ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า
ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า หมายถึง, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า คือ, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า ความหมาย, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า คืออะไร
ตั้งแต่อียิปต์
เมื่อโมเซ (อายุ 80 ปี )ได้รับพระบัญชาจากพระยะโฮวาว่า "จงไปเข้าเฝ้ากษัตริยืฟาโรห์แห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นมหาอำนาจปกครองโลกสมัยนั้น ( ประมาณช่วงปี 1513 ก่อน ส.ศ.) เพื่อทูลต่อกษัตริย์ว่า ให้ปล่อยชาวยิศราเอลซึ่งเป็นทาสของอียิปต์มานานหลายร้อยปีแล้ว ไปเป็นอิสระเพื่อจะได้ปฎิบัติพระยะโฮวา เพื่อพระยะโฮวาจะปฎิบัติตามคำทรงสัญญาที่ให้ไว้แก่อับราฮาม,ยิศฮาค,และยาโคป บรรพบุรุษของพวกเขา ว่าจะนำพวกเขาไปสู่แผ่นดินอันอุดม (คะนาอัน / แถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปัจจุบัน) ซึ่งจะประทานให้.แต่เมื่อฟาโรห์ได้ฟังคำขอของโมเซตามที่พระยะโฮวาบัญชามานั้น.ฟาโรห์จึงกล่าวต่อโมเซว่า "พระยะโฮวานั้นเป็นผู้ใดเล่า ที่เราจะต้องฟังคำของท่าน เราไม่รู้จักพระยะโฮวา และยิ่งกว่านั้น เราจะไม่ปล่อยชาวยิศราเอลให้ไปเลย"- เอ็กโซโด 5:2 โดยการท้าทายพระยะโฮวาเช่นนั้น ฟาโรห์ได้นำอียิปต์ประสบความหายนะอย่างใหญ่หลวง เมื่อพระยะโฮวาทรงสำแดงฤทธิ์เดชของพระองค์โดยนำภัยพิบัติ 10 ประการลงเหนืออียิปต์ ประการแรกคือ ทำให้แม่น้ำทั้งหลายของแผ่นดินอียิปต์กลายเป็นเลือด สิ่งมีชีวิตทั้งปวงตายหมดส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วแผ่นดิน.จนก่อนจะถึงภัยพิบัติที่เจ็ด -พายุลูกเห็บ พระยะโฮวาตรัสว่า "น่าที่เราจะได้ยกหัตถ์ขึ้นประหารฟาโรห์และพลไพร่ด้วยโรคภัยให้ตายไปจากโลกเสียนานแล้ว;แต่เหตุที่เรายังให้ฟาโรห์มีชีวิตอยู่ก็เพื่อจะให้ฟาโรห์ได้เห็นฤทธานุภาพของเรา
"เพื่อนามของเราจะได้ลือกระฉ่อนไปทั่วโลก"
-เอ็กโซโด 9:15,16 กระนั้นแม้แต่ที่ฟาโรห์ได้ประสบกับภัยพิบัติที่ 10 คือการประหารชีวิตบุตรหัวปีของกษัตริย์และชาวอียิปต์ทุกครอบครัวแล้ว .ใจของฟาโรห์ก็ยังคงแข็งกระด้างมุมานะที่จะเอาชนะการสงครามกับพระยะโฮวา เขาได้นำกองทัพพร้อมรถรบ ไล่ตามชาวยิศราเอลที่จำใจต้องปล่อยไปแล้ว จนเกือบทันที่ทะเลแดง -เอ็กโซโด บท 14 ที่ข้อ 21-30 อ่านว่า.. "โมเซได้ยื่นมือออกไปเหนือทะเลและพระยะโฮวาก้ได้ทรงบันดาลให้มีลมกล้าพัดมาแต่ทิศตะวันออกตลอดคืนวันนั้น.ให้น้ำทะเลไหลกลับและดินก็แห้งไป น้ำก็แยกออกจากกัน ชนยิศราเอลก็พากันเดินไปตามช่องดินแห้งในท้องทะเลนั้น และน้ำได้ตั้งขึ้นเป็นเหมือนกำแพงสำหรับเขาทั้งข้างขวาและข้างซ้าย" ชาวอายฆุบโตก็ได้ไล่ตามไปท่ามกลางทะเล;คือกองม้าและราชรถและพลม้าทั้งปวงของกษัตริย์ฟาโรห์ . อยู่มาในเวลาย่ำรุ่งพระยะโฮวาได้ทอดพระเนตรทะลุเสาไฟและเสาเมฆ,ทรงเ็ห็นพลโยธาของชาวอายฆุบโต ก็ทรงบันดาลให้กองทัพนั้นเกิดการโกลาหลขึ้น ได้ทำให้ล้อรถนั้นฝืดโคลนจนแล่นไม่ได้ ชาวอายฆุบโตจึงพูดกันว่า "ให้เราหนีไปจากชาวยิศราเอลเถิด;ด้วยว่าพระยะโฮวาได้ทรงช่วยเขาต่อสู้เรา" ขณะนั้นพระยะโฮวาได้ตรัสแก่โมเซว่า "จงยื่นมือออกเหนือทะเล ให้น้ำทะเลไหลกลับท่วมชาวอายฆุบโตทั้งพลรถและพลม้าของเขา.โมเซจึงยื่นมือออกไปเหนือทะเล;ครั้นรุ่งเช้าทะเลก็ไหลกลับเชี่ยวดังเก่า ...น้ำนั้นก็กลับท่วมพวกพลรถพลม้าของกษัตริย์ คือพลโยธาทั้งหมดที่ได้ติดตามลงไปในทะเลมิได้เหลือสักคนเดียว" ในวันนั้นพระยะโฮวาได้ทรงโปรดช่วยพวกยิศราเอลให้รอดจากเงื้อมมือของชาวอายฆุบโต"
ชาวยิศราเอลเป็นอิสระ และตั้งต้นการเดินทางสู่แผ่นดินแห่งคำสัญญาโดยการจัดระเบียบตามพระบัญญัติทีี่พระเจ้าประทานให้้้ มีการปกครองโดยปุโรหิต,ผู้พิพากษา. พวกเขาต้องสู้รบกับศัตรูอยู่นานกว่าจะถึงแผ่นดินนั้น.
อัสซีเรียต้องยกกลับ
เกือบสี่ร้อยปี หลังจากเข้าในแผ่นดินแห่งคำสัญญา พวกเขาได้รับอนุญาตให้มีการปกครองโดยกษัตริย์ /ซาอูล ได้เป็นกษัตริย์องค์แรก ต่อมาก็ดาวิด,ซะโลโม .
พระยะโฮวายังทรงนำชาติยิิศราเอลผ่านทางผู้ปกครองอีกหลายคน อย่างไรก็ดี ผู้ปกครองบางคนมิได้ปฎิบัติพระยะโฮวา ภายหลังการสิ้นชีวิตของกษัตริย์ซะโลโม ชาติยิศราเอลได้แบ่งออกเป้น 2 อาณาจักร คือทางเหนือปกครองด้วย 10 ตระกูล,และทางใต้ปกครองด้วย 2 ตระกูล ซึ่งทั้ง 2 อาณาจักรก็ต้องถูกมหาอำนาจอัสซีเรียโจมตี ราวปี 740 ก่อนส.ศ.ได้พิชิต อาณาจักร 10 ตระกูลทางเหนือ และจากนั้นก็ยกมาพิชิต 2 ตระกูล (ยูดา) ทางใต้ -ราวปี 732 ก่อนส.ศ.- 2 พงศ์กษัตริย์ บท 19 ซันเฮริบ-กษัตริย์อัสซีเรียไ้ด้ส่งจดหมายถึงกษัตริย์ฮีศคียากษัตริย์ยูดา (กษัตริย์ที่ดี) โดยใจความในจดหมายนั้นเย้ยหยันต่อพระยะโฮวา และสั่งให้ฮีศคียายอมจำนน.แต่ฮีศคียา ได้อ้อนวอนขอความช่วยเหลือต่อพระยะโฮวา และพระยะโฮวาสดับฟัง หลังจากจบคำอธิษฐาน ยะซายา ผู้พยากรณ์ของพระยะโฮวาก็มาส่งข่าวแก่ท่านว่า "กษัตริย์อัสซีเรีย จะไม่มีโอกาสได้เข้ามาถึงกรุงเยรูซาเลม ทหารของเขาจะไม่มีสักคนเดียวเข้ามาใกล้กรุงได้,เขาจะไม่ยิงนครนี้ด้วยธนูแม้แต่ดอกเดียว.ข้อ 35 "คืนวันนั้น ฑูตของพระยะโฮวาก็ออกไปตีค่ายของชาวอะซูเรีย;ได้ประหารชีวิตทหารตายถึง 185000 คน.ครั้งรุ่งเช้า เมื่อเขาลุกขึ้น ก็เห็นคนทั้งหลายเป็นแต่ซากศพ."
บาบิโลนต้องล่มสลาย
หลายปีผ่านไป จนยะโฮยาคิมกษัตริย์ที่ไม่ดีปกครอง เขาไม่ได้เชื่อฟังและปฏิบัติพระยะโฮวา ผู้พยากรณ์ยิระมายา ได้ส่งข่าวจากพระเจ้า ว่าประชาชนต้องกลับใจแล้วปฏิบัติพระยะโฮวา หาไม่พวกเขาจะถูกลงโทษ แต่พวกเขาก็ไม่ได้หันมานมัสการพระยะโฮวา ดังนั้น ในปี 607 ก่อน ส.ศ. กองทัพของบาบิโลน โดยการนำของกษัตริย์นะบูคัธเนซัร ก็พิชิตเยรูซาเลม เป็นการยุติการปกครองโดยการชี้นำจากพระเจ้า พวกเขาถูกกวาดไปเป็นเชลยอยู่ในบาบิโลนนานถึง 70 ปี. อย่างไรก็ดี พระยะโฮวาก็ยังระลึกถึงพวกเขา และได้ทำตามที่สัญญาว่าเขาจะได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นเชลย.โดยการทำลายบาบิโลน เรื่องราวที่ ดานิเอล บท 5 บอกว่า"ราชาเบละซาซัร ได้ทรงจัดการเลี้ยงใหญ่่สำหรับเจ้านายพันคน แล้วก็ได้เสวยน้ำจันท์ต่อหน้าเจ้านายพันคนนั้น.และเมื่อเขามึนเมาแล้วจึงมีรับสั่งให้เอาภาชนะทองคำที่ใช้สำหรับพระวิหารเพื่อนมัสการพระยะโฮวาในกรุงเยรูซาเลม ที่ราชานะบูคัธเนซัร-บิดา ได้กวาดเอามานั้น แล้วกษัตริย์กับเจ้านาย,พระสนม,และนางห้ามได้ใส่เหล้าดื่ม พลางก็สรรเสริญเหล่าพระที่เป็นทองคำ,ไม้,หิน,และเหล็กของพวกเขา. ช้อ 5 อ่านว่า "ในทันใดนั้น ก็มีนิ้วมือคนปรากฎออกมาเขียนที่ฝาผนังตรงดวงประทีปในราชวัง แล้วกษัตริย์ได้ทอดพระเนตรเห็นนิ้วมือซึ่งเขียนนั้น แล้วพักตร์อันชื่นบานของเขาก็สลดลง พระทัยก็ตลึงพรึงเพริด พระชงค์ก็อ่อนลง พระชานุก็กะทบกัน.กษัตริย์จึงรับสั่งให้พาพวกหมอดูและพวกทำเล่ห์กลของเขามาเฝ้า แล้วกษัตริย์ตรัสสั่งแก่ปวงปราชญ์แห่งบาบิโลนว่า "ใครที่อ่านอักษรนั้นออก และแปลความได้ จะได้รับทูลบำเหน็จ ไม่มีใครแปลความหมายอักษรที่ผนังได้.ช้อ 9 บอกว่า "แล้วราชาเบละซาซัร ก็มีพระทัยทุรนทุรายมาก พระพักตรก็สลดไป และพวกเจ้านายก็พากันสนเท่ห์. แล้วจึงมีรับสั่งให้ดานิเอล-ผู้พยากรณืแห่งพระยะโฮวา เข้าเฝ้า ข้อ 17 บอกว่า"ฝ่ายดานิเอลจึงกราบทูลกษัตริย์นั้นว่า,"ขอได้ทรงเก็บของประทานนั้นไว้สำหรับพระองค์และประทานบำเหน็จนั้นแก่่ผู้อื่นเถิด;ฝ่ายข้าพเจ้าจะอ่านอักษรนี้ถวายพระราชา และแปลความหมายตามอักษรให้ ข้อ 25 "อักษรที่เห็นนั้นอ่านว่าดังนี้,มะนา,ธะเคล,อูฟาระซีน. คำแปลนั้นคือ มะเน แปลว่า พระเจ้าได้นับวันของฝ่าพระบาทไว้ และวันครบกำหนดก็มาถึงแล้ว;ธะเคล แปลว่า ฝ่าบาทได้ถูกชั่งในตราชูและปรากฎว่าหย่อนอยู่;อูฟาระซีน แปลว่า แผ่นดินของฝ่าพระบาทจะถูกแบ่งแยกปันกันระหว่างชาวมาดาย (มิโด) และชาวฟารัศ (เปอร์เซีย)"
ข้อ 30 "ในกลางคืนวันนั้น ราชาเบละซาซัรกษัตริย์ของชาวบาบิโลนก็ถูกสำเร็จโทษ ข้อ 31 "แล้วราชาดาระยาศชาวมาดาย (มิโด-เปอร์เซีย) ได้ขึ้นเสวยราชย์ในแผ่นดินนั้นมีพระชนฆ์ไ้ด้ หกสิบสองพรรษา.-เป็นปีที่ 539 ก่อน ส.ศ.# , *
หมายเหตุ.-# นานเกือบ สองศตวรรตที่จักรวรรตมิโด-เปอร์เซีย ได้ครอบครองอย่างเกรียงไกร ตามตำพยากรณ์ของดานิเอล.
และก็ถูกพิชิต โดยอะเลคซานเดอร์ ราชาแห่งกรีก ราวปี 334 ก่อน ส.ศ. แต่ ณ.จุดสุดยอดแห่งชัยชนะของเขา อะเลคซานเดอร์ ก็ต้องจบชีวิตลง ขณะที่มีอายุได้ 32 ปี. จากนั้นอาณาจักรกรีกก็ถูกแบ่งแยก.และสิ้นสุดลงเมื่อโรมได้ยึดเอาอาณาจักรกรีกทั้งหมด ราวปีที่ 30 ก่อน ส.ศ.
* ชาวยิศราเอลต้องรออยู่นานกว่า 480 ปี ตั้งแต่เป็นอิสระจากบาบิโลน จนกว่าพระยะโฮวาจะโปรดพวกเขาในเรื่องพงศ์พันธุ์แห่งคำสัญญา ที่จะเป็นพระมาซีฮา-อันได้แก่พระเยซูคริสต์ ที่ี่จะเสด็จมา ซึ่งตกในปีที่ 29 ส.ศ.และเมื่อพระเยซูมา พระองค์ทรงประกาศแก่ชาวยิศราเอลและคนต่างชาติ ถึงการจัดเตรียมใหม่ ในการเป็นประชาชนของพระองค์.ครั้นปี 70 ส.ศ. ระบบของยิศราเอลโดยพระยะโฮวาก็สิ้นสุดลง . เมื่อกองทัพโรมันเข้าทำลายเยรูซาเลม.-นั่นคือประวัติศาสตร์ของชาติยิศราเอลโบราณตลอดช่วง เวลาเกือบ 1600 ปี.
ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า หมายถึง, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า คือ, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า ความหมาย, ชาติอิสราเอลกับพระยะโฮวาพระเจ้า คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!