ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม หมายถึง, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม คือ, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม ความหมาย, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม

          วรรณกรรมที่เป็นของราชสำนักและของประชาชนมักจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการศึกษาของมูลนายหรือชนชั้นสูงจะผูกพันกับตำรับตำราที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมักจะเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น บาลี เขมร หรือสันสกฤตแต่ในส่วนของประชาชนทั่วไป การศึกษาจะผูกพันอยู่กับนิทาน นิยาย ตำนาน เรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาด้วยปากเปล่าโดยไม่มีการจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนรับรู้และนับถือศาสนาตามคำเทศนาของพระภิกษุและตามความเชื่อที่ได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดกันมาหลายชั่วคน ในขณะที่การรับรู้อดีตในหมู่ของชนชั้นมูลนายจะอยู่ในรูปของพระราชพงศาวดาร ศิลาจารึก แต่การรับรู้อดีตของไพร่ฟ้าประชาชนจะเป็นในรูปของตำนานนิทานต่างๆ เป็นต้น

         จากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน จึงทำให้วรรณกรรมราชสำนักแตกต่างจากวรรณกรรมของชาวบ้าน เนื่องจากวรรณกรรมราชสำนักเป็นวรรณกรรมที่เกิดในเมือง โดยเฉพาะเมืองหลวงซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นเนื้อหาจึงมักแวดล้อมด้วยเรื่องของกษัติรย์หรือเทพเจ้าที่สัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับกษัตริย์ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์หรือมีหน้าที่ทางศาสนา เช่น โองการแช่งน้ำ หรือกาพย์มหาชาติ แต่เมื่อศึกษาพัฒนาการของฉันทลักษณ์แล้วจะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับกลอนหรือคำขับที่เป็นพื้นฐานของการขับลำนำเพลงหรือการเล่านิทานนิยายของชาวบ้านสามัญชน

          ลักษณะของถ้อยคำที่เป็นคำคล้องจองจะพบในคำพูดในชีวิตประจำวันของประชาชนที่พูดออกมาโดยไม่รู้สึกตัว เช่น คำประเภท "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" ซึ่งเป็นคำคล้องจองที่ค่อนข้างเก่าแก่ที่สุด ที่มีหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จที่ตราขึ้นก่อน  การสถาปนากรุงศรีอยุธยาก็มีคำคล้องจอง เช่น ตัดตีนสิ้นมือ ยื้อยักผลักไส เป็นต้น

          คำคล้องจองเหล่านี้บางคำก็ยาวกว่านี้มาก เช่น อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น ในสมัยโบราณเรียกวลีคล้องจองเหล่านี้รวมๆ ว่า "กลอน" ถ้าเป็นวลีคล้อยจองร้อยต่อกันไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า "กลอนร่าย" และเรียกวิธีส่งสัมผัสระหว่างวรรคนั้นว่า "สัมผัสกลอนร่าย" คำประพันธ์อย่างนี้มีเรียกแตกต่างกันไป  เช่น ทางภาคอีสานเรียกว่า "เซิ้ง" เป็นต้น

          ลักษณะคำคล้องจองในชีวิตประจำวันเช่นนี้ภายหลังจึงได้พัฒนาการขึ้นเป็นร่าย เป็นกาพย์เป็นกลอนเพลง และคำประพันธ์อื่นๆ ที่กวีได้พัฒนาขึ้นมาจนกระทั่งเป็นกลอนบทละครและกลอนแปดหรือกลอนสุภาพอย่างกลอนสุนทรภู่และในขณะที่กลอนร่ายมีพัฒนาการเข้าไปในราชสำนัก แต่ลักษณะของกลอนเพลงยังเป็นที่นิยมอยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยมีพัฒนาการอยู่ใน เพลงพื้นบ้านพื้นเมืองทั้งหลาย เช่น เพลงปรบไก่เพลงเทพทอง เพลงโคราช ฯลฯ 

          การเล่นเพลงหรือการขับลำนำของชาวบ้านนั้น แรกทีเดียวคงเป็นการโต้ตอบกันระหว่างหญิงชาย มิได้จับเรื่อง เพียงแต่ร้องแก้กันไปมาทำนองเกี้ยวพาราสี ต่อมาก็มีพัฒนาการอย่างง่ายๆ เล่นเป็นชุด เช่น ขับลำโต้ตอบ ชุดชิงชู้ ลักหาพาหนีและตีหมากผัว เป็นต้น ลักษณะของการเล่นเรียกว่า "ละคร" คงเกิดขึ้นจากการผสมผสานกันระหว่างการขับลำกับการเล่านิทาน และเมื่อการเล่นในลักษณะนี้แพร่หลายแล้ว ราชสำนักก็รับรูปแบบไปพัฒนาขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมที่รับมาจากต่างชาติ จึงเกิดมีละครในราชสำนักขึ้นมาแล้วเรียกให้ต่างกันภายหลังว่า "ละครใน" เรียกละครที่ชาวบ้านเล่นว่า "ละครนอก" ซึ่งมีเนื้อหามาจากนิทานพื้นบ้านหรือชาดกท้องถิ่นอย่างเป็นปัญญาสชาดก หรือผูกเรื่องขึ้นเอง เช่น  สังข์ทอง คาวี พระรถเมรี

          จะเห็นได้ว่าความแตกต่างของวรรณกรรมราชสำนักและของชาวบ้าน มิใช่เป็นการแบ่งแยกแตกต่างที่ขาดความสัมพันธ์กัน บางส่วนของวัฒนธรรมราชสำนักก็แพร่กระจายไปสู่ชาวบ้าน เช่นชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ที่จะอ่านวรรณกรรมลายลักษณ์ของราชสำนักได้ ก็สามารถซึมซับเรื่องราว ต่างๆ ของชนชั้นมูลนายได้จากการฟัง การเทศน์มหาชาติ การแหล่ที่แทรกเรื่องชาดกของพระภิกษุได้ เรื่องราวชาดกก็ได้รับการดัดแปลงกลายเป็นนิทานพื้นบ้านหรือการแสดงของชาวบ้านต่อไป

          ในขณะเดียวกันบางส่วนของวรรณกรรมชาวบ้านแต่มูลนายนำไปดัดแปลง เช่น นิทานบางเรื่องในปัญญาสชาดก ก็เคยเป็นนิทานพื้นเมืองของประชาชนมาก่อนที่ชนชั้นมูลนายจะนำไปแต่งเป็นเรื่องราวสำหรับแสดงหนังใหญ่ เช่นเรื่องสมุทรโฆษ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของการหยิบยืมรับส่งอิทธิพลระหว่างประเพณีราษฎร์และประเพณีหลวง ดังจะเห็นอิทธิพลได้จากทั้งในด้านเนื้อหาและฉันทลักษณ์เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนที่รู้จักกันดีก็มีกำเนิดในวรรณกรรมของประชาชนมาก่อน และได้รับการเอาใจใส่จากราชสำนักถึงกับรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์เสภาเอง ทั้งโปรดฯ ให้กวีราชสำนักแต่งเสภาขึ้นหลายตอน ประเพณีการขับเสภาที่ชาวบ้านใช้กรับเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพียงอย่างเดียว ก็ได้รับการพัฒนาจากราชสำนักให้มีปี่พาทย์เข้ามาเล่นประกอบ ดังที่เห็นเล่นกันอยู่ในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม หมายถึง, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม คือ, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม ความหมาย, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านวรรณกรรม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 18

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu