แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่ก็อาจเป็นโรคได้เช่นเดียวกับสัตว์อื่น ช้างที่ถูกกักขังและอยู่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ มีโอกาสติดโรคจากสัตว์เลี้ยงได้ง่าย ส่วนช้างที่ทำงานในป่า มักจะเกิดเป็นฝีและโรคผิวหนังพุพองกันมาก ฝีอาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการถูกหนามทิ่มตำผิวหนัง แล้วเกิดเป็นหนองบวมพองขึ้นมา ผิวหนังที่พุพองเป็นตุ่มนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากแมลงวันป่าชนิดหนึ่งมาไข่ไว้ตามรูขนของช้าง เมื่อไข่ของแมลงวันกลายเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเข้าไปอาศัยในขุมขน แล้วดูดเลือดช้างกินเป็นอาหาร ช้างที่เป็นโรคนี้จะสังเกตเห็นผิวหนังเป็นตุ่มมีหนอง เมื่อแกะตุ่มออกจะพบตัวหนอนกลม ๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวฝังตัวอยู่ เมื่อตัวหนอนแก่ก็จะกลายเป็นแมลงวันป่ามารบกวนช้างอีก แล้วทิ้งคราบไว้ในรูขนที่มันอาศัยอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดอักเสบเป็นตุ่มมีหนองขึ้น วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ ให้ช้างได้อาบน้ำบ่อย ๆ ชาวบ้านได้ใช้เครื่อสะบ้าทุบเป็นฝอยถูตัวช้างเวลาอาบน้ำ เพื่อฆ่าตัวอ่อนของแมลงวันชนิดนี้ นับว่าได้ผลดีพอสมควร โรคที่ช้างเป็นกันมากอีกชนิดหนึ่งคือ โรคพยาธิฟิลาเรีย (filaria)โรคนี้เกิดจากยุงในป่า ซึ่งไปกัดสัตว์ที่เป็นโรคนี้มาแล้วมากัดช้าง พยาธิที่ติดมากับแมลงจะเข้าไปในเส้นโลหิตและเจริญเติบโตในเส้นโลหิตของช้าง แล้วเข้าไปอุดตันในหัวใจ จนทำให้ช้างถึงแก่ความตายนอกจากโรคที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโรคติดต่อร้ายแรงของสัตว์จำพวก วัวควาย อาจคิดต่อถึงช้างได้ เช่นโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งเป็นโรคที่ต้องแจ้งให้ทางการทราบตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ โรคนี้อาจติดต่อถึงมนุษย์ได้ด้วย ยังมีโรคอีก ๒-๓ ชนิดที่มักเกิดกับช้างเสมอ เช่น โรคคอบวม (haemorrhagic septicaemia) โรคเซอร์รา (surra) โรคดังกล่าวข้างต้น เป็นโรคที่ต้องอาศัยสัตวแพทย์ผู้ชำนาญ เป็นผู้ป้องกันและรักษาทั้งสิ้น
ประเทศไทยเรามีช้างซึ่งจดทะเบียนไว้กับทางราชการประมาณ ๑๑,๒๗๗ เชือก (รายงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี ๒๕๐๙) เป็นจำนวนช้างพลายและช้างพังไล่เลี่ยกัน ในจำนวนนี้มีช้างตกลูกในปีนั้น ๒๘๘ เชือก ภาคกลางเป็นภาคที่มีช้างมากที่สุด ถัดไปเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับจากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อัตราการเกิดของช้างมีจำนวนน้อย รัฐบาลจึงได้กำหนดวิธีการสงวนพันธุ์ช้างขึ้น เช่น การจับช้างป่า และการส่งช้างออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล นอกจากนั้น รัฐบาลยังกำหนดให้เจ้าของช้างซึ่งมีช้างอายุย่างเข้าปีที่ ๘ ต้องไปขอรับการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณด้วย
โรคของช้าง
โรคของช้าง, โรคของช้าง หมายถึง, โรคของช้าง คือ, โรคของช้าง ความหมาย, โรคของช้าง คืออะไร
โรคของช้าง, โรคของช้าง หมายถึง, โรคของช้าง คือ, โรคของช้าง ความหมาย, โรคของช้าง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!