสถานที่ร้อนจัดนานๆ อาทิ ในรถยนต์ ที่มักจอดกลางแดดที่ร้อนระอุ หรือพกพา ครีมกันแดดไปริมทะเล แล้วตากแดดจ้าไว้นานๆ สามารถทำให้ครีมกันแดดของคุณหมดอายุเร็วกว่า ที่ระบุไว้บนฉลากนับปีเลยทีเดียว
หากอยากให้ครีมกันแดด มีประสิทธิภาพยาวนาน ตามที่ควรจะเป็น ก็ควรเก็บรักษาไว้อย่างเหมาะสม ไม่นำไปตากแดด หรืออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน แต่ไม่ต้องถึงกับใส่ไว้ในตู้เย็นหรอกนะคะ เพราะอากาศที่เย็นจัดเกินไป อาจทำให้ครีมเป็นไข แถมประสิทธิภาพบางอย่างในตัวครีมก็อาจถูกทำลายไปด้วย ทั้งนี้แนะนำว่า เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ไม่โดนแสงแดดส่องถึงก็เพียงพอแล้วค่ะ 4. ต้องทาครีมกันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง เมื่อออกแดดจัดหลายคนเมื่อออกแดดจัด เช่น เล่นน้ำทะเล โต้คลื่นลมเสียจนเพลิน มักหลงลืมเวลาที่จะทาครีม หรือโลชั่นกันแดดซ้ำอีกครั้ง ทั้งที่ส่วนใหญ่ด้านข้างผลิตภัณฑ์มักระบุไว้ชัดว่า ควรทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงเมื่อออกแดด
ขอบอกว่า การออกแดดเพลินจนลืมเวลาเช่นนั้น จะส่งผลเสียต่อผิวคุณมากโขเชียวค่ะ เพราะผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ทาครีมกันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงครึ่ง มีแนวโน้มเกิดผิวไหม้เกรียมมากกว่าผู้ที่ทาครีมกันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว ฉะนั้นเมื่อรักจะผิวสวย ทาครีมป้องกันผิวอย่างดีแล้ว ก็ต้องไม่ลืมคำนวณเวลา กลับมาทาครีมซ้ำอย่างสม่ำเสมอด้วยล่ะ
5. เปลือยผิวออกแดดเพียง 5 ครั้ง ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังแล้วAnnet King หัวหน้าสถาบันผิวหนังนานาชาติแห่งสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า เพียงแค่คุณออกแดด (โดยไม่ทาครีมกันแดด) จนผิวไหม้เกรียม 5 ครั้ง ก็เท่ากับว่า คุณมีความเสี่ยงเป็นมะเร็วผิวหนังมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า จึงควรท่องจำให้ขึ้นใจว่า แสงแดดทำร้ายผิวได้มากกว่าที่คุณคิด เมื่อออกจากบ้านไปตากแดด ตากลม แล้วละเลยป้องกันผิว ผลกระทบที่ตามมาจึงไม่ใช่แค่ผิวดำ เกิดกระฝ้าเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลถึงขั้นก่อให้เกิดโรคร้าย ที่อันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว
6. สภาวะโลกแย่ ต้องพึ่งพิงครีมกันแดดสม่ำเสมอเมื่อไม่นานมานี้ กรมอุตุนิยมวิทยาโลกได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันก๊าซโอโซน (Ozone) ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันรังสี UV ระดับอันตรายจากแสงอาทิตย์ให้แก่โลก มีปริมาณลดลงกว่า 40% จึงส่งผลให้มนุษย์ มีโอกาสได้รับปริมาณรังสียูวีเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นข้อมูลที่บ่งบอกว่า ปัจจุบันแสงแดดทำร้ายผิวคุณได้มากขึ้นทุกขณะ การทาครีมป้องกันแสงแดด จึงต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคร้ายอย่างมะเร็งผิวหนัง และยังเพื่อให้ผิวสวยใส ไร้จุดด่างดำอยู่กับคุณไปนานๆ.
ที่มา – Lady Manager