ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หมายถึง, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ คือ, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ความหมาย, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

          งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ (แล้วแต่ว่าปีนั้นสถาบันไหนเป็นเจ้าภาพ โดยจะเรียกชื่อเจ้าภาพนำก่อน ซึ่งทั้งสองสถาบันจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ ฝ่ายละปี) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมฟุตบอลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนมกราคม ความสนุกของงานรวมไปถึงการเข้าเชียร์และการแปรอักษรจากกองเชียร์ของทีมของทั้งสองฝ่าย โดยนำโดยเชียร์ลีดเดอร์ซึ่งมีการจัดเลือกทุกทุกปี มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และเก็บค่าผ่านประตู ทั้งนี้ รายได้ทั้งหมดจากการจัดงานจะมอบเป็นการกุศล

          นักกีฬาของทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นจะต้องเป็นนิสิตนักศึกษาปัจจุบันจากทางมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยมักจะให้นิสิตนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าที่เป็นนักฟุตบอล ทีมชาติของประเทศไทยมาแข่งขันกัน โดยภาพรวมของตัวงาน อาจจะแบ่งกิจกรรมภายในงานได้เป็น 2 ส่วนคือการแข่งขันฟุตบอลและกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา เช่น การเดินพาเหรด การเชียร์และการแปรอักษร จุดสนใจอีกอย่างหนึ่งของงานนี้ก็คือ การล้อการเมืองโดยนิสิตนักศึกษา โดยก่อนการแข่งขันจะมีขบวนพาเหรดล้อการเมือง ประกอบด้วยหุ่นและป้ายข้อความล้อการเมืองต่าง ๆ และในการแปรอักษรก็จะมีการสอดแทรกเสียดสีการเมืองเป็นระยะ



ประวัติ

          งานฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นงานเพื่อสานสามัคคีที่ควรค่าแก่การจดจำสำหรับนิสิตนักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 จากบัดนั้นถึงบัดนี้เป็นเวลาล่วงเลยมากว่า 70 ปีแล้ว

          เมื่อ 70 ปีที่แล้ว กลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการให้ 2 มหาวิทยาลัยซึ่งใหญ่ที่สุดในขณะนั้นในประเทศไทย รักใคร่ เข้าใจกัน กลมเกลียวกัน จึงหารือกัน ระหว่างนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ไปเรียนทางจุฬาฯ และ ทางธรรมศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีการมองกันว่า จุฬาฯเป็นนักเรียนที่จบ 8 แต่ธรรมศาสตร์ไม่จบ 8 จึงมีการมองว่าดูถูกกัน จึงอยากจะให้เข้าใจรักใคร่กัน รวมถึงมีความรู้สึกกันว่า ไม่ได้สนิทสนมกันเหมือนเดิมเหมือน และเป็นคนละพวกกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน ได้จัดกิจกรรมสานความสามัคคีและสร้างความปรองดองระหว่างกัน ด้วยการแข่งขันกีฬาฟุตบอล

          การจัดแข่งขันกีฬาฟุตบอลนั้นมีที่มาจากกลุ่มผู้ริเริ่มได้เล็งเห็นถึงความสามัคคีของ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แห่งสหราชอาณาจักร ที่จัดการแข่งขันเรือประเพณีสืบต่อกันมาทุกปี แต่ทางกลุ่มผู้ริเริ่มถนัดและสนใจกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่ครั้งเมื่ออยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงตกลงที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลขึ้น

          ผู้ริเริ่มทางฝ่ายจุฬาฯ คือ นายประถม ชาญสันต์ (หัวหน้านิสิตคณะอักษรศาสตร์) นายประสงค์ ชัยพรรค และนายประยุทธ์ สวัสดิ์สิงห์ ซึ่งในขณะนั้น ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิวัฒน์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ได้ทำเรื่องเสนอผ่านกองกิจการนิสิตซึ่งมี ม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อขออนุมัติจัดงานจากอธิการบดี ส่วนผู้ริเริ่มทางฝ่ายธรรมศาสตร์คือ นายต่อศักดิ์ ยมนาค และนายบุศย์ สิมะเสถียร ได้ทำเรื่องเสนอ ดร.เดือน บุนนาค เลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อขออนุมัติจาก ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเมื่อได้รับฉันทานุมัติจากทั้ง 2 สถาบันเรียบร้อยแล้ว งานฟุตบอลประเพณีก็ได้เริ่มต้นขึ้นโดยฝ่ายธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2477 ในการจัดการแข่งขันครั้งแรกนั้นได้มีการเก็บค่าผ่านประตูคนละ 1 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้กับสมาคมปราบวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนั้น จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี ว่ารายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมอบให้กับการกุศลทุกครั้ง เช่น บำรุงการทหาร สมทบทุนสร้างเรือนพักคนไข้วัณโรค ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย บำรุงสภากาชาดไทย บำรุงมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก สมทบทุนอานันทมหิดล สร้างโรงเรียนชาวเขา ฯลฯ จนกระทั่งในปี 2521 จึงได้นำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

          ด้านสถานที่จัดการแข่งขันนั้น ในครั้งแรกได้จัดขึ้นที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในครั้งที่ 2 - 4 ได้ย้ายมาจัดที่สนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และครั้งที่ 5 ก็ได้ย้ายสถานที่จัดการแข่งขันอีกครั้ง มาจัดที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน

         นับตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 10 คือในวันที่ 30 ธันวาคม 2492 หลังจากเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา เสียงเพลงพระราชทาน

ผลการแข่งขัน

          ผลการแข่งขันถึงปัจจุบัน (2549) ธรรมศาสตร์ชนะ 21 ครั้ง จุฬาฯ ชนะ 13 ครั้ง เสมอ 28 ครั้ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
          ครั้งที่ 1 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2478 ผลการแข่งขัน เสมอ 3-3
          ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2479 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 4-1
          ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2480 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2481 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2482 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2483 ผลการแข่งขัน เสมอ 2-2
          ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2484 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-0
          ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2486 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 3-1
          ครั้งที่ 10 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 3-2
          ครั้งที่ 11 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 5-3
          ครั้งที่ 12 วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2495 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 13 วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 3-1
          ครั้งที่ 14 วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 15 วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ผลการแข่งขัน เสมอ 2-2
          ครั้งที่ 16 วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ผลการแข่งขัน เสมอ
          ครั้งที่ 17 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 3-1
          ครั้งที่ 18 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 3-2
          ครั้งที่ 19 วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 20 วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 21 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 22 วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 23 วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2506 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 3-1
          ครั้งที่ 24 วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 3-0
          ครั้งที่ 25 วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 26 วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 2-0
          ครั้งที่ 27 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 28 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-0
          ครั้งที่ 29 วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 30 วันที่ 30 มการาคม พ.ศ. 2514 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 31 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2515 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 4-0
          ครั้งที่ 32 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 33 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 2-0
          ครั้งที่ 34 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 35 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-0
          ครั้งที่ 36 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2523 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 37 วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2524 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 38 วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2525 ผลการแข่งขัน เสมอ 2-2
          ครั้งที่ 39 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2526 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 40 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2527 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 41 วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2528 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 42 วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2529 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 43 วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2530 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 44 วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2531 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 45 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2532 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 46 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2533 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 47 วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 48 วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 ผลการแข่งขัน เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 49 วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2536 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 50 วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2537 ผลการแข่งขัน เสมอ 2-2
          ครั้งที่ 51 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2538 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 52 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 ผลการแข่งขัน  ธรรมศาสตร์ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 53 วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2540 ผลการแข่งขัน  เสมอ 1-1
          ครั้งที่ 54 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ผลการแข่งขัน  เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 55 วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2542 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-1
          ครั้งที่ 56 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2543 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 57 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2544 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 2-0
          ครั้งที่ 58 วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 ผลการแข่งขัน เสมอ 2-2
          ครั้งที่ 59 วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2546 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 60 วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2547 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
          ครั้งที่ 61 วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2548 ผลการแข่งขัน ธรรมศาสตร์ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 62 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2549 ผลการแข่งขัน จุฬาฯ ชนะ 1-0
          ครั้งที่ 63 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 ผลการแข่งขัน  เสมอ 1-1
          
ครั้งที่ 64 วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผลการแข่งขัน เสมอ 0-0
         
ครั้งที่ 65 วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 ผลการแข่งขัน -


งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หมายถึง, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ คือ, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ความหมาย, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต