ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว หมายถึง, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว คือ, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว ความหมาย, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว

          กุ้งกุลาดำเคยเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่าส่งออกปีละไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท     แต่เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดในกุ้งกุลาดำครั้งใหญ่ จากไวรัสชนิดก่อโรครุนแรง คือ ไวรัสหัวเหลือง     และไวรัสตัวแดงดวงขาว เมื่อปี 2538 และต่อมาในปี 2544  เริ่มประสบปัญหากุ้งกุลาดำโตช้า ผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าวเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงเปลี่ยนไปเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้น เนื่องจากเลี้ยงง่าย    ได้ผลผลิตที่สูงกว่า  โดยในปี 2548 มีการเลี้ยงถึง 340,000 ตัน และมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพียง 32,000 ตัน

          กุ้งขาวไม่ใช่กุ้งพื้นเมืองของประเทศไทย จึงต้องนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศ ที่ต้องผ่านการตรวจโรคก่อนการนำเข้า อย่างไรก็ตาม การขยายตัวการเลี้ยงกุ้งขาวมีอัตราสูงมาก ทำให้มีการลักลอบนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ กุ้งขาว จากประเทศที่เคยมีการระบาดของไวรัสทอร่า-  ซินโดรม เข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการระบาดในการเลี้ยงกุ้งขาว สร้างความเสียหายต่อระบบการเลี้ยงอย่างมาก

          นอกจากเกิดการระบาดในกุ้งขาวด้วยกันเอง และทำให้กุ้งขาวตายแล้ว ยังมีการตรวจพบไวรัสทอร่าในกุ้งกุลาดำ และในกุ้งก้ามกราม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมีการเลี้ยงร่วมกัน รวมทั้งเกษตรกรมักโยนกุ้งขาวที่ตายให้กุ้งก้ามกรามกิน แม้ว่ากุ้งกุลาดำที่ติดไวรัสทอร่าไม่เป็นโรค แต่เนื่องจากสารพันธุกรรมของไวรัสทอร่าเกิดความผันแปรได้อย่างรวดเร็ว โดยตรวจพบการกลายพันธุ์ของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว จึงอาจเป็นไปได้ที่การกลายพันธุ์ดังกล่าว จะนำไปสู่การก่อโรคในกุ้งกุลาดำ และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในอนาคต



การศึกษาพาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว

          การศึกษาการแพร่กระจายของไวรัสทอร่าสู่สัตว์น้ำอื่น ๆ โดยการศึกษาพาหะนำโรคนำไปสู่การป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยป้องกันไม่ให้สัตว์ที่เป็นพาหะอาศัยอยู่ในระบบการเลี้ยง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย  นักวิจัยไบโอเทค จากหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาพาหะของไวรัสทอร่าซินโดรม โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ โดยมีการเก็บตัวอย่างสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่พบในบริเวณฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวที่พบการติดเชื้อไวรัสทอร่า ในจังหวัดราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี และจันทบุรี  สัตว์ที่เก็บเป็นต้นว่า กุ้งฝอย ปูแสม ปูก้ามดาบ เพรียง แมลงปอ และปลาหมึก

          ผลการตรวจ พบไวรัสทอร่าในกุ้งฝอย และปูแสม  และเพื่อทดสอบว่า ไวรัสทอร่าสามารถถ่ายทอดจากกุ้งขาวไปยังสัตว์ดังกล่าวได้จริง จึงทำการเลี้ยง กุ้งฝอย ปูแสม และสัตว์ชนิดอื่น เช่น ปูก้ามดาบ ที่ปลอดเชื้อร่วมกับกุ้งขาวที่ติดเชื้อ ซึ่งหลังจากการเลี้ยงไปเป็นเวลาประมาณ 3 วัน สามารถตรวจพบไวรัสในกุ้งฝอย ปูแสม และปูก้ามดาบ   ซึ่งการถ่ายทอดเชื้อเกิดจากการอยู่ร่วมกัน และเกิดจากการกินเนื้อกุ้งขาวที่ตายระหว่างการเลี้ยง  นอกจากนั้น เมื่อนำกุ้งฝอยที่ติดเชื้อไปเลี้ยงร่วมกับกุ้งขาวที่ปลอดเชื้อ สามารถพบการติดเชื้อในกุ้งขาวเช่นกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ไวรัสทอร่า สามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์น้ำหลายชนิด  ซึ่งอาจทำให้สัตว์น้ำเหล่านั้นเป็นหรือไม่เป็นโรค โดยสัตว์ที่ติดเชื้อสามารถเป็นพาหะ แพร่ไวรัสกลับไปยังกุ้งขาว  ทำให้กุ้งขาวติดเชื้อและตายได้



คำแนะนำสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาว

          1.  ในการใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาว ควรมีการตรวจสอบว่า พ่อแม่พันธุ์ปลอดจากโรคทอร่าหรือไม่ หรือมีการสุ่มตรวจลูกกุ้งเพื่อลดความเสี่ยง

          2.  ควรกำจัดพาหะ เช่น กุ้งฝอย ปูแสม ปูก้ามดาบ ออกไปจากระบบการเลี้ยง และมีการป้องกัน และเฝ้าระวังไม่ให้หลุดรอดเข้ามาในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว

          3.  หลีกเลี่ยงการเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการติดโรคไวรัสทอร่า และไม่ใช้กุ้งขาวที่ตายจากการติดเชื้อทอร่าไปเลี้ยงกุ้งอื่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)


พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว หมายถึง, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว คือ, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว ความหมาย, พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu