แนวปะการัง
แนวปะการัง คือ ระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในท้องทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกแต่ผู้ที่สร้างแนวปะการังขึ้นมานั้น กลับเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่า "ตัวปะการัง"
การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบาง ชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตร เท่านั้น ดังนั้นกว่า จะเป็นแนวปะการังอันกว้างใหญ่อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้จึงกินเวลายาวนานนับหมื่นๆปีเลยทีเดียว
ที่มา: https://www.thapakorn.th.gs/web-t/eedeaw/naew%20pa%20ka%20rung.html
ชนิดของแนวปะการัง
แนวปะการังในโลกแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
1. BARRIER REEF คือ แนวปะการังนอกฝั่ง แบบเดียวกับแนวปะการัง GREAT RARRIER REEF ของประเทศออสเตรเลีย เป็นแนวปะการังขนาดใหญ่โต มีความกว้างยาวนับเป็นร้อย ๆ ไมล์ แนวปะการังแบบนี้ไม่มีในประเทศไทย
2. ATOLL คือ เกาะปะการัง เกิดขึ้นจากการรวมตัวทับถมกันของปะการังในแนวดิ่งจนกลายสภาพเป็นเกาะ ปะการัง แบบเดียวกับประเทศมัลดีฟส์ และเกาะสีปาดัน มาเลเซีย
3. FRINGING REEF คือ แนวปะการังชายฝั่ง เป็นแนวปะการังที่เกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะใน เขตน้ำค่อนข้างตื้น
แนวปะการังในประเทศไทย
แนวปะการังในประเทศไทย
แนวปะการังในประเทศไทยทั้งหมดเป็นแบบ FRINGING REEF นี้ โดยพบว่าอาจแบ่งตามลักษณะสภาพ แวดล้อมที่แตกต่างกันเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. แนวปะการังริมฝั่ง เป็นแนวปะการังที่แท้จริง เพราะเป็นการสะสมตัวจนกลายเป็นแนวปะการัง พบได้ทั่ว ไปในแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นตามชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ เป็นแนวปะการังชนิดที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะเป็นที่ที่สัตว์ทะเลจะใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตเข้ามาอาศัยเติบโตอยู่ในบริเวณนี้ ปะการังชนิดนี้ใน ปัจจุบันจัดเป็นปะการังที่มีความเสียหายมากที่สุด
2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย เป็นกลุ่มปะการังเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นทราย ยังมีการสะสมตัวกันไม่มากนัก ส่วนมากเป็นปะการังสมองและเขากวาง
3. ปะการังบนโขดหิน อยู่ในแนวน้ำลึก พบได้ในแหล่งดำน้ำทั่วไปในหมู่เกาะสิมิลัน เช่น ที่เกาะเจ็ด (หินหัว กะโหลก) หรือ แฟนตาซี รีฟ เป็นต้น แนวปะการังชนิดนี้เปรียบดังโอเอซีสกลางทะเลทราย จึงเป็นที่รวม ตัวของสัตว์ทะเลหลากหลาย โดยเฉพาะฝูงปลาต่าง ๆ ที่แวะเวียนเข้ามาหาอาหารอย่างสม่ำเสมอ
4. แหล่งกัลปังหาและปะการังอ่อน ไม่เชิงเป็นแนวปะการัง มีศักยภาพในการเป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของ ปลาเล็กปลาน้อยไม่มากนัก จึงไม่ค่อยมีคุณค่าเท่าใดนักในระบบนิเวศ หากแนวปะการังชนิดนี้และชนิด ปะการังบนโขดหิน กลับทรงคุณค่าอย่างยิ่งในแง่การท่องเที่ยว เพราะปะการังอ่อนและกัลปังหามีความ สวยงามมาก และเป็นจุดสนใจอย่างยิ่งของบรรดานักดำน้ำและช่างภาพใต้ทะเล