ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

"จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน", "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" หมายถึง, "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" คือ, "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" ความหมาย, "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
"จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน"

 



แนะนำ ให้รู้จัก เวบไซด์ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ที่ลิงค์ ข้างล่าง

https://www.thaifammed.org/

และ

เรื่อง:"จุดประสงค์ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" ที่เนื้อหาด้านล่างต่อไป

หมายเหตุ: การใช้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ในไทย ดูแลใกล้บ้านก่อน จึงจะไปพบแพทย์เฉพาะทางเมื่อได้รับการส่งตัว จึงจะไปใช้สิทธิรักษาฟรีได้ ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก ประหยัด และ มีคุณภาพ
ดังนั้น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะต้องมีจำนวนเพิ่มให้เพียงพอ ประมาณ ครึ่งหนึ่งของจำนวนแพทย์ทั้งหมดในประเทศ

ดูเปรียบเทียบได้จากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพประชาชนได้ดีในราคาถูก

เรื่อง "การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบPrimary Health careมากประมาณ90%ของงาน" ที่เวบข้างล่าง


https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&group=1
..................................................................

จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว


โดย น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

ยินดีรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่

อีเมลล์แอดเดรส tsumruang@hotmail.com หรือ

โทรฯมือถือ 089-611-2714 เวลากลางวันทุกวัน

บล็อกแก็งค์:    www.samrotri.bloggang.com



..............................................................

คำนำ เมื่อเข้ามาในบล็อกนี้แล้วจะพบเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เพราะผู้เขียนศรัทธาในการเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน ว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพของประเทศได้

ถ้าสนใจจะอ่านข่าวเรื่องอื่นๆ เพิ่มสามารถเข้ามาค้นหาเองได้ ขอเชิญคลิกเข้ามาดูบล็อกทางด้านซ้ายมือและลิงค์ทางด้านขวามือของท่านด้วย จะมีเนื้อหาอีกมากมาย ขอเชิญเข้ามาเลือกดูได้

หมายเหตุได้เก็บสะสมข่าวไว้มาก
หลายเรื่อง เพื่อนำมาใช้อ้างอิงได้ถ้าวันนี้ยังไม่ใช้วันหน้า
เกิดนึกถึงจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา

....................................................................


ในปัจจุบันมีแพทย์เฉพาะทาง หลายสาขา เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ถ้า ต้องเลือกไปหาแพทย์เฉพาะทาง แต่ละสาขานั้นๆ ด้วยตัวคนไข้เอง จะไม่สะดวกในการเลือก ถ้าป่วยด้วยโรคหลายสาขา ไม่ทราบว่าจะไปสาขาใดก่อน/หลัง ไปที่ใด ไปอย่างไร ต้องดูแลเบื้องตันอย่างไร เป็นต้น

แต่ถ้ามีแพทย์สาขาที่สามารถดูแลคนไข้ทุกสาขาได้ในแพทย์คนเดียว มีสถานที่ทำงาน(ศูนย์สุขภาพชุมชน)อยู่ใกล้บ้านคนป่วย มีความสนิทสนมดูแลอยู่เป็นประจำ ที่จะให้คำปรึกษา และ ให้การรักษาเบื้องต้นได้

เมื่อเกินความสามารถก็เขียนใบส่งตัวไปพบ แพทย์เฉพาะทางที่เหมาะสมให้ และ

ในกรณี ฉุกเฉิน ถ้าไม่มีรถเอง ทางศูนย์สุขภาพชุมชน ก็มีรถส่งต่อให้ มีพยาบาลดูแลในรถให้ด้วย

จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมาก แพทย์สาขานั้น คือ
แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
ที่จะดูแลประชาชนในความรับผิดชอบ ตามพื้นที่ ตามเกณฑ์

ซึ่ง จะมีการกำหนดให้ แพทย์ 1 คนดูแลประชากรตามจำนวนที่เหมาะสม ร่วมกับ ทีมสุขภาพ จากโรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่นั้นๆ

ทีมสุขภาพ ด้งกล่าว ประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และ อื่นๆ ตามเกณฑ์ ของกระทรวงฯที่กำหนดขึ้น ให้มาปฏิบัติงานในสถานีอนามัย และ ช่วยพัฒนาสถานีอนามัยให้จนได้ตามเกณฑ์ของ ศูนย์สุขภาพชุมชน ก็จะได้รับการรับรองเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนต่อไป ศูนย์สุขภาพชุมชนนี้มีจะมีประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขมากดังต่อไป คือ

1.เป็นสถานบริการด่านแรก

ทำให้ประชาชนสะดวกในการเข้าถึงบริการ เพราะ อยู่ใกล้บ้าน มีทีมสุขภาพของโรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่นั้นมาตรวจรักษาให้ตามที่จะมาได้ เช่น ในปัจจุบันที่ร.พ.พนมฯมาได้เพียง สัปดาห์ละครึ่งวันเช้า แค่ 2 สถานีอนามัย โดยมี 2 ทีมสุขภาพที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นออกมา แต่ตามเกณฑ์จะต้องมามากกว่านี้ ต้องมาทุกวัน ในวันราชการ และต้องมาทุกสถานีอนามัย เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ได้ตามเกณฑ์ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ทุกสถานีอนามัยกลายเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ทั้งหมดครบ100%
แต่ละทีมออกพื้นที่รับผิดชอบของ ทีมเอง ตรวจรักษาให้ และ ระหว่างที่ไม่ได้มา ก็เป็นที่ปรึกษา กับทางศูนย์สุขภาพชุมชนได้ สามารถปรึกษาได้ตลอดทางโทรศัพท์ โดย ในเวลาราชการ สามารถ ปรึกษาแพทย์เจ้าของพื้นที่ได้ทางโทรศัพท์ ร.พ./มือถือ และ ช่วงนอกเวลาฯ สามารถปรึกษาแพทย์เวร ร.พ.ทางโทรศัพท์

2. ช่วยทำให้โรงพยาบาลมีคนไข้น้อยลงได้มีเวลาให้การรักษาที่มีคุณภาพมากกว่าตอนคนไข้มากต้องรีบๆตรวจ

จากคนไข้ป่วยเล็กน้อย ก็สามารถมารับการรักษาใกล้บ้านที่ศูนย์สุขภาพชุมชน มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกินความสามารถต้องส่งร.พ.จึงลดความแออัดที่ร.พ.ลงได้
ถ้าสถานีอนามัยมีคุณภาพ จนได้รับการรับรองเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ตามมาตรฐานแล้ว ถ้าประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบมาร.พ.เองโดยไม่ผ่านศูนย์ฯ จะต้องเสียค่ารักษาเอง จะเป็นการกำหนดให้ประชาชน ต้องรักษาที่ศูนย์ฯ ใกล้บ้านก่อน จึงจะมารักษา ร.พ.ได้ทำให้ ร.พ.คนไข้ลดลงไปเพิ่มมากขึ้นที่ใกล้บ้าน(ศูนย์สุขภาพชุมชน)สะดวกต่อคนไข้ สุขภาพดีขึ้นในราคาถูก และ แพทย์พร้อมทีมสุขภาพ ได้เปลี่ยนบรรยากาศ ออกตรวจคนไข้นอกสถานที่ช่วงเช้า ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ส่วนตอนบ่ายก็กลับ ร.พ.มาดูแลคนไข้ในพื้นที่รับผิดชอบที่มานอนรักษาที่ร.พ.

*ยกเว้นในกรณีอุบัติเหตุ หรือ ฉุกเฉิน คนไข้สามารถมาได้ทัันทีไม่ต้องผ่านศูนย์ เพื่อได้ใบส่งตัว

ดูเพิ่มเติมได้ที่"แนวทาง การดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ" ที่เวบข้างล่าง

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&blog=2

3.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลง

1.ของศูนย์สุขภาพชุมชน:จากการที่ทีมสุขภาพจากร.พ.ในพื้นที่นั้น มาทำการรักษาใกล้บ้านให้ คนไข้ป่วยเล็กน้อยก็สามารถมาใช้บริการได้แต่เริ่มป่วย ไม่ต้องรอให้ป่วยหนักจึงเหมารถมาร.พ.ทำให้ค่ารักษาน้อยลงลดโรคแทรกซ้อนและความพิการ ตัวอย่าง แทนจะเป็นปอดอักเสบ จากเป็นหวัด ไม่ได้รับการรักษาและคำแนะนำแต่เริ่มแรก มาหาช้า
และ เจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนออกเชิงรุกเข้าไปดูแลเยี่ยมบ้านเพื่อ ทำงานส่งเสริม ป้องกัน ค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเจ็บป่วย ค้นหาผู้ป่วย และ ฟื้นฟู ฯลฯทำให้คนป่วยน้อยลง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีงานน้อยลง และ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะถูกลง คนไข้น้อยลงด้วย

2.ของประชาชนเอง:จากการที่เจ็บป่วยไม่ต้องเดินทางมา ร.พ.ที่อยู่ห่างจากบ้าน เป็นเดินทางมาศูนย์ฯใกล้บ้านแทน ค่าใช้จ่ายการเดินทางถูกลง ไม่เสียเวลาเดินทาง และ การมาหาเร็วทำให้รักษาง่าย หายเร็ว ไม่ป่วยหนักจนมีโรคแทรกซ้อน

หมายเหตุ:เมื่อประชาชนเข้ามารับบริการตามเครือข่าย ตามขั้นตอนข้างต้น จะไม่เสียค่าบริการจะใช้ตามสิทธิรักษาฟรีได้

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน

โดย น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา



.................................................................

เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของประชาชน ให้มีแนวคิด ที่จะดูแลตนเองไม่ให้ป่วย โดยการใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับโรค และ นำความรู้ที่ได้มาเปลี่ยนทัศนคติ จากการรอให้ป่วยแล้วมารักษา เป็นทำอย่างไรจะได้ไม่ป่วย และ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย แทน การมาหา เพื่อขอรับการรักษา หรือ มาเพื่อขอรับยา เท่านั้น ตามแนวทาง KAP:K-Knowledge,A-Attitude,P-Practise

ผลจะทำให้
1.ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศลดลง แทนที่จะเพิ่มขึ้น 20% ทุกปีเหมือนเดิม ที่ การสาธารณสุข มุ่งรักษาอย่างเดียว ไม่มุ่งเน้นเรื่องการให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรีบรักษาเมื่อเริ่มป่วย และ การฟื้นฟูสุขภาพหลังหายป่วยให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว

2.ผลจากการมีการมีแนวคิดใหม่นี้ จะมีผลทำให้ ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนสะดวกในการเข้าถึงบริการ มีประสิทธิภาพ ในราคาถูก ได้ในที่สุด

เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน คือ ทำอย่างไรให้ไม่เกิดโรค หรือ เกิดโรคแล้ว ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นมาก หรือ ทำอย่างไร ไม่ให้มีความพิการ หรือ เสียชีวิต

การเกิดโรคนั้น เกิดจากการเสียสมดุลย์ ของ 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่

1.คน (Host)อ่อนแอ

2.สิ่งที่ก่อให้เกิดโรค(Agent)

3.สิ่งแวดล้อม(Environment)ไม่ถูกสุขลักษณะ

นำมาทำให้เป็นรูปธรรม เรียกว่า

โครงการ "เมืองไทยแข็งแรง" มี 8 ตัวชี้วัด ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี

ที่จะต้องปรับปรุงให้ถูกต้อง คือ

อ.1อาหาร มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ว่าปลอดภัย ทานแต่พอเหมาะไม่มาก หรือ น้อยเกินไป

อ.2ออกกำลังกายที่เหมาะสม30นาทีต่อวัน และ สม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ3วัน

อ.3อารมณ์ และ สุขภาพจิตดีไม่มองโลกในแง่ร้าย

อ.4อนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสุขลักษณะ

อ.5อโรคยา:ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ตาม 8 อ.นี้และ การตรวจสุขภาพประจำปีฯลฯ

อ.6อบายมุขควรละเลิก

อ.7อาชีพสุจริตและมีรายได้เพียงพอตามปรัชญา"เศรษฐกิจพอเพียง"

อ.8องค์ความรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตด้านสุขภาพและการดำรงชีวิต ค้นหา,เปลี่ยนทัศนคติ และ นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย


โครงการนี้ จะสำเร็จ ได้ ต้องอาศัย แนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=11&blog=3

ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ที่เสนอว่าการแก้ปัญหายากๆ นั้น ต้องแก้ 3 ด้านพร้อมกัน เมื่อสมดุลย์ได้เหมาะสมก็จะแก้ปัญหาได้มี 3 ด้านดังนี้

ด้านที่ 1.ประชาชน ต้องเข้าถึงความรู้ จนเกิดการเปลี่ยนทัศนคติของตนเองให้ถูกต้อง เรื่อง "การป้องกันไม่ให้ป่วยดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารัษา"และ นำไปปฏิบัติเป็นนิสัย แทน การมาหาเพื่อขอรับการรักษา หรือ มาเพื่อขอรับยา เท่านั้น เช่น การมีอินเตอร์เนตทุกบ้านสามารถใช้อินเตอร์เนตค้นหาข่าวที่ต้องการได้จากการค้นหาจากกูเกิ้ลwww.google.com

ด้านที่2.มีองค์กรที่รับผิดชอบ ได้แก่ องค์กรบริหารส่วนตำบล,ศูนย์สุขภาพชุมชน,โรงพยาบาลและ โรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ ที่คอยกำกับดูแล ให้ประชาชนยังคงทำตามแนวทางการสร้างสุขภาพ แทน ซ่อมสุขภาพ ตามแนวทาง โครงการเมืองไทยแข็งแรง ข้างต้น โดยออกระเบียบ หรือ การสร้างวัฒนธรรม ของสังคมขึ้นบังคับ ให้ประชาชน ต้องปฏิบัติ เมื่อต้องการจะเป็นสมาชิกของชุมชน

ด้านที่3.การมีกฏหมายมาบังคับใช้ให้โครงการดังกล่าวดำเนินไปได้ ได้แก่

พ.ร.บ.ปฏิรูประบบสาธารณสุข ให้มุ่งเน้น "การสร้างนำซ่อมสุขภาพ" พ.ร.บ.ประกันสุขภาพ และ ฯลฯ นำมาใช้บังคับให้ประชาชนต้องทำตามกฏหมาย เช่น กฏหมายใส่หมวกกันน๊อค กฏหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ฯลฯ ถ้าไม่ทำตามมีบทลงโทษ บังคับ ให้ไม่กล้าฝืนกฏหมาย

ถ้ามีการออกกฏระเบียบโรคที่ทราบสาเหตุ และ สามารถป้องกันได้ ถ้าป่วยด้วยโรคเหล่านี้บ่อย ควรจะให้จ่ายค่ารักษาเองเมื่อป่วยบ่อยเกินค่ามาตรฐาน เช่น กำหนด ว่าป่วยด้วยไข้หวัด รักษาฟรี ได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี ถ้าป่วยครั้งที่ 4 ด้วยไข้หวัดอีกต้องเสียเงินเอง เป็นต้น

ปัจจุบันยังไม่มีกฏระเบียบนี้ ขอเสนอว่าน่าจะมีการออกขึ้นมาตามแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา มาบังคับให้คนใส่ใจการไม่ป่วยบ่อยเกินค่ามาตรฐาน โดย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่ีดูแลประชาชนใกล้บ้าน ที่ เป็นแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน ด้วย ในแพทย์คนเดียวกัน จะช่วยให้แนวคิดของการเกิด ภาพ เมืองไทยแข็งแรง ได้อย่างยั่งยืน


"จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน", "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" หมายถึง, "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" คือ, "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" ความหมาย, "จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu