ความเป็นมา ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก Royal Thai Army Radio and Television (Channel 5) มีจุดกำเนิดมาจากข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการกำหนดกำลังเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกในเวลาปกติ ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ของกรมการทหารสื่อสารไว้เมื่อ พ.ศ.2495 ให้มีแผนกวิทยุโทรทัศน์สังกัดอยู่ในกองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมการทหารสื่อสาร ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงว่ากองทัพบกได้มอบภารกิจนี้ให้แก่เหล่าทหารสื่อสารโดยเฉพาะ
จนถึง พ.ศ.2497 จึงได้กำหนดอัตราการจัดและกำลังพลแผนกวิทยุโทรทัศน์ ไว้ในอัตราเฉพาะกิจ ของกรมการทหารสื่อสาร มีภารกิจในการดำเนินการเกี่ยววิทยุโทรทัศน์ การจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และการถ่ายทอดโทรทัศน์จนถึงปันจุบัน ขณะนั้นมีกำลังพลตามอัตรา นายทหาร, นายสิบ รวม 52 ตำแหน่ง
ที่มา : https://www.tv5.co.th/about/history
การจัดตั้ง
การจัดตั้ง
ด้วยความดำริและความอนุเคราะห์ของ ฯพลฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้แต่งตั้งให้ พลเอก ไสว ไสวแสนยากร ผู้ช่วยผู้บัญชากรทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2500 มีหน้าที่วางโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนานาการทางทหาร จัดหาอุปกรณ์การส่งวิทยุโทรทัศน์ และวางแผนอำนวยการกับควบคุมการดำเนินการทั้งปวง โดยใช้งบประมาณที่กองทัพบกให้ยืมไปดำเนินการเป็นจำนวน 10 ล้านบาทเศษ
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกได้วางศิลาฤกษ์ อาคารสถานี ณ บริเวณกองพลทหารม้า สนามเป้า ถนนพลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เมื่อ 24 มิถุนายน 2500 และก่อสร้างแล้วเสร็จออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ 25 ม.ค.2500 ซึ่งเป็นวันกองทัพบก ด้วยระบบ FCC (Federal Communication Committee) สัญญาณ 525 เส้น ภาพขาว - ดำ ออกอากาศช่อง 7 มีชื่อสากลว่า His Majesty Station; Army Television (HSATV) ชื่อย่อ " ททบ."
ความมุ่งหมาย
ความมุ่งหมาย
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ได้ตั้งขึ้นด้วยความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1. เพื่อประโยชน์ในการฝึกศึกษาของเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความชำนาญ สามารถติดตามความรู้และความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยุโทรทัศน์ได้ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อให้บริการความรู้ความบันเทิง แก่ทหารและประชาชน
3. เพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างทหารของชาติกับประชาชน
ความมุ่งหมายการดำเนินงานด้านโทรทัศน์ ในการจัดตั้งสถานีเพื่อ
ก. เป็นเครื่องมือในการแจ้งข่าว
ข. เผยแพร่กิจการของกองทัพบก และส่วนราชการอื่น
ค. ต่อต้านการโฆษณาของฝ่ายตรงข้าม
ฆ. ดำเนินการทางด้านจิตวิทยาในความอำนวยการของกองทัพ
ง. เผยแพร่นโยบายของรัฐ
จ. บำรุงความรู้ความบันเทิงแก่ทหารและประชาชน
ฉ. สนับสนุนการอบรมศีลธรรมของชาตแก่ทหารและประชาชน
ช. กระจายข่าวสารทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ซ. ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างทหารกับประชาชน
ฌ. ส่งเสริมให้หน่วยต่าง มีความรู้ ความชำนาญทางวิทยุโทรทัศน์