ในปี ค.ศ.2012 นี้ นาซ่ากำลังจะมีโครงการบินสำรวจคุณภาพอากาศที่สนามบินอู่ตะเภา
ชื่อโครงการเต็ม (Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study) โครงการศึกษาองค์ประกอบ เมฆ อุณหภูมิ และความชื้น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อโครงการย่อ SEA C 4 RS
โดยโครงการมีการวางแผนล่วงหน้ามากว่า 2 ปี และมีแผนดำเนินการในเดือนสิงหาคมและกันยายนปี 2012 การทดลองนี้มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของการปล่อยก๊าซในเอเชียบนเมฆ อุณหภูมิและความชื้นและคุณภาพของอากาศ เน้นเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของการไหลเวียนลมมรสุมในเอเชีย ซึ่งการบินสำรวจครั้งนี้จะมีนักวิชาการของไทยเข้าร่วมภารกิจวิจัยนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งนิคมอุตสาหกรรม เพราะจะได้ข้อมูลของสารเคมีที่ปนเปื้อนทางอากาศ
วัตถุประสงค์การบินสำรวจคุณภาพอากาศในเอเซีย
1.เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนที่ของลมมรสุมบริเวณที่ความกดอากาศสูงและมีลมแรงในพื้นที่เอเชีย
2.ตรวจสอบผลกระทบของการเคลื่อนที่นำพาสารเคมี (UTLS)
3.ตรวจสอบผลกระทบของละอองมลพิษและคุณสมบัติของเมฆชั้น cirrus
4.ตรวจสอบความสำคัญของไมโคร กระบวนการขนส่งและวิวัฒนาการเกี่ยวกับเมฆฝนในระดับภูมิภาค
เครื่องบินในโครงการ
นาซา อีอาร์-2
สำหรับใช้ศึกษาชั้นบรรยากาศโทรโฟสเฟียร์ตอนบนถึงชั้นบรรยากาซสตราโทสเฟียร์ตอนล่าง โดยบินศึกษาที่ความสุง 18-21 กิโลเมตร มีพิสัย 3,000 ไมล์ทะเล บินได้ทน 8-10 ชั่วโมง มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณระยะไกลข้อมูลละอองลอย (aerosol) และการแผ่รังสีเพื่อวิเคราะห์องคืประกอบพื้นฐานทางเคมี
เอ็นเอสเอฟ/เอ็นซีเออาร์ จีวี
สำหรับใช้ศึกษาชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ตอนกลางถึงตอนบน มีเพดานการบินที่ 14 กิโลเมตร มีพิสัย 4,000 ไมลทะเล บินได้ทน 8-10 ชั่วโมง มีหน้าที่ในการศึกษารายละเอียดองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ และเคมีเชิงแสงของก๊าซและละอองลอย รวมถึงองค์ประกอบขนาดเล็กของเมฆ
นาซา ดีซี-8
สำหรับใช้ศึกษาสภาพอากาศตั้งแต่พื้นผิวขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ตอนบน มีเพดานบิน 12 กิโลเมตร พิสัย 4,000 ไมล์ทะเล มีความทนในการบิน 8-10 ชั่วโมง มีหน้าที่ในการศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบชั้นบรรยากาศ และเคมีเชิงแสงของก๊าซและละอองลอย วัดรายละเอียดการแผ่รังสี ส่งสัญญาณระยะไกลของโอโซนและละอองลอย
บรา คิง แอร์ 350 (BRRAA King Air 350) /เครื่องบินในโครงการทำฝนหลวงของไทย
สำหรับใช้ศึกษาสภาพอากาศตั้งแต่พื้นผิวขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ตอนบน มีเพดานบิน 10 กิโลเมตร พิสัย 1,700 ไมล์ทะเล มีความทนในการบิน 6 ชั่วโมง มีหน้าที่ในการวัดความเข้มข้นของอนุภาคและองค์ประกอบขนาดเล็กในเมฆ รวมถึงละลองลอยและความหนาเข้มข้นของนิวเคลียสที่ทำให้เมฆก่อตัว
เรียบเรียงโดย Sanook! Guru