ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม
ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม หมายถึง, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม คือ, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม ความหมาย, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม คืออะไร
สำหรับการใช้ชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะในสังคมเมืองอย่างที่เราอยู่กันทุกวันนี้ แน่นอนว่าพ่อแม่ต้องกุลีกุจอตื่นนอนแต่ไก่โห่ เสร็จแล้วก็หนีบลูกตัวน้อยกระเตงขึ้นรถเพื่อไปส่งโรงเรียนให้ทันแปดโมงเช้า ระหว่างทางก็แวะซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้งเป็นอาหารเช้าให้คุณลูก ส่วนคุณพ่อคุณแม่จะกินบ้างไม่กินบ้างตามประสาคนเมือง จากนั้นก็กระหน่ำทำงาน รู้ตัวอีกทีก็ค่ำเสียแล้ว แวะซื้ออาหารถุงที่ร้านประจำข้างทาง ขับรถกลับบ้าน นอน และเริ่มตารางชีวิตเช้าวันใหม่เหมือนเช่นเคย เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัวของใครหลายคน พร้อมกับคำถามที่เราอยากจะถามคุณพ่อ คุณแม่ และคุณลูกตามท้องเรื่องนั้นว่า คุณคิดว่าคุณได้รับอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนหรือไม่ และอีกข้ออันเป็นหัวใจของเรื่องก็คือ คุณคิดว่าอาหารที่รับประทานนั้นช่วยส่งเสริมให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารดีเพียงพอหรือเปล่า
ถ้าคำตอบของคุณมีตั้งแต่ ไม่เพียงพอหรอก หรือเข้าข่ายลังเลว่า ฉันก็เป็นอย่างที่ว่านี่แหละ ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย เราแนะนำให้คุณค่อยๆ อ่านสิ่งที่อยู่ในบทความต่อไปนี้อย่างตั้งใจ จากนั้นลองเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตของคุณตามที่เราบอกนี้ เพราะความเป็นจริงของคนไทยในปัจจุบันก็คือ การเกิดโรคต่างๆของระบบทางเดินอาหารนั้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอย่างมีนัยสำคัญแน่นอน มาถึงจุดนี้ เราลองมาดูกันว่าความผิดปกติของทางเดินอาหารนั้นมีอะไรบ้าง และเราต้องทำอย่างไรเพื่อจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเหล่านั้น
อันดับแรก โรคกระเพาะ (Peptic/ Duodenal ulcer) จัดว่าเป็นโรคทางเดินอาหารที่เราคุ้นเคยที่สุดอันดับหนึ่งของชาวเมืองหลวง สาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะก็คือ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานบ้างหยุดบ้าง แถมบางรายก็มีความเสี่ยงอันเนื่องจากการมีความเครียดเป็นนิจ แน่นอนว่าของแถมที่คุณมักได้รับก็คือ ปริมาณกรดในกระเพาะอาหารที่หลั่งออกมามากกว่าปกติ จนทำให้เกิดแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นขึ้นมา และเป็นที่มาของอาการปวดกระเพาะนั่นเอง
สิ่งที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนได้ก็คือการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ลดอาหารรสจัด เคี้ยวอาหารช้าๆเพื่อให้ละเอียดพอที่จะช่วยลดภาระการทำงานของกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะลดการสัมผัสโดยตรงของน้ำย่อยกับผนังกระเพาะอาหารซึ่งจะส่งผลดีต่อแผลในทางเดินอาหาร สำหรับการรับประทานอาหารเสริมนั้นAloe vera gel extractซึ่งเป็นสมุนไพรจากว่านหางจระเข้ที่ช่วยลดอาการของโรคกระเพาะได้เนอย่างดี ประกอบด้วยเส้นใยอาหารขนาดเล็กมากที่ช่วยสมานแผลในทางเดินอาหาร อีกทั้งยังมีเอนไซม์ที่ต้านการอักเสบจากสารBradykininดังนั้นด้วยสรรพคุณเหล่านี้จึงทำให้Aloe vera สามารถลดอาการอักเสบของโรคกระเพาะอาหารได้
ถัดมาก็จะเป็นความผิดปกติของทางเดินอาหาร ได้แก่ ภาวะอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง (Dyspepsia) อาการที่ว่านั้นโดยมากมักจะเกิดจาก การทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปริมาณมาก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะของเนื้อที่หยาบ เช่น เนื้อวัว,เนื้อเป็ดและ เนื้อหมู การทานผักผลไม้ดิบที่เกิดก๊าซได้ง่าย รวมไปถึงอาหารประเภททอดที่มีน้ำมันมากๆ วิธีการแก้ไขนั้น จำเป็นจะต้องลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลงหรือเปลี่ยนมาทานให้บ่อยมื้อขึ้น สัดส่วนของอาหารก็ควรให้มีผักผลไม้มากขึ้น เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายก็จะเป็นพวก เนื้อไก่ หรือ ปลา นอกจากนี้การรับประทานทุกครั้งก็ควรจะเคี้ยวให้ละเอียดมากขึ้นเพื่อช่วยให้อาหารมีการย่อยสมบูรณ์มากขึ้น สำหรับอาหารที่จะช่วยลดภาวะท้องอืดท้องเฟ้อนั้นได้แก่ เอนไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติเช่น เอนไซม์ปาร์เปนจากมะละกอ หรือโบรเมเลนจากสับปะรด นอกจากนี้ก็จะมีพวกสมุนไพรจำพวกขิง ข่า และขมิ้นสดซึ่งอาจจะรับประทานในรูปสารสกัดก็ได้
ความผิดปกติของทางเดินอาหารอื่นๆ ได้แก่ อาการท้องผูก ท้องเสีย อาการริดสีดวงทวาร หรือกลุ่มอาการไอบีเอส(Irritable Bowel Syndrome) ซึ่งมีลักษณะของการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน แต่จะมีอาการอันใดอันหนึ่งเด่นกว่าอีกอาการ โดยปกติอาการท้องผูกโดยทั่วไปนั้นมีสาเหตุมาจาก การรับประทานอาหารกากใยน้อย การดื่มน้ำน้อย การดื่มชา และมีความเครียดเป็นประจำ รวมถึงการขับถ่ายไม่เป็นเวลา ด้วยเหตุนี้วิธีแก้ไขส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น การรับประทานกากใยจากผักผลไม้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเลือกรับประทานในรูปของไฟเบอร์สำเร็จรูปก็ได้ อาทิเช่นPsyllim seed husk, Oat Bran
ส่วนอาการท้องเสียนั้นมักจะเกิดจากการติดเชื้อทางเดินอาหารการรับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน การอยู่ในสภาวะเครียด ความผิดปกติในการย่อยอาหารบางประเภท เป็นต้น วิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายและได้ผลดีวิธีหนึ่งก็คือการรับประทานอาหารจำพวกโปรไบโอติกส์(probiotics)ที่พบได้ในนมเปรี้ยวซึ่งก็จะเป็นการช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และต่อสู้กับจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียโดยวิธีธรรมชาติ นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของโรคตับและถุงน้ำดีโดยปกติตับจะเป็นอวัยวะที่สร้างน้ำดี ความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับตับจะส่งผลต่อน้ำดีตามมา ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่เป็นโรคตับมักจะมีอาการ อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง อันเกิดจากเม็ดสีของน้ำดีที่กระจายไปทั่วร่างกายวิธีการดูแลที่ถูกต้องนั้น คือ ผู้ป่วยควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารมัน อาหารทอด เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารหวานจัด รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่ายจะช่วยทำให้ตับไม่ต้องทำงานหนักอีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับให้กลับมาดีดังเดิ
สุดท้ายแล้วจะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพของระบบทางเดินอาหารนั้นก็คงหนีไม่พ้นอาหารจำพวกธัญพืชหรือผักผลไม้ที่ให้กากใยปริมาณสูงขณะเดียวกันควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ติดมันที่ย่อยยาก และสิ่งสำคัญที่สุดอีกประการนั้นก็คือ การตระหนักถึงพฤติกรรมการรับประทานของเรานั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะรับประทานอะไรเข้าไปก็ตาม สิ่งเหล่านั้นสะท้อนให้เห็นถึงสุขภาพของเราตามมา แน่นอนว่า ประโยคคลาสสิกที่ว่า
ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม หมายถึง, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม คือ, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม ความหมาย, ให้อาหารมาดูแลระบบทางเดินอาหารกันไหม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!