ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา หมายถึง, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา คือ, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา ความหมาย, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา

    "แก๊สน้ำตา" (Tear gas) หรือ CS gas ที่เป็นชื่อสามัญของ 2-chlorobenzalmalononitrile หรือ o-Chlorobenzylidene Malononitrile มีสูตรทางเคมีคือ C10 H5 Cl N2 โดยส่วนประกอบที่นำมาผลิต เป็นสารเคมีหลายชนิด แต่พบบ่อยคือ 1- chloroacetophenone (CN), 2-chlorobenzalmalononitrile (CS), dibenzoxazepine (CR), oleoresin capsicum (OC or "pepper spray") และ pelargonic acid vallinylamide (PAV)
          แก๊สน้ำตาเป็นส่วนผสมของสารเคมี มีคุณสมบัติละลายน้ำ เมื่อถูกร่ายกายจะเกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะเยื้อบุต่างๆ จำแนกอาการได้ดังนี้เยื่อบุตา ทำให้มีน้ำตาไหล แสบ คัน บวม แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ ยกเว้นว่าถูกแก๊สน้ำตาระเบิดใส่ตาโดยตรงเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้แสบจมูก มีน้ำมูกเยื่อบุในช่องปาก ทำให้แสบ ร้อนริมฝีปาก ปากแห้ง หรือเกิดการพองมีน้ำเหลืองไหล เกิดแผลในปากทางเดินหายใจ เจ็บคอ ไอ จาม มีเสมหะ หายใจลำบาก หัวใจเต้นแรง หัวใจทำงานผิดปกติ หายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือถุงลมโป่งพอง รายที่สูดดมควันเป็นเวลานานมาก อาจทำให้ปอดอักเสบได้ทางเดินอาหาร สำลักควัน กลืนน้ำลายที่มีแก๊สน้ำตาเข้าไป จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้
ผิวหนัง : แสบ บวมแดง          แก๊สน้ำตาจะออกฤทธิ์ทันทีที่ร่างกายสัมผัสถูก และฤทธิ์จะคงอยู่นานประมาณ 10-30 นาที ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตา สิ่งแรกคือ หลีกเลี่ยงออกไปอยู่พื้นที่ที่ไม่มีควันแก๊สน้ำตาป้องกันการสูดดมซ้ำ จากนั้นรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือในปริมาณมากๆ ทันที วิธีการล้างให้ปล่อยน้ำให้ไหลผ่านดวงตาเบาๆ นานสักระยะเพื่อให้นำล้างแก๊สน้ำตาออกให้หมด เพราะหากล้างน้ำแรงไปจะทำให้ดวงตาอักเสบหรือกระจกตาเสียหายได้ หลังจากล้างดวงตาเสร็จแล้วให้ล้างใบหน้า มือ ขา ขา ด้วยสบู่ หรือน้ำเปล่าก็ได้ แต่สบู่จะช่วยชะล้างแก๊สน้ำตาได้ดีกว่าน้ำเปล่า และรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที หลังจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่าได้รับอาจเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจทำให้หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบได้ โดยผู้ป่วยจะจะมีอาการ หายใจติดขัด หายใจไม่ออก เจ็บบริเวณคอหลอดลมเพราะเกิดการอักเสบ แน่นหรือเจ็บหน้าอก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์จะรักษาตามอาการ โดยให้ดมออกซิเจน และจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ ระยะเวลาการรักษาไม่นานภายใน 1-7 วัน อาการก็หายเป็นปกติ          สำหรับผลข้างเคียงระยะยาว รายงานทางการแพทย์จากการทดลองให้ห้องปฏิบัติการได้ฉีดแก๊สน้ำตาให้กับสัตว์ทดลอง พบว่ายังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ว่าแก๊สน้ำตามีอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว หรือเกิดการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานก่อให้เกิดเป็นมะเร็งได้          ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับแก๊สน้ำตา สวมใส่เสื้อผ้า และรองเท้าที่มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางแกงขายาว รองเท้าหุ้มข้อ สวมหมวก หรือหน้ากาก และควรพกแว่นกันแดดติดต่อตลอดเวลา หรือจะให้ดีควรเป็นแว่นที่มีลักษณะคล้ายแว่นกันน้ำ เพราะจะช่วยปกปิดดวงตาได้มิดชิดกว่าแว่นกันแดดปกติ

ที่มารูปภาพ : www.thairath.co.thข้อมูลจาก : https://www.l3nr.org

รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา หมายถึง, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา คือ, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา ความหมาย, รู้จักพิษและวิธีป้องกันเมื่อโดน แก๊สน้ำตา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu