ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง หมายถึง, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง คือ, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง ความหมาย, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง

เซียนปรากฏกายโดยไร้รูปร่างเคลื่อนไหวโดยปราศจากท่วงท่า
ไปมา ไร้ร่องรอย นี่จึงเป็นยอดฝีมือ


ท่านหยางลู่ฉาน ว่างเปล่า อ่อนหยุ่นใช้ออกร้อยเปลี่ยนแปลง มั่นคงเปลี่ยนแปลงในเปลี่ยนแปลง
พัฒนาจิตถึงขั้นสุดยอF  บุตรคนรองของท่าน หยางปันโหว
เย็นชา ใช้พลังรุนแรงหลากหลาย
กระนั้นยังไม่เป็นที่พอใจของท่านหยางลู่ฉาน

ท่านหยางลู่ฉานกล่าวว่า
นั่นไม่ใช่วิถีทาง ที่ "คนจริง" ควรประพฤติ
มีแต่พลัง หากปราศจากพื้นฐานจิตใจย่อมใช้ไม่ได้

มวยไทจี๋ ไม่ใช่แต่เพียงเคร่งครัดฝึกฝน
หากยังต้องรู้จักใช้ความคิด
เปรียบเทียบกับทฤษฏี ในที่สุดจึง
พัฒนาการหยั่งรู้
หยั่งรู้ทั้งภายใน และภายนอก

ไทจี๋ต้องให้ความสำคัญ
ในการเก็บพลัง พัฒนาพลัง
และความเปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนแปลงในเปลี่ยนแปลง อี้และเสิน

ชื่ออจ.เถียนเจ้าหลิน อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนักในเมืองไทย
แต่หากจะกล่าวถึงศิษย์รุ่นลายคราม
ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม และได้รับความรู้
เทคนิค กระบวนการฝึก ชุดมวยแบบต่างๆ
จากตระกูลหยางหลายรุ่น และครบถ้วนมากที่สุด
คงมีศิษย์ที่ไม่ใช่แซ่หยางน้อยคนนัก จะเปรียบกับ
อจ.เถียนเจ้าหลินได้

ครั้งเยาว์วัย


บิดาของอจ.เถียนเจ้าหลิน(1891-1960)
เสียไปตั้งแต่ยังเล็ก ขณะอจ.เถียนอายุเพียง8ขวบ
ท่านต้องช่วยแม่ และน้องสาวทั้งสองคน
ขายผลไม้ประทังชีวิต

วันหนึ่งระหว่างที่ อจ.หยางเจี้ยนโหวเดินไปสอนมวยในวัง
ท่านผ่านมาเห็น อจ.เถียน และเกิดความเมตตาจึงรับอจ.เถียนไว้เป็นศิษย์ นอกจากนั้น ยังช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนของอ.จ.เถียนอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่อายุ 13 ขวบ
อจ.เถียนจึงได้เรียนไทจี๋จากอจ.หยางเจี้ยนโหว
รวมทั้งลูกๆของท่าน คือท่านหยางเส้าโหว
และท่านหยางเฉินฝู่ ต่อเนื่องเรื่อยมาตามลำดับ


อจ.เถียนเจ้าหลินอาศัยอยู่กับ ตระกูลหยาง
ฝึกด้วยกัน กินด้วยกัน นอนด้วยกันตลอดเวลา
ท่านจึงเป็นเหมือนสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวตระกูลหยาง
หลังจากที่ท่านทำงานบ้านเสร็จ
ท่านก็จะรีบมาฝึกกับท่านหยางเส้าโหว ท่านหยางเฉินฝู่
ภายใต้การดูแลของอจ.หยางเจี้ยนโหวเสมอ

หกเดือนแรก อจ.เถียนฝึกแต่พื้นฐาน
อย่างจั้นจวงเพียงอย่างเดียว
ในระหว่างที่ฝึกจั้นจวงอยู่นั้น
หากมีใครขยับแม้เพียงเล็กน้อย
อจ.หยางเจี้ยนโหว จะตรงเข้ามาหวด ด้วยกล้องยาด้ามยาวของท่านในทันที

จากนั้นท่านหยางเจี้ยนโหว จึงเริ่มสอนพลังอ่อนหยุ่น
พลังเกาะติด ที่ท่านได้รับสืบทอดมาจาก ท่านหยางลู่ฉาน บิดาของท่านให้

อจ.เถียน เป็นมิตรผู้ซื่อสัตย์ของท่านหยางเส้าโหว
ท่านจะคอยรับใช้ และเข้าคู่กับท่านหยางเส้าโหวเวลาฝึกอยู่เสมอ ขณะที่คนอื่นจะคอยเลี่ยง
เพราะ อจ.เถียนเรียนรู้ที่จะรองรับ พลังอันหลากหลาย
รวมทั้งอารมณ์ของท่านหยางเส้าโหวได้

ในช่วงปีแรกๆ นอกจากการเรียน
และการฝึกในบ้านตระกูลหยางแล้ว
อจ.เถียนยังมีหน้าที่ถือกระบี่ของอจ.หยางเจี้ยนโหว
ติดตามท่าน เวลาท่านไปสอนมวยในวัง หรือ ในบ้านคหบดีต่างๆ

หลังจากฝึกมวยทุกวันเป็นเวลาได้ 7ปี
ในปี 1911 อจ.หยางเจี้ยนโหว สั่งให้อจ.เถียน
เข้าร่วมการประลองสาธารณะ
ในฐานะตัวแทนของตระกูลหยาง

อจ.เถียนตกใจมาก รีบไปของร้อง และอธิบายกับ
อจ.หยางเจี้ยนโหวว่า ท่านยังฝึกมาไม่พอ กลัวว่าจะทำให้ตระกูลเสื่อมเสียเกียรติ

อจ.หยางเจี้ยนโหว กล่าวกับ อจ.เถียนว่า
"ข้าคงไม่ออกคำสั่งให้เจ้าไปประลอง
ถ้าไม่เชื่อว่าเจ้ามีดีพอ"

อจ.เถียนจึงทำตามคำแนะนำของอจ. เข้าร่วมการประลอง
แล้ว ท่านก็ชนะกลับมา

หลังจากการแข่งขัน อจ.หยางเจี้ยนโหว จึงให้
อจ.เถียน คอยเป็นผู้ติดตาม
อจ.หยางเส้าโหวลูกชายของท่าน

ชาวเมืองหลวงในเวลานั้น จะพบท่านหยางเส้าโหว
และ อจ.เถียน ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ
โดยเฉพาะในงานสาธิต ศิลปะการต่อสู้ต่างๆ
อจ.เถียน จึงเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาตั้งแต่นั้น

ออกสู่ยุทธจักร

หลังจากที่อจ.หยางเจี้ยนโหวเสียไปในปี 1917
อจ.เถียน จึงเริ่มเรียนเพิ่มเติมกับท่านหยางเส้าโหว
เป็นที่รู้กันว่า อจ.หยางเส้าโหว นั้นเชี่ยวชาญ เทคนิคที่เรียกว่า "กวนอิม พันมือ"
ซึ่งอจ.เถียนก็ได้รับถ่ายทอดมาด้วย



ในปี 1921 อจ.เถียนติดตาม อจ.หยางเส้าโหวไปยังหังโจว
คนลากรถ ได้ยินสำเนียงชาวเหนือของอจ.เถียน
รู้ว่าท่านมาจากต่างถิ่น เลยโก่งราคาเป็นสองเท่า
อจ.เถียนไม่พอใจมาก และไม่ยอมจ่าย

เจ้าคนลากรถ เลยเรียกพวกคนลากรถมานับสิบคน
มาล้อมอจ.เถียนไว้แล้วรุมทำร้าย
แต่ชั่วพริบตา ทั้งหมดก็ถูกอจ.เถียนทุ่มไปกองกับพื้น

อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่อจ.เถียน จิบน้ำชาอยู่ในร้านน้ำชาริมทะเลสาบ มีนายทหารสองคนเข้ามาในร้าน และออกคำสั่งให้อจ.เถียนยกที่นั่งให้พวกเขา
อจ.เถียนไม่ยินยอม นายทหารบันดาลโทสะ ตีใส่อจ.เถียน
แต่กลับเป็นตัวนายทหารเอง ที่กระเด็นกลับไป
นายทหารคนนั้นจึงสั่งให้ ทหารที่ดติดตามมาสิบคนรุมอจ.เถียน และอีกครั้ง ที่อจ.เถียนโยนพวกนั้นออกไปจากร้าน
อย่างง่ายดายทีละคน
วันหนึ่ง อจ.เถียน กับอจ.หยางเส่าโหว
ได้รับเชิญไปสาธิตมวยด้วยกัน
ในงานนั้น มีนักมวยฝรั่ง มาร่วมสาธิตด้วย
หลังจากที่ นักมวยต่างชาติคนนั้นสาธิตจบ
เขาได้รับเสียงปรบมือน้อยมาก

อจ.เถียนขึ้นสาธิตเป็นคนต่อมา ท่านแสดงเทคนิคบางอย่างของมวยไทจี๋ ผู้ชมต่างปรบมือกันเกรียวกราว
ทำให้นักมวยฝรั่งคนนั้นไม่พอใจมาก

เขาเข้าไปหลังเวที และตวาดถามเอากับ ผู้บรรยายในงานว่า ทำไม การสาธิตมวยตะวันตกของเขา ถึงได้รับเสียงปรบมือเพียงเล็กน้อย ขณะที่ การสาธิตไทจี๋กลับได้รับความพอใจจากผู้ชมมาก

ผู้บรรยายพยายามอธิบายว่า
อาจจะเป็นเพราะ ผู้ชมไม่เข้าใจวิชามวยตะวันตก
แต่พวกเขาเข้าใจ ศิลปะการต่อสู้ อย่างมวยจีน และ มวยไทเก๊กมากกว่า

นักมวยตะวันตกคนนั้นไม่พอใจ จึงหาเรื่องทะเลาะวิวาท
ด้วยการท้าให้ พวกมวยจีน มาสู้กับเขา

อจ.หยางเส้าโหว กับ อจ.เถียนเจ้าหลิน
นั่งอยู่ใกล้กับหน้าเวทีพอดี
อจ.เถียนได้ยินเช่นนั้น จึงกระโดดขึ้นไปบนเวที
และกล่าวกับผู้ประกาศว่า ท่านขอรับคำท้าทายนั้นเอง
อจ.หยางเส้าโหว ยังตะโกนเชียร์บอกให้อจ.เถียน
น๊อก นักมวยตะวันตกคนนั้นคาเวทีให้ได้

-*- อุอุอุ ท่านหยางเส้าโหว...

เมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น ทั้งสองฝ่ายปราดเข้าหากันในทันที
อจ.เถียนวาดวงกลมเพียงเล็กน้อย แล้วยกมือข้างหนึ่งขึ้น
ส่วนอีกข้างเหยียดออกไปด้านหน้า
ทันใดนั้นเอง นักมวยตะวันตก ปราดเข้ามาคว้าตัวอจ.เถียน

แต่แล้ว..! ก่อนที่จะใครจะทันรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
นักมวยตะวันตกคนนั้น ก็ลอยออกไปจากเวที
ราวกับว่าวป่านขาด
แม้แต่ตัวเขาเองก็ยังงุนงงอย่างที่สุด
ไม่เข้าใจว่าตนเองโดนอะไรเข้าไป

"พลังงาน" โดยเฉพาะในไทจี๋ อาจจะเปรียบได้กับ
กับการสะท้อนของวงคลื่น
ปรมาจารย์ไทจี๋รุ่นแรกได้กล่าวไว้ว่า
"ตีวัว ที่ด้านข้างของภูเขา"

ผู้แปล - ภาษาอังกฤษว่าแบบนี้
แต่ผมว่า คงเป็น ตีวัวข้ามภูเขามากกว่า



ประโยคนี้ หมายความว่า โจมตีที่ด้านหน้า
แต่ความเจ็บปวด และผลลัพธ์สามารถรู้สึก
ได้ไปถึงหลัง

หากเป็นในปัจจุบัน คนที่โดนตีเวลาประมือกัน
มักจะบอกว่า รู้สึกเหมือนถูกไฟช๊อต
เพราะความเจ็บปวดจะซึมแทรกเข้าไปยังประสาทสัมผัส
ตลอดจน ทั้งกล้ามเนื้อ และผิวหนัง
อจ.เถียน รู้จักวิธีการใช้พลังนี้เป็นอย่างดี
ในปี1940 ชายผู้มีฉายาว่า "หอกใหญ่หลิว"
เดินทางมาถึงเซี่ยงไฮ้ หลิวได้ไปที่ " big world”
ซึ่งเป็นโรงมหรสพ ศูนย์ความบันเทิงและการแสดง
ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเซี่ยงไฮ้สมัยนั้น หลิวถามกับคนเฝ้าประตูว่า
"เมืองนี้ใครเจ๋งฟะ..!"
อุอุอุ ล้อเล่นครับ -*-

หลิวถามว่า
"มีใครฝีมือดีบ้างไหมเมืองนี้"
หลิวต้องการหาคนเก่งๆท้าประลองด้วย
เพื่อสร้างชื่อให้ตัวเองอย่างรวดเร็ว
คนเฝ้าประตูบอกหลิวว่า
"อย่างนี้ต้อง เถียนเจ้าหลิน"

ดังนั้นหลิวจึงออกตามหา อจ.เถียน
ไม่นาน หลิวก็พบ กับอจ.เถียน และขอท้าประลอง
โดยบอกว่าจะสู้กันสามรอบ
อจ.เถียนตอบรับ แต่ท่านกล่าวว่า

"ไม่จำเป็นต้องสู้กันถึงสามรอบหรอก
แค่ให้เราแตะตัวท่าน ถ้าท่านสามารถทนได้
ถึอว่า ท่านเป็นฝ่ายชนะ"

หอกใหญ่หลิวเป็นว่า เป็นโอกาสที่จะชนะได้
โดยไม่เปลืองแรงจึงรีบตกลง

ทั้งสองเผชิญหน้ากัน อจ.เถียนยื่นมือออกไป
แตะอกของหลิว พริบตานั้นเอง!
กล้ามเนื้อใบหน้าของหลิวก็เริ่มบิดเบี้ยว
แสดงถึงความเจ็บปวดอย่างที่สุด
หลิวพยายามข่มกลั้น แต่ก็ทนไม่ไหว
จำต้องผละออกมา

หลังจากพักฟื้นฟูกำลังอยู่ชั่วครู่ หลิวจึงกล่าวว่า
"ข้าเดินทางไปทั้วทั้งห้ามณฑล ผ่านเมืองต่างๆ
นับไม่ถ้วน แต่ไม่มีครั้งใดเลย ที่ได้พบกับฝีมืออัน
ล้ำลึกเช่นนี้"
มีผู้เฒ่าสองท่าน ที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน
และมีโอกาสได้เห็น อจ.เถียนมาฝึกมวย ที่สวนสาธารณะ
ในเซี่ยงไฮ้ทุกเช้าในช่วงปี 50 เล่าว่า

เวลาอจ.เถียนฝึกผลักมือกับศิษย์ของท่าน
และคนทั่วไปนั้น ทั้งน่าประทับใจ และเหลือเชื่อมาก
ยามประมือ ตัวท่านดูคล้ายจะเป็น "กงล้อแห่งการต่อสู้"

คู่ฝึกจะก้าวออกมาข้างหน้า แตะมือกับอจ.เถียน
แล้วก็ถูกตีลอยออกไปอย่างรวดเร็ว
และถ้าพวกเข้ารีบวิ่งกลับมาใหม่ ก็จะถูกกงล้อหมุนส่งลอยกลับไปอีก

อจ.เถียนจะสอนผลักมือไปเรื่อยๆ
ตั้งแต่หกโมงเช้าจนถึงเที่ยง
ท่านจะยิ้มละไม และผลักมือกับคนมากมายไปเรื่อยๆ
ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า วันแล้ววันเล่า
โดยไม่มีแม้แต่เหงื่อสักหยด

มีคนมากมายจากทุกสารทิศมาขอเรียนรู้จากท่าน
อจ.เถียนจะผลักมือกับทุกคน โดยไม่เคยถามว่ามาจากสำนักไหน ฝึกมวยอะไร หรือแม้แต่ชื่ออะไร
ชั่วพริบตา พวกเขาก็จะโดนท่านผลักออกไป
คนแล้วคนเล่า

การสอนและการฝึกของท่านเป็นที่น่าประทับใจ
แก่ผู้พบเห็น ศิทย์ของท่านยุคแรกๆ อย่าง
อจ.Ye Da Mi, อจ. Cheng ZhiJin,อจ.Yang KaiRu
และ อจ. Shen PeiRong ต่างก็ผลักมือได้
ยอดเยี่ยมทุกคน

มีคนงานท่าเรือคนหนึ่ง เคยฝึกมวยเส้าหลินมาก่อน
เขาตั้งใจจะลอบโจมตี อจ.เถียนข้างหลัง
ในระหว่างที่ท่านกำลังผลักมือกับนักเรียนอยู่
อจ.เถียนไม่แม้แต่จะหันมามองด้วยซ้ำ
ท่านเพียงแต่เปล่งเสียงออกมาอย่างง่ายๆ
ทั้งศิษย์ และ คนงานท่าเรือ ต่างก็ถูกผลักกระเด็นไปทั้งคู่

จากนั้นท่านยังเดินไปถาม คนงานท่าเรือว่า
บาดเจ็บตรงไหนหรือเปล่า
คนงานท่าเรือ รู้สึกอับอายมาก และขอขมา อจ.เถียน
ในการกระทำที่น่าละอายของตนเอง

อีกครั้งหนึ่งในช่วงปี 50 อจ.เถียน
ไปร่วมงานการกุศลในเซี่ยงไฮ้
ท่านได้แสดงทักษะ ที่หาดูได้ยากอย่างหนึ่งของมวยไทจี๋
นั่นคือ "หลิงคงจิ้ง"


ผู้แปล - นอกจากท่านอู๋ถูหนานแล้ว
ก็เพิ่งมีครั้งนี้แหละ ที่ผมเห็นมีเรื่องเกี่ยวกับ
หลิงคงจิ้ง อยู่ในเรื่องของ อจ.สายหยางท่านอื่น


มีอจ.เส้าหลินคนหนึ่งเห็นแล้วไม่เชื่อ
คิดว่านั่นไม่ใช่ของจริง เขาตะโกนเสียงดังลั่งว่า
การสาธิตนั้นเป็นการหลอกลวง
อจ.มวยคนนั้น แสดงเจตนาชัดว่า
ต้องการท้าประลองกับอจ.เถียน
ตอนนั้น ศิษย์ของท่านหยางเฉินฝู่คนหนึ่ง
คือท่าน ต่งอิงเจี๋ย อยู่ที่นั่นด้วย
ท่านต่งต้องรีบออกไปห้าม
ไม่ให้อจ.มวยเส้าหลินคนนั้น สู้กับอจ.เถียน
อจ.ต่งบอกกับ อจ.เส้าหลินคนนั้นว่า
เขารู้จักอจ.เถียนดี อจ.เถียนต้องลงมือ
กับนักมวยภายนอก จนทำให้บาดเจ็บหนักแน่
หากทั้งสองได้รับอนุญาตให้ประลองกันที่นั่น

หลานชายของท่านเถียนเจ้าหลิน ปิงหยวน
เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งมีพวกแกงค์เซี่ยงไฮ้
มาทำร้ายปู่ของเขาที่บ้าน พวกแกงค์เคาะประตู
พอ อจ.เถียนเปิด พวกมันก็ฟันข้าใส่ด้วยขวาน
ทันทีโดยไม่มีการเตือน

ผู้แปล. ท่าทางจะเป็นแกงค์ขวานซิ่ง อุอุอุ

อจ.เถียนรับไว้ได้ แล้วโจมตีกลับไป
จนพวกแกงค์ต้องรีบเผ่นหนี หัวซุกหัวซุน
กลัวว่า อจ.เถียนไล่จะตามมา
หนังสือเล่มหนึ่ง ที่มีผู้อ่านกันมาก ทั้งในตะวันตก
และ ในเมืองจีน คือหนังสือ ของอจ.เฉินเหยิ่นหลิน
ในเมืองจีน หนังสือของอจ.เฉินเหยิ่นหลิน
ได้รับการพิมพ์ซ้ำใหม่หลายครั้ง

บางคนอ้างว่า อจ.เฉินเหยิ่นหลินเป็นศิษย์ท่านหยางเฉินฝู่
และได้ช่วยสอนมวยให้ลูกๆ อจ.หยางด้วย
แท้จริงแล้ว ไม่ใช่เช่นนั้น

อจ.เฉินเหยิ่นหลิน ไม่เคยแม้แต่จะได้พบกับอจ.หยางเฉินฝู่
อจ.เฉินเหยิ่นหลิน เรียนมวยไทจี๋จาก อจ.เถียนเจ้าหลิน
ในช่วงประมานปี 1940

ชี่หวนถัง เจ้าของโรงพิมพ์ เป็นผู้สนับสนุนให้
อจ.เฉิน ไปเรียนไทจี๋ ชี่ เป็นศิษย์ของอจ.เถียนอยู่ก่อน
แล้วจึงชวน เฉินตามมาเรียนด้วยกัน
มีข้อสังเกตุอย่างหนึ่งว่า - อจ.เฉินได้เขียนโคลง
สรรเสริญเกียรติ อจ.ของเขา คือ ท่านเถียนเจ้าหลิน
เอาไว้ด้วย หลังจากที่ท่านเสียไป ในปี 1960

หนังสือชื่อ "มวยไทจี๋ กระบี่ ดาบ หอก และการผลักมือ"
เป็นผลงานร่วมกันของ อจ.ชี่หวนถัง และอจ.เฉินเหยิ่นหลิน
แต่ความจริงแล้ว ข้อมูลทั้งหมดในหนังสือเล่มนั้น
มาจากอจ.เถียนเจ้าหลิน

เฉิน เชิญอจ.เถียน กับศิษย์อวุโสของท่านอีกสามสี่คน
มาทานมื้อค่ำที่บ้าน แล้วให้เลขาคอยจดข้อความต่างๆ
ที่คุยกัน เกี่ยวกับมวยไทจี๋เอาไว้

ในตอนแรก หนังสือจะมีภาพของ อจ.เฉิน
กับ อจ.ชี่ผลักมือกัน อจ.เถียนก็ได้รับเชิญให้ถ่ายรูปด้วย แต่ท่านบอกว่า ไม่รู้ว่าจะเอารูปท่านไปไว้ตรงไหน
ก็เลยเรียกศิลปิน มาวาดภาพท่านแสดงท่ามวยให้แทน

แต่พอหนังสือตีพิมพ์ออกมา ปรากฏว่ามีแต่รูป
ของ อจ.เฉินเหยิ่นหลินอยู่ในนั้นคนเดียว
แม้แต่ผู้ร่วมแต่งอย่าง ชี่หวนถัง อจ.เฉินก็ตัดชื่อออกไป
ไม่ให้เครดิต

บรรดาศิษย์ของอจ.เถียนไม่พอใจกับเรื่องนี้มาก
ตัวอจ.เถียนเองก็ผิดหวังกับพฤติกรรมของอจ.เฉินมาก

อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ ก็เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า
ได้ให้รายละเอียด และ ความกระจ่าง เกี่ยวกับมวยวงกว้าง
แบบของท่านหยางเฉินฝู่เป็นอย่างดี

แต่ก็ควรทราบว่า - มวยวงกว้าง เป็นเพียงส่วนเล็กๆ
ส่วนหนึ่ง ในกระบวนการฝึกทั้งหมด
ของตระกูลหยางเท่านั้น

หนังสือของ อจ.เฉินเหยิ่นหลินสองเล่ม ตีพิมพ์ครั้งแรก
ในปี1943 หนังสือ มีรายละเอียด และข้อมูลเกี่ยวกับ
มวยวงกว้าง อาวุธ และหลักภายใน

อย่างไรก็ตาม มวยวงกลางของท่านหยางเจี้ยนโหว
และ มวยวงแคบ 64 ท่า ของท่านหยางลู่ฉาน
ท่านหยางปันโหว ท่านหยางเจี้ยนโหว ท่านหยางเส้าโหว
และ ของ อจ.เถียนเจ้าหลิน ไม่ได้รวมอยู่ในหนังสือเล่มนั้น ทำให้มีน้อยคนมาก ที่จะรู้จัก มวยวงกลาง และวงเล็ก ในปัจจุบัน


อจ.เถียนเจ้าหลิน และ มวยไทจี๋ ชุดแรกเริ่ม

มวยแบบเล็กนั้น คือ มวยชุดแรกเริ่มของมวยไทจี๋
ที่สอนโดยท่านหยางลู่ฉาน
นอกจากท่านเถียนเจ้าหลินแล้ว มีน้อยคนมาก
ที่เรียนมวยไทจี๋ตระกลูหยาง แล้วจะได้เรียน
มวยชุดเล็กแบบแรกเริ่มนี้

เมื่อตอนที่ท่านหยางลู่ฉาน และลูกชายของท่าน
มาถึงเมืองหลวงและเริ่มสอนมวย
ท่านได้แบ่ง กระบวนการฝึกแบบดั้งเดิม ออกเป็นส่วนๆ
รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลง มวยชุดเล็ก
พัฒนาให้เป็นมวยช้าชุดวงกว้าง และมวยชุดวงกลาง

ต่อมาท่านหยางเจี้ยนโหวเป็นผู้เปลี่ยนแปลงมวยชุดวงกลางจนสำเร็จสมบูรณ์

ส่วนมวยชุดวงกว้างนั้น ต่างจาก มวยวงกลาง
และวงแคบมาก ผู้สืบทอดรุ่นที่สาม
ท่านหยางเฉินฝู่ เป็นผู้ได้รับเครดิตมากที่สุด
ในการพัฒนามวยวงกว้าง
ซึ่งทำให้มวยไทจี๋เป็นที่นิยม และเหมาะ
แก่การฝึกของคนทั่วไป

ไม่ว่าจะมีคนอ้างต่างๆนาๆว่า
สายของตัวได้รับการถ่ายทอด
เป็นสายลับ จากอาจารย์ท่านโน้นท่านนี้
ของตระกูลหยาง ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่จริงทั้งนั้น

มวยชุดดั้งเดิมของตระกูลหยาง ที่ท่านหยางลู่ฉานสอน
คือมวยชุดเล็ก ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมวยชุดเล็ก
กลาง หรือใหญ่ก็ตาม ขึ้นกับความสมบูรณ์ความพร้อม
ของร่างกายของผู้ฝึก ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านั้น

ผู้ฝึกใหม่เริ่มฝึกจากแบบใหญ่ วงกว้างเพื่อพัฒนาร่างกาย
ให้สมบรูณ์ ด้วยท่าทางที่เป็นวงกลมเหยียดกว้าง
จากนั้นจึงพัฒนาไปสู่วงกลาง
ท้ายที่สุดเมื่อฝึกจนกระทั่งฝีมือดีแล้ว จึงค่อยฝึกมวยชุดเล็ก

อจ.หยางเจี้ยนโหว มักจะสอนอยู่เสมอว่า
กุญแจสำคัญในการฝึกฝน คือ
ชุดการบริหารที่เรียกกว่า "ปาต้วนจิ่น"
อย่างไรก้ตาม ชุดกายบริหาร "ปาต้วนจิ่น"
ในมวยไทจี๋นั้น แตกต่างจาก ท่ากายบริหาร
ที่มีชื่อเดียวกันนี้ของเส้าหลิน

ท่านหยางเจี้ยนโหวแนะนะว่า ท่ากายบริหารชุดนี้
เป็นด้านภายนอกของมวยไทจี๋ และช่วยในการชักนำผู้ฝึก
ให้พัฒนาพลัง และการใช้งานได้ดีขึ้น

ท่านยังกล่าวอีกว่า พลังนั้นเป็นวงกลม
ส่วนแรงนั้นเป็นเหลี่ยม
เป้าหมายสูงสุดของมวยไทจี๋ จริงๆแล้วก้คือละทิ้ง
ชุดมวย ท่วงท่าทั้งหมด และผสานหลักการฝึกฝนทุกอย่าง
เข้าด้วยกัน กับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

อจ.เถียนเจ้าหลิน ได้รับการยอมรับ
จากท่านหยางเจี้ยนโหวว่า เป็นหนึ่งในสามศิษย์เอก
ของท่านที่ ฝีมือดีที่สุดในกลุ่มศิษย์มากมาย
ที่ได้รับการถ่ายทอดมวยไปจากตระกูลหยาง
สามคนนั้นคือ อจ.เถียนเจ้าหลิน
อจ.หลี่หยาซวน และอจ.นุ่ยชุนหมิง
อย่างไรก็ตาม อจ.เถียน และอจ.นุ่ย
ไม่ได้รับการถ่ายทอดวิธีการที่จะทำไม่ให้
นกบินออกจากฝ่ามือ
อย่างที่ท่านหยางเจี้ยนโหวทำได้

หมายถึงในยุคท่านหยางเจี้ยนโหว
คลิปท่ามวยของทั้งสาม
ดูได้จาก หัวข้อ มวยไทจี๋ตระกูลหยาง


อย่างไรก็ตาม อจ.เถียน และอจ.นุ่ย
ไม่ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดวิชา
การไม่ให้นกบินหนีออกจากฝ่ามือ
อย่างที่ท่านหยางเจี้ยนโหวทำได้มา

อจ.เถียนเจ้าหลิน ถูกนำเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเซี่ยงไฮ้ในปี 1960 สี่เดือนก่อนหน้านั้น ภรรยาสุดที่รักของท่านซึ่งเป็นแม่ของลูกทั้งสามคน
ได้ตายจากไป โศกนาฏกรรมครั้งนั้น
ทำให้อจ.เถียนเสียใจมากจนกระทั่งล้มป่วยลง

คืนหนึ่ง ลูกชายคนโตของท่าน
เถียนหง และคนกลาง อิงเจี๋ย
ซึ่งนอนเฝ้าอยู่ข้างเตียงโรงพยาบาล สะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึก

อจ.เถียนได้บอกกับลูกๆว่า ท่านฝันไป
ในฝันนั้น อจ.หยางเจี้ยนโหว และ อจ.หยางเส้าโหว
ได้มาเดินมาหาท่าน อจ.ทั้งสองท่านถือโคมแดงไว้ในมือ
เพื่อเป็นการต้อนรับท่าน พวกท่านยิ้มอย่างอ่อนโยน
และบอกให้อจ.เถียน กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง
หลังจากต้องพลัดพรากจากกันไปหลายปี

ในที่สุด..อจ.เถียนเจ้าหลินกล่าวกับลูกๆว่า
ท่าน กำลังจะกลับไปอยู่กับอจ.ทั้งสอง
กลับไปอยู่ร่วมกันอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้าย...

อจ.เถียนยิ้ม และจากไปอย่างสงบ.

เถียนหง เป็นครูสอนหนังสือ
คนกลางเถียนอิงเจี๋ย เป็นวิศวกรไฟฟ้า
และได้เดินตามรอยเท้าท่านพ่อในเรื่องมวยไทจี๋

ส่วนคนสุดท้องเถียนอิงลุ่ย เป็นศาสตราจารย์
ในมหาวิทยาลัย เซี่ยงไฮ้

มีแต่ท่านเถียนอิงเจี๊ย ที่ได้เผยแพร่มวยไทจี๋สืบต่อมา
ลูกชายของ อจ.เถียนอิงเจี๋ย เถียนปิงหยวนเอง
ก็เรียนมวยไทจี๋ จากบิดา เพื่อสืบสานวิชา

อจ.เหยา เกาชิน ได้รับเลือกให้เป็น
นักเรียนรุ่นแรกๆของอจ.เถียน
ปัจจุบัน อจ.เถียนอิงเจี๋ย มีผู้สืบทอด 49 สาย
และมีศิษย์ทั้งหมด ราว 500คน

ภาพและที่มา  www.bloggang.com


เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง หมายถึง, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง คือ, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง ความหมาย, เถียนเส้าหลิน : มรดกอันล้ำค่า ของไทจี๋ตระกูลหยาง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu