พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (25 สิงหาคม 2434 - 5 กันยายน 2519) พระนามเดิม หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (พระองค์วรรณ ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ หม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ ทรงเษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ กิติยากร และ หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค) วรวรรณ มีธิดา 1 คน คือท่านผู้หญิงวิวรรณ เศรษฐบุตรพระองค์วรรณไวทยากร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ทรงมีชื่อเสียงมากในด้านการบัญญัติศัพท์ และทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศด้วยคำบาลีและสันสกฤต
พระประวัติและการศึกษา
หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร
ทรงเริ่มศึกษาที่
โรงเรียนราชวิทยาลัยสมัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เมื่อเกิดโรคระบาด
โรงเรียนปิดชั่วคราว
จึงย้ายไปเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย1ปี
(ที่จริงคือตามไปใช้สถานที่เรียน)
ต่อมาเมื่อ
โรงเรียนราชวิทยาลัย
สมัยสายสาวลี
เปิดทำการจึงย้ายมาศึกษาต่อ และสอบได้ทุน
King's
scholarship ได้เดินทางไปศึกษาต่อยัง
ประเทศอังกฤษ โดยเข้าอยู่ประจำที่
'วิทยาลัยแบเลียล'
(Balliol College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในระดับเกียรตินิยมและปริญญาโท
จากคณะบูรพคดีศึกษา (Oriental
Studies) สาขา
ภาษาบาลี และ สันสกฤต
ที่สถาบันตะวันออก ของ
มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
ท่านจึงมีความสามารถในการบัญญัติศัพท์
กระทั่งเป็นผู้วางกฎ
เกณฑ์การบัญญัติศัพท์โดยใช้คำบาลีและสันสกฤตให้ราชบัณฑิตยสถาน
และใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้
มีคำศัพท์มากมายที่ทรงบัญญัติและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น
อัตโนมัติ
(Automatic)
รัฐธรรมนูญ
(Constitution)
ประชาธิปไตย
(democracy)
โทรทัศน์
(television)
วิทยุ
(radio)
ลำดับตำแหน่งหน้าที่การงาน
พ.ศ.
2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นองคมนตรี
พ.ศ.
2467 ทรงดำรงตำแหน่ง
ปลัดทูลฉลอง กระทรวงต่างประเทศ
พ.ศ.
2477-2490 ทรงดำรงตำแหน่ง
นายกราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.
2484 หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาสันติภาพฝ่ายไทยในกรณีพิพาทอินโดจีน
พ.ศ.
2486 ทรงได้รับสถาปนาเป็น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
พ.ศ.
2486 ทรงดำรงตำแหน่ง
นายกสมาคมราชวิทยาลัยโรงเรียน
ภ.ป.ร.
ราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ.
2489 ทรงดำรงตำแหน่ง
นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นพระองค์แรก
พ.ศ.
2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์
พ.ศ.
2499-2500 ทรงดำรงตำแหน่ง
ประธานสมัชชา สหประชาชาติสมัยประชุมที่
11
พ.ศ.
2486 ทรงดำรงตำแหน่ง
ประธานราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียน
ภ.ป.ร.
ราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ.
2502-2513 ทรงดำรงตำแหน่ง
รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.
2506-2514 ทรงดำรงตำแหน่ง
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ.
2512-2516 ทรงดำรงตำแหน่ง
นายกราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.
2516 ทรงดำรงตำแหน่ง
ประธานสมัชชาแห่งชาติ
พลตรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5
กันยายน
พ.ศ.
2519 รวมพระชันษา
85
พรรษา
เกียรติคุณ
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ประกาศเกียรติคุณในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญ
ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมระดับโลก
ประจำปี พ.ศ.
2534
พ.ศ.
2548 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้ปรับปรุงตึกโดม
ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่เป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์
และตั้งชื่อห้องประชุมที่ปรับปรุงใหม่
ว่า "ห้องประชุมวรรณไวทยากร"
เพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์
แหล่งที่มา : https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=10-2009&date=22&group=27&gblog=28