ประวัติ
นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมที่กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายที่ดัลลิช คอลเลจ ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขากฎหมาย ในปี ๒๔๙๘
เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศในปี ๒๔๙๘ ระหว่างปี ๒๕๐๒ - ๒๕๐๗ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในปี ๒๕๐๗ และต่อมาในปี ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนนาดา จนถึงปี ๒๕๑๕ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกาและผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ - ๒๕๑๘
นายอานันท์ ได้กลับมารับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี ๒๕๑๙ และตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างปี ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑ นายอานันท์ ลาออกจากกระทรวงการต่างประเทศในปี ๒๕๒๒ และเข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จำกัด
นายอานันท์ได้รับตำแหน่งอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทยตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ เมื่อสมาคมอุตสาหกรรมไทยยกฐานะขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปลายปี ๒๕๓๐ นายอานันท์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานสภาฯ และในเดือนเมษายน ๒๕๓๓ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาฯ ดำรงตำแหน่งตามวาระเป็นเวลา ๒ ปี
นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียนระหว่างปี ๒๕๒๕ - ๒๕๒๗ และระหว่างปี ๒๕๒๕ - ๒๕๒๖ เป็นประธาน ASEAN Task Force ในเรื่องความร่วมมือของอาเซียนอันประกอบด้วยบุคคล ๑๕ คน จากทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลอาเซียนระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๙ ถึง มกราคม ๒๕๓๔ เป็นประธานฝ่ายอาเซียนในคณะรัฐมนตรีอาเซียนสหรัฐอเมริกา
นายอานันท์ เป็นกรรมการสภาสถาบัน ผู้ทรงคุณวุฒิของ สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์กรรมการสภาสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทยกรรมการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการสภาที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอ.ไอ.ที) และกรรมการ ศูนย์การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีสหรัฐ - อาเซียน ในเดือนตุลาคม ๒๕๓๓ ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ The World Management Concil (CLOS) และในเดือนมกราคม ๒๕๓๔ รับเป็นกรรมการ The Business Council for Sustainable Development (BCSD)
นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด ระหว่างปี ๒๕๒๘ - ๒๕๓๓ และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัทสหยูเนี่ยน จำกัด ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๔
ในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยลำดับที่ ๑๘ รัฐบาลซึ่งมี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างผลงานที่สำคัญไว้หลายประการ คือ การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบข้าราชการ การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนการส่งเสริมตลาดทุน การส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีในอุตสาหกรรมนโยบายการค้าเสรีภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า การปรับปรุงการสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มการให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้ง ๔๖ ประจำปี ๒๕๓๔ การพัฒนาชนบท การพัฒนาการเกษตรและการปฏิรูปที่ดินการเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ ๒ การดำเนินการขยายโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม การสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕ โดยได้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น
นายอานันท์ ปันยารชุนพันจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๕ เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕ และต่อจากนั้นได้รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจวบจนกระทั่งพลเอกสุจินดา คราประยูร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เริ่มปฎิบัติงาน เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๕ พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมือง และบริหารราชการมาจนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั่วประเทศในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๕ และพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ เนื่องจากมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ หลังจากนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้หวนกลับคืนสู่ภาคธุรกิจอีกครั้ง
ในด้านการปฏิรูปการเมืองนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทในการรณรงค์ส่งเสริมประชาธิปไตย และการปราบปรามการคอร์รัปชั่นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขารัฐบริการ จากมูลมิธิรางวัลรามอนแม็กไซไซ และยังได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปีประจำปี
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ ๑
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๗ : ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ - ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕
สมัยที่ ๒
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๙ : ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๒ กันยายน ๒๕๓๕
๒๕๔๐" อีกด้วย