พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์
(เรือนจําคลองเปรม)
ที่ตั้ง
เลขที่ ๔๓๖ ถนนมหาชัย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เจ้าของ/ผู้ครอบครอง
กรมราชทัณฑ์
ปีที่สร้าง
พ.ศ. ๒๔๓๒
ลักษณะอาคาร
ก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น หลังคาปั้นหยา มีลายปูนปั้น ตกแต่งโดยรอบ
ประวัติโดยย่อ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ซื้อที่ดินและจัด สร้างเป็นเรือนจำในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยได้ทรงโปรดเกล้าให้ พระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร) ซึ่งเคยไปรับราชการสถานฑูตไทย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้สร้างโดยนำแบบเรือนจำ Brixton อันเป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูงสุดมาสร้างขึ้น และได้รับการขนานนามว่า “ คุกกองมหันตโทษ ” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ” ต่อมาเมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ย้ายผู้ต้องขังไป ทัณฑสถานวัยหนุ่ม บางเขน และปรับปรุงพื้นที่บริเวณเรือนจำมากว่า ๑๐๓ ปีให้เป็น สวนสาธารณะ เพื่อน้อมเกล้าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนม์ ครบ ๕ รอบ ทรงพระราชทานนามว่า “ สวนรมณียนาถ ” และอาคารด้านหน้า ๓ หลังเป็นที่ขายสินค้าราชทัณฑ์ และอาคารเรือนขังที่เรียกว่า “ แดน ๙ ” จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ พร้อมกันนี้ยังอนุรักษ์กำแพงส่วนหน้าซุ้มประตู และป้อมยามรักษาการณ์เอาไว้
ประวัติการบูรณะ
กรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบบูรณะ และดำเนินการใน พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๖ โดยรักษารูปแบบอาคารตามที่สร้างในสมัยนั้น
ผู้รับเหมาบูรณะ
บริษัท ดำรงค์ก่อสร้างวิศว จำกัด ระยะเวลาปรับปรุง ๑๘๐ วัน
ความเห็นคณะกรรมการฯ
นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์อาคาร และปรับเปลี่ยนการใช้สอยให้เหมาะสมกับสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทำให้อาคารยังประโยชน์สืบต่อไปพร้อมกับประวัติ ศาสตร์ของอาคารก็ดำรงอยู่
เรียบเรียงโดย ชไมพร โพธิพรรค
ภาพถ่ายโดย อนุชา ตั้งศรีวิริยะกุล และวทัญญู เทพหัตถี
ที่มา: https://www.asa.or.th