การเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม้ต้องมีตารางประจำวันในการให้อาหารที่เหมาะสม การขับถ่ายการเล่นและการนอนหลับ โดยต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกแมวต้องคำนึงถึง
- โภชนาการและการหย่านม
- สุขอนามัย
- อุณหภูมิและความชื้น
- การป้องกันโรค
- การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม
ลูกแมวสุขภาพดีจะจ้ำม่ำแข็งแรง มีชีวิตชีวา หลับนาน ลูกแมวที่สุขภาพไม่ดีจะมีกล้ามเนื้อที่ไม่สมบูรณ์ ร้องบ่อยถ้าไม่ช่วยเหลือ อ่อนแอ ซึมเศร้า เฉื่อยชา งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn
โภชนาการและการหย่านมลูกแมว
ลูกแมวจะได้รับน้ำนมน้ำเหลืองใน 12 ชั่วโมงแรก ลูกแมวจะดูดซึมภูมิคุ้มกันจากน้ำนมน้ำเหลืองได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนับจากคลอด ในกรณีที่แม่แมวไม่สามารถเลี้ยงดูลูกแมวได้ ลูกแมวต้องดูดนมจากขวดหรือหลอดหยดตามแต่จะหาได้
การให้อาหารแบบหลอดผู้ให้ต้องได้รับการฝึกอย่างดี เพราะอาหารอาจเข้าสู่ปอดย่างไม่ตั้งใจทำให้หมดสติ การให้อาหารแบบหลอดจึงเสี่ยง อนุญาตให้ใช้เฉพาะในลูกแมวอ่อนแอซึ่งต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ ควรลูบหลังลูกแมวให้เรอระหว่างให้อาหารและหลังอาหาร โดยนำมันผาดไหล่ ให้ตัวตั้งตรงและตบหลังเบาๆ การให้น้ำนมจากขวดหรือหลอดต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการปอดบวมหรือการสำลักน้ำ
ใน 24-28 ชั่วโมงแรก ลูกแมวต้องการนม 1 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง แต่ละวันเพิ่มจำนวนขึ้น 0.5 มิลลิลิตร จนถึง 10 มิลลิลิตรต่อมื้อ จึงหยุดเพิ่ม ใน 1 วันลูกแมวควรได้รับอาหาร 6-9 มื้อ
ในช่วง 2 สัปดาห์ ให้อาหารลูกแมว 5-7 มิลลิลิตรต่อครั้ง
ช่วง 3 สัปดาห์ จะเริ่มให้อาหารอ่อน 3 เวลาต่อวัน และยังมีการให้นมจากขวดอยู่
ในสัปดาห์ที่ 4 ลูกแมวควรได้รับน้ำนมจากขวด 4-6 ครั้งต่อวันร่วมกับอาหารอ่อน 4-5 ครั้งต่อวัน ลดการให้อาหารช่วงกลางคืนลง ลูกแมวจะกินอาหารแข็งได้เมื่ออายุ 7 สัปดาห์
สัญญาณแรกของการเจ็บป่วย คือ น้ำหนักลด น้ำหนักของลูกแมวจะเพิ่มขึ้น 50-100 กรัมต่อสัปดาห์ เมื่อลูกแมวอายุ 14 วัน น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด ถ้าลูกแมวน้ำหนักไม่เพิ่มควรให้อาหารเพิ่มขึ้น
สุขอนามัยของลูกแมว
ลูกแมวเกิดใหม่จะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยังเจริญไม่สมบูรณ์ ลูกแมวต้องได้รับการกระตุ้นโดยใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นลูบบริเวณทวารหนัก จะทำให้ลูกแมวปัสสาวะ อุจจาระภายใน 1-2 นาที โดยปกติลูกแมวอายุ 21 วัน จะขับถ่ายของเสียได้เอง หมั่นสังเกตปัสสาวะและอุจจาระของลูกแมว ปัสสาวะปกติควรมีสีเหลืองอ่อนหรือใส ถ้ามันมีสีเหลืองคล้ำหรือส้มแสดงว่าลูกแมวได้รับอาหารไม่เพียงพอ ปกติอุจจาระจะมีสีน้ำตาลจางหรือเข้ม อุจจาระสีเขียวแสดงถึงโรคติดเชื้อ ถ้าอุจจาระแข็งมากแสดงว่าให้อาหารทีละมากๆ แต่ให้ไม่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด มีแก๊ส หายใจไม่สะดวก
อุณหภูมิและความชื้น
ลูกแมวเกิดใหม่ยังไม่สามารถรักษาความร้อนของร่างกาย หรือสั่นตัวเพื่อให้เกิดความร้อนได้ จึงต้องมีที่ให้ความร้อนแก่ลูกแมว เช่น ตู้อบ เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งถูกออกแบบสำหรับลูกสัตว์เกิดใหม่ จะช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสมและควรระมัดระวังอย่าให้ความร้อนสูงเกินไป ควรมีเทอร์โมมิเตอร์ในบริเวณนั้นเพื่อคอยสังเกตอุณหภูมิ ในสัปดาห์แรกอุณหภูมิควรอยู่ที่ 85-90 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้น 55-65% พอ 3 สัปดาห์ลดอุณหภูมิลงเป็น 75 องศาฟาเรนไฮต์ ลองสังเกตถ้าลูกแมวมาอยู่รวมกันแสดงว่ามันหนาวไป แต่ถ้าลูกแมวอยู่ห่างกันคนละมุมแสดงว่าร้อนไป ลูกแมวที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำควรทำให้อบอุ่นอย่างช้าๆ ภายใน 2-3 ชั่วโมง จนลูกแมวมีอุณหภูมิร่างกายปกติ 97 องศาฟาเรนไฮต์
ควรรักษาความชื้นโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำวางเหนือกล่องที่ลูกแมวอยู่ จะช่วยเพิ่มความชื้นได้ ไม่ควนเลี้ยงลูกแมวในที่อับชื้น หรือบนพื้นที่ผุพัง เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งอาจเกิดโรคทางเดินหายใจได้ การควบคุมอุณหภูมินั้นสำคัญกว่าในเรื่องความชื้น ลูกแมวควรอยู่ในที่ที่มีผิวสัมผัสที่ดี เช่น ผ้าห่ม ขนแกะ จะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกแมว
การป้องกันโรค
ลูกแมวอาจติดโรคได้ง่าย เช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ถ้าหากไม่ได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ นมน้ำเหลือง 24 ชั่งโมงแรกหลังคลอดจะมีแอนติบอดีมากมาย ซึ่งแอนติบอดีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลูกแมวที่ไม่ได้กินนมน้ำเหลืองจะมีภูมิคุ้มกันโรคน้อย และควรฉีดวัคซีนให้ลูกแมวด้วย ลูกแมวอาจได้รับอันตรายจากพยาธิ จึงควรถ่ายพยาธิให้ลูกแมว เริ่มเมื่อลูกแมวอายุ 6 สัปดาห์ และถ่ายซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 8 และ 10สัปดาห์
การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม
เราควรลูบขน กอด และให้ลูกแมวเล่นกับคนประมาณ 30-40 นาทีต่อวัน นอกเหนือจากการให้อาหารและทำความสะอาดให้มัน ลูกแมวต้องการการกระตุ้น ควรปูรองพื้นกล่องที่ลูกแมวนอนด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม ลูกแมวจะอบอุ่นและหลับสบาย สิ่งสำคัญคือทำให้เหมือนลูกแมวเป็นสมาชิกในบ้านในช่วง 3-6 สัปดาห์ จำไว้ว่ามันยังเด็ก ต้องจับอย่างทะนุถนอม แต่ต้องเริ่มฝึกลูกแมวให้คุ้นเคยกับเสียง การขับถ่าย คนแปลกหน้า และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
ที่มา www.vet.ku.ac.th