ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ), ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) หมายถึง, ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) คือ, ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) ความหมาย, ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ)

          ลักษณะโรค : เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีแหล่งรังโรคคือสัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู และหมัดของมัน โดยมีเชื้อสาเหตุคือ เชื้อแบคทีเรียชื่อ เยอร์ซิเนีย เพลติส(Yersinia pestis)  กาฬโรคสามารถติดต่อได้ทุกเพศและทุกอายุ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา จะมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 30-60

          พื้นที่ที่มีการระบาด : อาฟริกา สหภาพโซเวียต (ชื่อในอดีต) สหรัฐอเมริกา เอเชีย เช่น คาซัคสถาน จีน อินเดีย ลาว มองโกเลีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย  ส่วนในไทย มีรายงานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2447 และมีการระบาดเป็นระยะ  จนถึงพ.ศ. 2495 จากนั้นก็ไม่พบกาฬโรคในประเทศไทยอีก

          อาการและอาการแสดง : มักจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะและตามร่างกาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน  ซึ่งอาการต่อมาสามารถพบได้ 3 ลักษณะคือ . ชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ชนิดเชื้อในกระแสเลือด มักจะลุกลามจากชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการไข้สูง ความดันเลือดต่ำ ช็อก หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย เพ้อ หมดสติ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ เสียชีวิตภายใน 3-5 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง  และชนิดกาฬโรคปอด อาจเกิดตามหลังจาก 2 ชนิดแรก หรือติดเชื้อจากคนไอจามรดกัน มีอาการปอดบวม ไอเป็นน้ำ เสมหะไม่เหนียว ต่อมาจะมีเลือดปน อ่อนเพลีย มีไข้ หากไม่ได้รับการรักษา จะตายเร็วมากภายใน 1-3 วัน

          การแพร่โรค :  เกิดจากการที่คนถูกหมัดของสัตว์ฟันแทะเหล่านี้กัด ซึ่งอาจติดมากับสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่นสุนัข หรือแมว  บางรายอาจมีการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการหายใจเอาละอองฝอยเสมหะ น้ำมูกน้ำลาย ที่มีเชื้อจากผู้ที่เป็นโรค หรือจากหนู หรือจากหมัดหนู สูดเข้าไปเข้าสู่ร่างกาย

          ระยะฟักตัว : ประมาณ 1-7 วัน

          การวินิจฉัยโรค : โดยการย้อมเชื้อ เพาะเชื้อและตรวจทางน้ำเหลืองวิทยา จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย เช่น หนองฝีจากต่อมน้ำเหลือง เลือด เสมหะ ซึ่งศักยภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถตรวจได้

          การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ สเตรปโตไมซิน เป็นยาหลัก  เจนตามัยซิน เตตราซัยคลิน และคลอแรมฟินีคอล

 การป้องกันและควบคุมโรค

          1.ให้สุขศึกษากับประชาชนในพื้นที่มีโรคระบาดในสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกหมัดติดเชื้อกัด หลีกเลี่ยงการจับต้องสัมผัสกับหนอง หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยกาฬโรค มีการปรับปรุงสุขาภิบาล  กำจัดขยะ แนะนำให้สวมถุงมือหนังเวลจับต้องสัตว์ป่าหรือไปล่าสัตว์

          2.เฝ้าระวังและประเมินการเกิดโรคในสัตว์ เช่น สำรวจโรคในสัตว์จำพวกฟันแทะ

          3.กำจัดหนูและควบคุมหมัดหนูบนยานพาหนะต่างๆ  ท่าเรือ ในโรงเก็บสินค้าและบริเวณที่เกิดโรค

          4.มีวัคซีนป้องกันโรคแต่ประสิทธิผลในการป้องกันโรคยังไม่มาก 

          5.การแยกผู้ป่วย : ทำความสะอาดเสื้อผ้าผู้ป่วยและสัมภาระให้ปราศจากหมัดหนู โดยใช้ยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิผลในการกำจัดหมัดและปลอดภัยต่อมนุษย์ การแยกผู้ป่วยอย่างเข้มงวด ควรทำเฉพาะผู้ป่วยชนิดกาฬโรคปอด และป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อในอากาศ จนกระทั่งได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมไปแล้ว 48 ชั่วโมง  การเจาะดูดหนองฝีควรกระทำหลังให้ยาปฏิชีวนะแล้ว 48 ชั่วโมง

          6.การทำลายเชื้อ :  ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อในเสมหะ หนอง หรือเสื้อผ้าสิ่งของของผู้ป่วยที่ปนเปื้อน ทำความสะอาดห้องหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน การจับต้องศพและซากสัตว์ที่ตายจากกาฬโรค ต้องดำเนินการตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

          7.มาตรการกักกันผู้สัมผัสโรค ไม่มีประสิทธิผลในการควบคุมการระบาดและยังก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในวงกว้าง  อย่างไรก็ตาม ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรได้รับยาป้องกันและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

          8.การป้องกันโรคในผู้สัมผัส : ให้ยาเตตราซัยคลินหรือด๊อกซีซัยคลินหรือคลอแรมฟินิคอลในผู้สัมผัสใกล้ชิด ของผู้ป่วยกาฬโรคปอด  สำหรับยาเตตราซัยคลินหรือด๊อกซีซัยคลิน ห้ามให้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี

          9.การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค : ค้นหาผู้สัมผัสโรคใกล้ชิด ค้นหาหนูที่ปวยหรือตายและหมัด  ควบคุมหมัดและกำจัดหนู รังหนูและแหล่งอาหาร

ที่มา กรมควบคุมโรค


ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ), ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) หมายถึง, ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) คือ, ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) ความหมาย, ความรู้เรื่องกาฬโรค (ฉบับย่อ) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu