ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย หมายถึง, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย คือ, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย ความหมาย, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย

           จากการศึกษาเฟิร์นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกพบว่า มีเฟิร์นประมาณ ๑๐,๐๐๐ ชนิด ประมาณ ๔๐๐ สกุล ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่รวมเฟิร์นที่ยังไม่ทราบชื่อ และยังมีเฟิร์นชนิดใหม่ๆ ที่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ ในจำนวนนี้ประมาณ ๑๕% จะพบในเขตหนาว (Temperate) เขตอัลไพน์ (Alpine) และเขตทุนดรา (Tundra) ประมาณ ๕% พบตามทุ่งหญ้าในเขตหนาว เขตกึ่งทะเลทราย และเขตทะเลทราย ส่วนที่เหลือประมาณ ๘๐% จะพบในเขตร้อนชื้นของโลก
 
          การกระจายพันธุ์ของเฟิร์นขึ้นอยู่กับความสามารถในการกระจายของสปอร์ ความสามารถในการงอกของสปอร์ การเจริญเป็นแกมีโทไฟต์และการเจริญของสปอร์โรไฟต์ เฟิร์นบางชนิดเป็นพืชถิ่นเดียว (endemic species) กล่าวคือมีการกระจายพันธุ์จำกัดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น กูดเครือ (Lomagramma grossoserrata) พบเลื้อยไปตามพื้นดินที่ชื้นแฉะ หรือเลื้อยพันไม้ต้นในป่าเบญจพรรณชื้นในภาคเหนือของประเทศไทย จัดเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย เนื่องจากไม่เคยมีรายงานว่าพบในประเทศอื่น แต่เฟิร์นบางชนิด เช่น กูดเกี๊ยะ (Pteridium aquilinum) จะพบขึ้นทั่วไปทั้งในเขตหนาว และเขตร้อนชื้นของโลก
 
          จากการศึกษาเฟิร์นในประเทศไทย พบว่ามีประมาณ ๕๘๘ ชนิด แบ่งออกเป็น ๑๑๖ สกุลและ ๒๙ วงศ์ ซึ่งยังไม่ได้รวมพืชกลุ่มใกล้เคียงกับเฟิร์น ในจำนวนนี้มี ๒๒ ชนิดที่จัดเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย เฟิร์นที่พบในประเทศไทยพบขึ้นตามสภาพธรรมชาติตั้งแต่ริมทะเลจนถึงบริเวณที่เป็นภูเขาสูงในภาคเหนือของประเทศ จะพบเฟิร์นได้ในป่าธรรมชาติทุกแบบในประเทศไทย ได้แก่           พื้นที่ชายทะเล นอกจากจะเป็นหาดเลนแล้วยังเป็นหาดทรายหรือเป็นเขาหินปูน ซึ่งจะพบเป็นบริเวณแคบๆ ตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศ ดินทรายเป็นดินเค็ม อากาศมีไอเค็มสูงพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้จัดเป็นพืชที่ทนต่อความเค็ม ในอดีตพื้นที่ป่าชายหาดได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว และการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างมากส่งผลให้เฟิร์นหลายชนิดได้หายไปจากพื้นที่นี้ ดังจะเห็นได้จากหาดทรายซึ่งไม่ถูกรบกวนจากการกระทำของมนุษย์ ยังคงมีเฟิร์นที่ขึ้นบนดินทราย เช่น ตานกล่อม ตานพร้าว หรือ ตานส้าน (Schizaea dichotoma) และยายแพก (Phymatosorus scolopendria) ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามหาดทรายในภาคใต้บางแห่ง โดยมักจะขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของไม้พุ่มและไม้ต้น ตานกล่อมอาจจะเป็นเฟิร์นที่เป็นดัชนีของป่าชายหาดที่เป็นหาดทราย ดังจะเห็นได้จากการกระจายพันธุ์ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่จะพบตามชายฝั่งทะเลของคาบสมุทรมลายู โดยเริ่มต้นจากบริเวณคอคอดกระ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทร ตรงบริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง และยื่นยาวลงไปทางใต้ จนถึงประเทศมาเลเซีย นอกจากเฟิร์นที่ขึ้นบนดินในป่าชายหาดแล้ว ยังพบเฟิร์นที่เป็นพืชอิงอาศัย เช่นกระแต ไต่ไม้ และเกล็ดนาคราช
 
          บริเวณที่เป็นเขาหินปูนตามชายฝั่งทะเลซึ่งมักจะพบตามชายฝั่งทะเล ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป เฟิร์นที่ขึ้นบริเวณนี้จะเป็นชนิดที่ทนแล้งได้ดี เช่น กระแตไต่ไม้ กระปรอกสิงห์ เนื่องจากมีส่วนของลำต้น หรือใบอวบน้ำ สามารถสะสมน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ส่วนผักปีกไก่ซึ่งมีลำต้นขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับกระแตไต่ไม้ลำต้นจะทอดขนานไปตามหิน กิ่งหรือลำต้นจะมีเกล็ดปกคลุมทาบติดกับลำต้นช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในช่วงที่แห้งแล้งมาก ใบของเฟิร์นชนิดนี้จะบิดหรือม้วนงอ เพื่อลดพื้นที่ในการคายน้ำ ทำให้สามารถดำรงชีวิตผ่านช่วงวิกฤตที่แห้งแล้งได้

ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย หมายถึง, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย คือ, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย ความหมาย, ความหลากหลายของเฟิร์นในป่าเมืองไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu