ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หัวใจติดปีก, หัวใจติดปีก หมายถึง, หัวใจติดปีก คือ, หัวใจติดปีก ความหมาย, หัวใจติดปีก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หัวใจติดปีก

       คนไข้โรคหัวใจชอบที่จะถามว่า เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ หรือเดินทางโดยเครื่องบินได้หรือไม่?
ไว้ก่อนแล้วว่า พวกหมอนี้ ไม่ใช่คน (ธรรมดา)  พูดภาษาคน (ธรรมดา) ไม่ค่อยเข้าใจกันเท่าไหร่.......

       ญาติ พี่ น้อง ลูกหลานมักกลัวที่จะพาคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจไปเที่ยวไหนต่อไหนด้วย ...........เป็นเพราะกลัวว่าคนไข้จะเกิดหัวใจวาย แล้วไม่รู้ จะช่วยยังไงหรือว่ากลัวเกิดเรื่องกลางทางทำให้เที่ยวไม่สนุก?!?!

      ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะโรคหัวใจคาดเดาอยาก

      เมื่อก่อนนี้ การรักษาคนไข้โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) หรือหัวใจวาย หมอจะให้คนไข้พักเฉยๆ   ไม่ทำอะไรเลย เป็นเดือนๆ

      ..... แต่นั่นมันเมื่อหลายสิบปีที่แล้วครับ!!

     เดี๋ยวนี้การรักษาโรคหัวใจสมัยใหม่ จะรู้ว่า การฟื้นฟูสภาพหัวใจให้คนไข้กลับมาเหมือนเดิมหรือแข็งแรงกว่าเดิม!!!  นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ และจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อคนไข้
      
      ดีกว่านั่งๆ นอนๆ อยู่กับบ้านเฉยๆ  ไม่ทำอะไรเลย  จิตใจห่อเหี่ยว แต่ที่สำคัญก็คือ  หัวใจจะไม่แข็งแรงด้วย การที่คนไข้โรคหัวใจ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจได้มีกิจกรรมตามปกติ ไม่ใช่ถูกกักตัว ทะนุถนอมอยู่ในแต่ในบ้าน จะทำให้คนไข้เหล่านี้มีประสิทธิภาพและสมรรถภาพ ของร่างกายดีกว่าผู้ที่อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย  นอกจากนี้คนไข้ที่แอ็คทีฟยังจะเป็นผู้ที่มีสภาพจิตใจที่ดี  รู้สึกสบาย มีความกังวลน้อยลง ไม่เครียด ซึ่งนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
     

        คนไข้โรคหัวใจหรือผู้สูงอายุที่มีการออกกำลัง (อย่าเข้าใจผิดว่าการออกกำลังในที่นี้ หมายถึง การวิ่ง หรือเล่นกีฬาอย่างหักโหมจนเหงื่อโทรม ทั้งตัวนะครับ!!!)  ที่พอเหมาะ ถูกต้องและได้รับการฟื้นฟูหัวใจจะทำให้ความต้องการออกซิเจนของหัวใจลดน้อยลง..... หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ หัวใจจะใช้ออกซิเจน (ที่อาจจะมีปริมาณลดน้อยลง) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

        .......ถ้าเป็นรถยนต์ก็ประหยัดน้ำมันมากขึ้น!!!!

        คนที่ออกกำลังประจำจะมีชีพจรเต้นช้าลง
        คนที่ออกกำลังประจำ ความดันโลหิตขณะพักและหลังออกแรงจะต่ำลง

        ถ้าท่านได้รับการฝึกและดูแลจากหมอฟื้นฟูหัวใจหรือหมอหัวใจ ไม่ว่าท่านจะอายุเท่าไหร่ เคยเป็นโรคหัวใจหรือกำลังเป็นโรคหัวใจก็ตาม
        .........ท่านอาจจะค่อยๆ เพิ่มความแรง (หรือความหนักเบา - Intensity) ของการออกกำลังกายขึ้นได้ และจะมีผลทำให้
         ..........อาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยจะน้อยลง
         .........ทนต่อการออกกำลังและกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น
        .........สามารถกลับไปมีชีวิตและมีกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ
        .........การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ จะดีขึ้น
        .........ในผู้สูงอายุ โอกาสที่จะล้ม มีอุบัติเหตุจะลดลง!!!!

        ยิ่งกว่านั้นในคนไข้สูงอายุ การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างกระดูก เป็นการป้องกันโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) อีกด้วย และ การออกกำลังกายที่ถูกวิธียังทำให้ความจำเป็นของคนไข้โรคหัวใจที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลด
น้อยลง

          ย้อนกลับมาที่คำถาม เรื่องการเดินทางของคนไข้โรคหัวใจนั้น ส่วนใหญ่แล้วถ้าคนไข้ไม่ได้เพิ่งมีปัญหาเฉียบพลันรุนแรงแล้ว ส่วนใหญ่ผมมักจะ สนับสนุนให้เดินทางไปไหนมาไหนได้เหมือนปกติ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูภาวะต่างด้วย คือ .......
         อาการคนไข้ขณะนั้น   ........ถ้าอาการคงที่ดี ก็น่าจะเดินทางได้ปลอดภัย
         ระยะทางที่เดินทาง      ........ถ้าต้องอยู่ในเครื่องบินนานๆ เรื่องยาต่างๆ ต้องเตรียมให้พร้อม
         สถานที่ที่จะไป            ........สอบถามผู้จัดทัวร์ไว้ล่วงหน้าด้วยว่าถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เขาจะช่วยได้อย่างไร!!!
         
         นอกจากนี้ผมใช้หลักที่ว่า ถ้าคนไข้อาการคงที่ดีภายใน 1 เดือน.... ก็ไม่น่าจะมีปัญหาระหว่างเดินทาง...... ถ้ามีอาการเหนื่อย  ผิดปกติระหว่างการเดินทาง ต้องอย่าฝืน ให้หยุดพักทักที ...... ครั้งนี้เที่ยวได้ไม่ครบไม่เป็นไร  โอกาสหน้ามาใหม่ได้!!! (ยกเว้นถ้าอยากไปเที่ยวสวรรค์)

          ระหว่างเดินทาง ......... อย่ารับประทานอาหารให้อิ่มเกินไป แต่ถ้าเกิดรีบและอิ่มมาก อย่าไปออกแรง รีบวิ่งตามคนอื่นๆ  ควรค่อยๆ เดิน และบอกไกด์ทัวร์ไว้ก่อน ยังไงเขาก็ต้องรอเรา
        

          ที่สำคัญ   ถ้าไปในที่ที่อากาศหนาวเย็น ต้องพยายามใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น  และต้องพักผ่อนให้เพียงพอ  ถ้าเช้าวันไหนทัวร์ปลุกให้ตื่นแต่เช้า  เราไม่ไหวจริงๆ ต้องขอพัก ....... เป็นหน้าที่ของทัวร์อีกเหมือนกันที่จะทิ้งเราไว้ไม่ได้  ถ้าจะให้ดีก็พยายามเลือกไปทัวร์ที่ลูกทัวร์อายุใกล้เคียงกัน กับเราจะดีที่สุดครับ


ขอขอบคุณ โรงพยาบาลพญาไท
แหล่งที่มา : phyathai.com


หัวใจติดปีก, หัวใจติดปีก หมายถึง, หัวใจติดปีก คือ, หัวใจติดปีก ความหมาย, หัวใจติดปีก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu