ประวัติกีฬาคาราเต้
สันนิษฐานว่า คาราเต้มีต้นกำเนิดมาจากเกาะริวกิว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2152 ในช่วงที่เกาะริวกิวเป็นเมืองขึ้นของตระกูลซัทซูมา ในช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายห้ามประชาชนมีอาวุธอยู่ในครอบครองและอาวุธในเกาะถูกริบเป็นของรัฐทั้งหมด เป็นผลให้เกิดแรงกดดันต่อประชาชนเป็นทวีคูณ จึงคิดวิธีการต่อสู้เพื่อป้องกันตนเองโดยไม่ใช้อาวุธขึ้น เรียกว่า “คาราเต้
กติกาคาราเต้
กติกาคาราเต้
คาราเต้เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ผู้ที่เล่นกีฬาประเภทนี้จะต้องได้รับการฝึกฝนทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกำหนดท่าต่าง ๆ จะมีไม่กี่ท่า และการต่อย ตี หรือเตะ จะต้องได้รับการควบคุมก่อนเข้าทำการปะทะ เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น
สนามแข่งขัน
ใช้สนามพื้นเรียบที่ไม่มีสิ่งกีดขวางขนาด 8 x 8 เมตร
เจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย
1. กรรมการผู้ตัดสิน จะอยู่ในบริเวณพื้นที่แข่งขัน
2. กรรมการให้คะแนน 4 คน จะนั่งอยู่ที่มุมทั้งสี่ด้านของสนาม
3. กรรมการผู้ชี้ขาด จะนั่งอยู่ทางด้านข้างของสนามพร้อมกับกรรมการรักษาเวลา กรรมการบันทึกคะแนน และผู้จัดการทีม
กรรมการผู้ตัดสิน จะทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน ให้คะแนน แจ้งการทำผิดกติกา เตือนการกระทำที่ผิดระเบียบ ต่อเวลาการแข่งขันถ้าจำเป็น
กรรมการให้คะแนน กรรมการแต่ละคนจะมีธงสีขาว สีแดง และนกหวีด เพื่อให้สัญญาณการได้คะแนน การทำผิดกติกา การออกนอกเขตแข่งขัน ในกรณีที่มีความเห็นต่างกันจะใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน
กรรมการผู้ชี้ขาด จะทำหน้าที่ตัดสินการให้คะแนน และควบคุมการทำงานของกรรมการบันทึกคะแนนและกรรมการรักษาเวลา
การแต่งกาย
ผู้แข่งขันจะสวมชุดคาราเต้สีขาว พร้อมกับคาดเข็มขัดสี (Obi) เพื่อแสดงวิทยะฐานะ และจะมีเครื่องหมายแสดงฝ่ายเป็นสีขาวหรือสีแดงอยู่บริเวณเข็มขัดสีด้วยห้ามสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ส่วนเครื่องป้องกันตัวจะใช้ได้เมื่อกรรมการอนุญาต
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันปกติจะใช้เวลาแต่ละคู่ประมาณ 2 นาที แต่ในบางครั้งอาจเลยไปถึง 3 หรือ 5 นาที เนื่องจากอาจมีการบาดเจ็บ หรือมีการหยุดการแข่งขันชั่วขณะซึ่งจะไม่นับรวมในเวลาแข่งขันก่อนหมดเวลา 30 วินาที กรรมการรักษาเวลาจะเตือนให้ผู้เข้าแข่งขันทราบ
การเริ่มต้นการแข่งขัน
กรรมการผู้ตัดสินและผู้เข้าแข่งขันประจำที่ ผู้เข้าแข่งขันจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ปลายเท้าจะอยู่ที่เส้นเริ่มต้น แล้วคำนับซึ่งกันและกัน เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานว่า โชบุ อิปปอน ฮาจิ-มะ (Shobu ippon hajime) การแข่งขันจึงเริ่มขึ้น
การให้คะแนน
จะให้คะแนนสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่แสดงเทคนิคของคาราเต้ได้ถูกต้องและสามารถโจมตีเป้าหมายได้ถูกต้อง การเข้าปะทะบริเวณลำตัวต้องไม่รุนแรงจนเกินไปและห้ามปะทะอย่างรุนแรงบริเวณใบหน้าและศีรษะ การโจมตีเป้าหมายจะได้คะแนนเมื่อถูกเป้าหมาย หรือห่างจากเป้าหมายไม่เกิน 2 นิ้ว การเข้าปะทะที่รุนแรงเกินกว่าเหตุจะถูกปรับแพ้
คะแนนเต็ม (Ippon)
เป็นคะแนนที่ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ได้ดีและถูกต้องดูแข็งแรงแต่ไม่รุนแรงเกินไป จังหวะและระยทางตี การโจมตีอาจเป็นการต่อยแบบกำหมัด (Tsuki) การตบ (Uchi) การตี (Ate) หรือการเตะ (Keri) ก็ได้ คะแนนนี้มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน และผู้เข้าแข่งขันจะได้รับในกรณีต่อไปนี้
1. โจมตีคู่ต่อสู้ในขณะที่คู่ต่อสู้เคลื่อนที่เข้าโจมตี
2. โจมตีในขณะที่คู่ต่อสู้เสียจังหวะในการโจมตี
3. ใช้เทคนิคในการโจมตีที่ผสมผสานกันดี เช่น ใช้หมัดพกับการเตะ หรือ ใช้หมัดกับการทุ่ม
4. คู่ต่อสู้สู้อย่างไม่สมศักดิ์ศรี
5. โจมตีในบริเวณที่คู่ต่อสู้ไม่สามารถป้องกันได้
การไม่ได้คะแนนเต็ม
ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้คะแนนเต็ม ถ้าไม่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ในขณะที่จับหรือทุ่มคู่ต่อสู้ได้ หรือเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายเข้าปะทะในจังหวะเดียวกัน หรือโจมตีในขณะที่สัญญาณหมดเวลาดังนี้ หรือโจมตีในขณะที่ตนเองอยู่ในพื้นที่แข่งขัน แต่ตัวคู่ต่อสู้อยู่นอกพื้นที่แข่งขัน
คะแนนเกือบเต็ม (Wazaari)
เป็นคะแนนที่ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ได้ แต่ดีและได้ผลไม่สมบูรณ์นัก เช่น
- คู่ต่อสู้สามารถหลบจากการโจมตีเป้าหมายได้
- โจมตีพลาดเป้าหมาย
- โจมตีเป้าหมายในขณะที่ตัวเองเสียการทรงตัว
- คะแนนเกือบเต็มมีค่าเท่ากับ คะแนน
การหยุดเล่น
เมื่อผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนเต็มได้ กรรมการผู้ตัดสินจะขานว่า ซอเระมาเดะ (Soremade) ผู้เข้าแข่งขันจะกลับไปที่เส้นเริ่มต้น และกรรมการผู้ตัดสินจะกลับเข้าประจำที่ แล้วยกมือซ้ายหรือขวาเพื่อแจ้งฝ่ายที่ได้คะแนนพร้อมกับบอกเทคนิคที่ใช้หลังจากนั้นผู้เข้าแข่งขันจะทำการคำนับซึ่งกันและกันเป็นการจบการแข่งขัน
แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนได้เกือบเต็ม กรรมการผู้ตัดสินจะขานว่า ยาเมะ (Yame) ผู้เข้าแข่งขันจะกลับไปที่เส้นเริ่มต้น กรรมการผู้ตัดสินจะกลับเข้าประจำที่ แล้วขานว่า วาซา-อาริ (Waza-ari) พร้อมกับชี้ไปยังผู้ได้คะแนนและบอกเทคนิคที่ใช้
ถ้ากรรมการผู้ห้ามขานว่า ฮาจิเมะ (Hajime) การแข่งขันจะดำเนินต่อไป (จนกว่าจะได้คะแนนเกือบเต็ม 2 คะแนน)
การหยุดการแข่งขันชั่วขณะ
การแข่งขันจะหยุดชั่วขณะเมื่อกรรมการผู้ตัดสินขาน ยาเมะ ในกรณีต่อไปนี้
1. มีการต่อสู้ที่ไม่เกิดผล
2. มีการกดยึดท่าอันตราย
3. ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งหรือทั้งสองคนออกนอกพื้นที่แข่งขัน
4. หยุดให้ผู้เข้าแข่งขันจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย
5. เมื่อผู้เข้าแข่งขันทำผิดกติกา
6. เกิดการบาดเจ็บ
7. กรรมการให้คะแนนยกธงสัญญาณ
ในการหยุดการแข่งขันชั่วขณะที่นานเกินกว่า 10 วินาที จะไม่นับรวม เวลาในการแข่งขัน
การบาดเจ็บ
ในระหว่างการแข่งขัน หากผู้เข้าแข่งขันเกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกระทำของผู้เข้าแข่งขันอีกฝ่ายหนึ่ง (มักเกิดจากการทำผิดกติกา) จะตัดสินให้ฝ่ายที่ได้รับบาดเจ็บเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันปฏิเสธ หรือร้องขอยุติการแข่งขันเนื่องจากการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เขาจะเป็นฝ่ายถูกปรับแพ้ นอกจากนี้ หากการบาดเจ็บมิได้เกิดจากการกระทำของฝ่ายใด หรือเกิดการบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย (ทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้กระทำ) ผู้เข้าแข่งขันที่สามารถแข่งขันต่อไปคือผู้ชนะ ถ้ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา ให้กรรมการผู้ห้ามเป็นผู้ชี้ขาด และการบาดเจ็บที่เกิดโดยไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ให้ตัดสินเสมอกัน
การทำผิดกติกา
การต่อสู้ที่ถือเป็นการทำผิดกติกา คือ
1. โจมตีร่างกายส่วนอื่นที่ไม่ใช่แขนและขา
2. ใช้ท่าต่อสู้ที่อันตราย เช่น โจมตีที่ตา หรืออวัยวะสืบพันธุ์
3. ใช้ท่าทุ่มที่อันตราย
4. โจมตีบริเวณหน้าแข้ง สะโพก ข้อเข่า และระหว่างขา
5. จับ ขยี้ หรือถูตามตัวของคู่ต่อสู้โดยไม่จำเป็น
6. พยายามออกนอกพื้นที่แข่งขัน หรือตั้งใจถ่วงเวลา