รู้จัก คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ เจ้าของทฤษฎีระบบเลือด ABOA / B / O หรือ AB เป็นชื่อของกรุ๊ปเลือดที่เราต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในแต่ละคนก็จะมีกรุ๊ปเลือดประจำตัวเองที่แตกต่างกันออกไป เราจะรู้กรุ๊ปเลือดก็ต่อเมื่อเราไปตรวจสุขภาพที่ต้องทำการเจาะเลือด แล้วแสดงผลออกมา ซึ่งการจำแนกกรุ๊ปเลือดออกเป็นชนิดต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ นับว่าเป็นวิธีการที่มีมาตั้งแต่ในยุคปี 1901 โดยนายแพทย์ชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) โดยกรุ๊ปเลือด หรือหมู่เลือด ก็คือการจำแนกเลือดออกเป็นหมวดหมู่ด้วยสารที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบ ABO (ABO System) เป็นมาตรฐานในการแบ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
Karl Landsteiner (คาร์ล แลนด์สไตเนอร์)https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e5/Karl_Landsteiner%2C_1920s..jpg/434px-Karl_Landsteiner%2C_1920s..jpg
คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย - อเมริกัน เกิดที่เมืองบาเดินเบวีน จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งก็คือเมืองที่อยู่ใกล้กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน คาร์ลมีความสนใจในด้านของการแพทย์เป็นพิเศษมาตั้งแต่เด็ก เขาจึงตัดสินใจเลือกเรียนด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนาจนจบการศึกษา จากนั้นจึงเริ่มเข้าทำงานด้านการวิจัยและค้นคว้าทางการแพทย์เกี่ยวกับแบคทีเรียและพยาธิวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวียนนา
ต่อมาเขาได้ให้ความสนใจในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันจึงเริ่มทำการศึกษา แต่ด้วยการแพทย์ในขณะนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้า ยังไม่มีการแบ่งหมู่เลือดออกเป็นระบบที่มีความชัดเจน จึงส่งผลให้การให้เลือดของผู้ป่วยในสมัยนั้นประสบปัญหาเม็ดเลือดแดงแตกและเลือดของผู้ให้รวมถึงผู้รับเกิดการตกตะกอนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาหารช็อก คาร์ลสังเกตเห็นได้ถึงปัญหานี้จึงได้ทดลองนำเอาเลือดของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน มาแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงและทำปฏิกิริยาสลับกันไปมา ผลที่ได้ปรากฏว่าเลือดเกิดปฏิกิริยาจับกลุ่มตกตะกอน หรือ Agglutination ทำให้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คาร์ลประสบความสำเร็จในการจำแนกหมู่เลือด และสรุปผลการทดลองโดยแบ่งกรุ๊ปเลือดออกเป็น 3 หมู่ คือ A (เอ) B (บี) และ O (โอ) ซึ่งในแต่ละคนจะมีหมู่เลือดเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการตั้งเป็นกฎที่เรียกว่า กฎแลนด์สไตเนอร์ (Landsteiner Law) อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันจะไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย จากความสำเร็จในการพบครั้งนั้นทำให้ในปี ค.ศ. 1907 รูเบน ออตเตนเบิร์ก นายแพทย์ชาวอเมริกันประสบความสำเร็จในการถ่ายเลือดเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมา ได้มีการค้นพบกรุ๊ปเลือดเพิ่มเติม คือ หมู่ AB (เอบี) โดย เดส คาสติโล (DesCasterllo) และสเตอลิ (Sturli) จึงได้มีการรวบรวมกรุ๊ปเลือดที่มีทั้งหมด 4 แบบ คือ A B O และ AB ดังเช่นในปัจจุบัน และเรียกระบบกรุ๊ปเลือดแบบนี้ว่า กรุ๊ปเลือดระบบ ABO (ABO system)
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/51/Blood_Compatibility.svg/2000px-Blood_Compatibility.svg.png
คาร์ลจึงได้สรุปผลการทดลองโดยแบ่งกรุ๊ปเลือดออกเป็น 3 หมู่คือ เอ (A) บี (B) และ โอ (O) โดยแต่ละคนจะมีหมู่เลือดชนิดใดชนิดหนึ่งและตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎแลนด์สไตเนอร์ (Landsteiner Law) ต่อมาจึงได้มีการค้นพบกรุ๊ปเอบี (AB) โดย เดส คาสติโล (DesCasterllo) และสเตอลิ (Sturli) ดังนั้นจึงได้มีการรวบรวมกรุ๊ปเลือดทั้งหมด 4 แบบ คือ A B O และ AB เหมือนเช่นในปัจจุบัน และเรียกระบบกรุ๊ปเลือดแบบนี้ว่า กรุ๊ปเลือดระบบ ABO (ABO system)
คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ได้ย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลวิลเฮล์มิเนนสปิทอล (Wilhelminenspital) จนกระทั่งเขาและเพื่อนร่วมงานที่ชื่อว่า แอร์วิน ปอปเปอร์ ได้ค้นพบโปลิโอไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโปลิโอ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คาร์ลรู้ว่างานในออสเตรียเริ่มหายากขึ้น จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้รับเชิญให้มาทำงานที่สถาบันร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา จนมาถึงปี ค.ศ. 1930 คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยา หรือการแพทย์จากการบุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับหมู่โลหิต จากนั้นในปี ค.ศ. 1940 คาร์ลและเพื่อนร่วมงานที่ชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เอส. ไวเนอร์ และฟิลิป เลวีน ได้ค้นพบ อาร์เอชแฟกเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 33 หมู่โลหิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่สุดรองจากระบบ ABO
ด้านชีวิตส่วนตัว คาร์ล ได้แต่งงานกับ เลโอโปลดีน เฮลีน วลาสโต เมื่อปี ค.ศ. 1916 มีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 1943 คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ เสียชีวิตลงด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และในปีนี้ก็เป็นปีที่เขาจะมีอายุครบครอบ 143 ปีเต็ม และเพื่อเป็นเกียรติให้ระลึกถึง คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ผู้ค้นพบระบบหมู่เลือด ABO เป็นครั้งแรกของโลก ทาง สหพันธ์สภากาชาดสากล (International Federation of Red Cross and Red Crescent), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization), The International Federation of Blood Organization และ The International Society of Blood Transfusion ยังได้กำหนดให้ วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) อีกด้วย
การจำแนกกรุ๊ปเลือดออกเป็นชนิดต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ นับว่าเป็นวิธีการที่มีมาตั้งแต่ในยุคปี 1901 โดยนายแพทย์ชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) A / B / O หรือ AB เป็นชื่อของกรุ๊ปเลือดที่เราต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในแต่ละคนก็จะมีกรุ๊ปเลือดประจำตัวเองที่แตกต่างกันออกไป เราจะรู้กรุ๊ปเลือดก็ต่อเมื่อเราไปตรวจสุขภาพที่ต้องทำการเจาะเลือด แล้วแสดงผลออกมา โดยกรุ๊ปเลือด หรือหมู่เลือด ก็คือการจำแนกเลือดออกเป็นหมวดหมู่ด้วยสารที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบ ABO (ABO System) เป็นมาตรฐานในการแบ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
(Google Search วันที่ 14 มิถุนายน 2559)
Karl Landsteiner (คาร์ล แลนด์สไตเนอร์)
ประวัติ
คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย - อเมริกัน เกิดที่เมืองบาเดินเบวีน จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งก็คือเมืองที่อยู่ใกล้กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน คาร์ลมีความสนใจในด้านของการแพทย์เป็นพิเศษมาตั้งแต่เด็ก เขาจึงตัดสินใจเลือกเรียนด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนาจนจบการศึกษา จากนั้นจึงเริ่มเข้าทำงานด้านการวิจัยและค้นคว้าทางการแพทย์เกี่ยวกับแบคทีเรียและพยาธิวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวียนนา
ต่อมาเขาได้ให้ความสนใจในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันจึงเริ่มทำการศึกษา แต่ด้วยการแพทย์ในขณะนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้า ยังไม่มีการแบ่งหมู่เลือดออกเป็นระบบที่มีความชัดเจน จึงส่งผลให้การให้เลือดของผู้ป่วยในสมัยนั้นประสบปัญหาเม็ดเลือดแดงแตกและเลือดของผู้ให้รวมถึงผู้รับเกิดการตกตะกอนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาหารช็อก คาร์ลสังเกตเห็นได้ถึงปัญหานี้จึงได้ทดลองนำเอาเลือดของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน มาแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงและทำปฏิกิริยาสลับกันไปมา ผลที่ได้ปรากฏว่าเลือดเกิดปฏิกิริยาจับกลุ่มตกตะกอน หรือ Agglutination ทำให้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คาร์ลประสบความสำเร็จในการจำแนกหมู่เลือด และสรุปผลการทดลองโดยแบ่งกรุ๊ปเลือดออกเป็น 3 หมู่ คือ A (เอ) B (บี) และ O (โอ) ซึ่งในแต่ละคนจะมีหมู่เลือดเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการตั้งเป็นกฎที่เรียกว่า กฎแลนด์สไตเนอร์ (Landsteiner Law) อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันจะไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย จากความสำเร็จในการพบครั้งนั้นทำให้ในปี ค.ศ. 1907 รูเบน ออตเตนเบิร์ก นายแพทย์ชาวอเมริกันประสบความสำเร็จในการถ่ายเลือดเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมา ได้มีการค้นพบกรุ๊ปเลือดเพิ่มเติม คือ หมู่ AB (เอบี) โดย เดส คาสติโล (DesCasterllo) และสเตอลิ (Sturli) จึงได้มีการรวบรวมกรุ๊ปเลือดที่มีทั้งหมด 4 แบบ คือ A B O และ AB ดังเช่นในปัจจุบัน และเรียกระบบกรุ๊ปเลือดแบบนี้ว่า กรุ๊ปเลือดระบบ ABO (ABO system)
คาร์ล เจ้าของทฤษฎีระบบเลือด ABO
คาร์ลจึงได้สรุปผลการทดลองโดยแบ่งกรุ๊ปเลือดออกเป็น 3 หมู่คือ เอ (A) บี (B) และ โอ (O) โดยแต่ละคนจะมีหมู่เลือดชนิดใดชนิดหนึ่งและตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎแลนด์สไตเนอร์ (Landsteiner Law) ต่อมาจึงได้มีการค้นพบกรุ๊ปเอบี (AB) โดย เดส คาสติโล (DesCasterllo) และสเตอลิ (Sturli) ดังนั้นจึงได้มีการรวบรวมกรุ๊ปเลือดทั้งหมด 4 แบบ คือ A B O และ AB เหมือนเช่นในปัจจุบัน และเรียกระบบกรุ๊ปเลือดแบบนี้ว่า กรุ๊ปเลือดระบบ ABO (ABO system)
คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ได้ย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลวิลเฮล์มิเนนสปิทอล (Wilhelminenspital) จนกระทั่งเขาและเพื่อนร่วมงานที่ชื่อว่า แอร์วิน ปอปเปอร์ ได้ค้นพบโปลิโอไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโปลิโอ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คาร์ลรู้ว่างานในออสเตรียเริ่มหายากขึ้น จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้รับเชิญให้มาทำงานที่สถาบันร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา จนมาถึงปี ค.ศ. 1930 คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยา หรือการแพทย์จากการบุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับหมู่โลหิต จากนั้นในปี ค.ศ. 1940 คาร์ลและเพื่อนร่วมงานที่ชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เอส. ไวเนอร์ และฟิลิป เลวีน ได้ค้นพบ อาร์เอชแฟกเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 33 หมู่โลหิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่สุดรองจากระบบ ABO
ด้านชีวิตส่วนตัว
คาร์ล ได้แต่งงานกับ เลโอโปลดีน เฮลีน วลาสโต เมื่อปี ค.ศ. 1916 มีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 1943 คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ เสียชีวิตลงด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และในปีนี้ก็เป็นปีที่เขาจะมีอายุครบครอบ 143 ปีเต็ม และเพื่อเป็นเกียรติให้ระลึกถึง คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ผู้ค้นพบระบบหมู่เลือด ABO เป็นครั้งแรกของโลก ทาง สหพันธ์สภากาชาดสากล (International Federation of Red Cross and Red Crescent), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization), The International Federation of Blood Organization และ The International Society of Blood Transfusion ยังได้กำหนดให้ วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) อีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก: wikimedia.org
ขอบคุณข้อมูลจาก: wikipedia.org, vcharkarn.com