ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พืชน้ำมัน, พืชน้ำมัน หมายถึง, พืชน้ำมัน คือ, พืชน้ำมัน ความหมาย, พืชน้ำมัน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พืชน้ำมัน

           เป็นการจำแนกกลุ่มพืชที่เพาะปลูกเพื่อนำเอาผลิตผลไปสกัดน้ำมัน ทั้งนี้เพื่อให้ แตกต่างไปจากพืชกลุ่มอื่น ๆ เช่น พืชเส้นใยหรือพืชอาหารสัตว์ การจำแนกกลุ่มพืชวิธีนี้ได้ยึดถือการใช้ประโยชน์เป็นหลัก แม้ว่าลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชภายในกลุ่มมีความ แตกต่างกันก็ตามโดยทั่วไปแล้ว คำว่า น้ำมัน หมายความถึงสารประกอบ ๒ ประเภท
           ประเภทแรก คือ น้ำมันแร่ ซึ่งสูบขึ้นมาจากใต้ดิน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมหลายชนิด ไม่สามารถใช้บริโภคได้  ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
           ประเภทที่สอง คือ น้ำมันพืช ที่บริโภคได้    ได้แก่ น้ำมันพืช และน้ำมันสัตว์ซึ่งเป็นสาร-ประกอบเชิงอินทรีย์เคมี ที่พืชและสัตว์สังเคราะห์ขึ้นและถูกนำไปสกัดออกมาใช้บริโภคหรือใช้เตรียม

          อาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติ และแปรรูปให้ชวนรับประทานยิ่งขึ้น ในสมัยแรกที่มีการสกัดน้ำมันพืชนั้น ก็เพื่อใช้ทดแทนหรือผสมกับน้ำมันสัตว์ให้มีปริมาณมากขึ้นเพียงพอต่อความต้องการและก็พบว่ามีพืชหลายชนิดที่ใช้สกัดเอาน้ำมันได้ประกอบกับวิทยาการในการเพาะปลูก การสกัดและการแปรรูป ได้ก้าวหน้าตามลำดับ จึงได้นำน้ำมันพืชไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ
นอกเหนือจากการบริโภคอีกมากมายหลากหลายชนิด เช่น ทำสี และน้ำมันผสมสี เครื่องสำอางยารักษาโรค  สบู่ ผงซักฟอก เส้นใยสังเคราะห์หนังเทียม แผ่นพลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่น (ในภาวะที่เกิดการขาดแคลน)อาจจะกล่าวได้ว่า

          น้ำมันพืชได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันน้ำมันทั้งของพืชและสัตว์เป็นสารประกอบเชิงอินทรีย์ เกิดจากการรวมตัวของกรดคาร์บอซิลิค(Carboxylic acid) หรือกรดไขมันหลายโมเลกุล

โดยมีกลีเซอรอลหรือกลีเซอรีน (Glycerol or Glycerine) เป็นตัวเชื่อม กรดไขมันแต่ละชนิด มีสูตรโครงสร้างของตัวเองโดยเฉพาะ และยังแยกออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งร่างกายดูดซึมเข้าไปและใช้ประโยชน์ได้น้อย จึงทำให้เกิดการสะสมตัวเกาะติดกับผนังด้านในของเส้นโลหิตเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันและเปราะแตกได้ง่าย
๒. กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณค่าทางด้าน โภชนศาสตร์สูง เนื่องจากถูกดูดซึมและย่อยได้ง่าย

          น้ำมันมีกรดไขมันอิ่มตัว เรียกว่า น้ำมันอิ่มตัว ในทำนองเดียวกัน น้ำมันที่ประกอบด้วยกรด ไขมันไม่อิ่มตัว ก็เรียกว่า น้ำมันไม่อิ่มตัว

          น้ำมันและไขมันเป็นสารประกอบชนิดเดียวกันแต่มีคุณสมบัติทางกายภาพต่างกัน กล่าว  คือ ในอุณหภูมิห้อง (๒๕ - ๒๗ องศาเซลเซียส)ถ้าอยู่ในสภาพของเหลว เรียกว่า น้ำมัน ถ้าอยู่ในสภาพแข็ง เรียกว่า ไขมัน และน้ำมัน แต่ละชนิดก็มีจุดหลอมเหลวคงที่ จึงได้นำมาใช้  เป็นประโยชน์ในการจำแนกน้ำมันออกจากกัน ในแต่ละกลุ่มของกรดไขมันทั้งสองประเภท ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิดตามจำนวนและโครงสร้าง    ของโมเลกุลของธาตุองค์ประกอบทั้งสาม คือคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ดังนั้นคุณภาพและการใช้ประโยชน์ของน้ำมันพืชแต่ละพืชจึงขึ้นอยู่กับสัดส่วนและชนิดของกรดไขมันที่ประกอบกันขึ้นมา และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพืช กรดไขมันบางชนิดอาจใช้ทดแทนกันได้หรือนำไปผ่านกรรมวิธีบางอย่างให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่น้ำมันพืชบางชนิดมีคุณสมบัติพิเศษซึ่งต้องนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างเท่านั้นนอกจากใช้พืชน้ำมันเป็นวัตถุดิบในการ
สกัดน้ำมันแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ยังสามารถนำเอา ไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก เช่น เมล็ดถั่วเหลืองหลังจากนำไปสกัดน้ำมันออกแล้ว กากที่เหลือมีโปรตีนในปริมาณสูง นำไปใช้เป็นอาหารคนและสัตว์ได้ ดังนั้น การจำแนกกลุ่มพืช จึง พิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์
         พืชที่ให้น้ำมันที่เพาะปลูกในปัจจุบันมีอยู่หลายสิบชนิด แต่เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลจากทั่วโลกแล้วอาจจัดลำดับความสำคัญได้ดังนี้ คือ ถั่วเหลือง ฝ้าย ถั่วลิสงทานตะวัน เมล็ดจากต้นป่าน (flax) มะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วโลก

           ผลิตน้ำมันพืชได้ ๕๒ ล้านตัน ซึ่งเป็นน้ำมันถั่วเหลือง ๑๖ ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ ๓๐รองลงไป ได้แก่ น้ำมันปาล์ม จำนวน ๘ ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ ๑๕ น้ำมันพืชที่ผลิตได้ ทั้งหมดใช้บริโภคภายในประเทศผู้ผลิต ๓๕ ล้าน ตัน เหลือส่งออกจำหน่ายในตลาดโลก ๑๗ ล้านตันคาดว่าในอนาคตการผลิตน้ำมันพืชจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

สำหรับประเทศไทย พืชน้ำมันที่สำคัญ    ได้แก่ ปาล์ม ถั่วเหลือง มะพร้าว ถั่วลิสง งา และ    ละหุ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ประเทศไทยสามารถ    ผลิตน้ำมันพืชได้ในปริมาณ ๗๘,๐๐๐ ตัน และ    เพิ่มขึ้นเป็น ๒๕๒,๑๐๐ ตัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑    มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ ต่อปี โดยน้ำมัน    ปาล์มมีส่วนแบ่งร้อยละ ๕๐ รองลงไป ได้แก่    น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ ๒๐ และ ๑๕ ตามลำดับ นอกจากพืชน้ำมันที่กล่าวมาแล้วยังได้นำเอาเมล็ดฝ้ายเมล็ดนุ่น รำข้าว มาสกัดน้ำมัน เป็นผลพลอยได้

          ในด้านการบริโภคในประเทศก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีปริมาณการใช้น้ำมันพืช ๙๔,๐๐๐ ตัน ซึ่ง
เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศจำนวน ๑๖,๐๐๐    ตัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ปริมาณการใช้น้ำมันพืชเพิ่มขึ้นเป็น ๒๕๕,๐๐๐ ตัน หรือเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ ๘.๘ ต่อปี แต่เนื่องจากมีการ ผลิตน้ำมันพืชภายในประเทศเพิ่มขึ้นการนำเข้าจึงเหลือเพียง ๓,๐๐๐ ตัน และคาดว่าในเวลา ต่อไปประเทศไทยจะผลิตน้ำมันพืชได้เพียงพอสำหรับการใช้ในประเทศ และอาจเหลือส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ

          การบริโภคน้ำมันพืชของคนไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ คนไทยบริโภคน้ำมันคนละ ๒.๒ กิโลกรัมต่อปี และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพิ่มขึ้นเป็นคนละ  ๔.๘ กิโลกรัมต่อปี ทั้งนี้อาจอนุมานได้ว่า คนไทยได้เปลี่ยนค่านิยมจากการบริโภคน้ำมันสัตว์มาเป็นน้ำมันพืชกันมากขึ้นโดยเหตุผลทางด้านสุขภาพและน้ำมันพืชมีปริมาณมากพอ อีกทั้งมีราคาไม่สูง
นัก

พืชน้ำมัน, พืชน้ำมัน หมายถึง, พืชน้ำมัน คือ, พืชน้ำมัน ความหมาย, พืชน้ำมัน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 19

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu