.กฎหมาย?
ตัวอย่างกฏหมายเนรคุณบุพพการี
ตัวอย่างกฏหมายเนรคุณบุพพการี
ตามจารีตประเพณีอันดีงามของไทยแต่โบราณ รวมทั้งแนวความคิดตามหลักพุทธศาสนา บิดามารดาถือเป็นผู้มีอุปการะคุณ เป็นผู้มีพระคุณ ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร จึงเป็นบุคคลที่สมควรให้ความเคารพนับถืออย่างสูงสุด อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที บุตรคนใดที่กระทำการที่ไม่ดีต่อบิดามารดา มักได้รับการตราหน้าว่าเป็นผู้เนรคุณ ดังนั้น ผู้เป็นผู้สืบสันดานจะล่วงละเมิดมิได้ กฎหมายจึงได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีของตนเอง ภาษากฎหมายเรียกว่า คดีอุทลุม ดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขออัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office หลักการที่ห้ามมิให้ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีของตนนี้ ห้ามฟ้องทั้งทางคดีแพ่งและคดีอาญา แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นการห้ามเด็ดขาด เพราะกฎหมายยังได้เปิดโอกาสให้ผู้สืบสันดานหรือญาติสนิทของผู้สืบสันดานร้องขอให้อัยการยกคดีนั้นขึ้นว่ากล่าวแทนได้ ก็คือกฎหมายยังเปิดโอกาสให้ฟ้องบุพการีของตนเองได้ แต่จะฟ้องตรงๆ ไม่ได้ต้องร้องขอให้อัยการดำเนินการแทนได้ และการที่พนักงานอัยการฟ้องคดีเช่นนี้ เป็นการเข้าดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ ไม่ใช่ฐานะทนายความจึงไม่มีการแต่งตั้งทนายความ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของคดีประเภทนี้ก็คือ กฎหมายห้ามการฟ้องก็แต่เฉพาะกรณีผู้สืบสันดานฟ้องบุพการี แต่มิได้ห้ามบุพการีฟ้องผู้สืบสันดาน ความหมายของคำว่า บุพการี คือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย และทวด ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน และลื่อ โดยเฉพาะผู้สืบสันดานนี้ให้ถือตามกฎหมายคือ หากเป็นบุตรก็ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่รวมถึงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้บิดาจะรับรอง สาเหตุเพราะตาม ป พ พ มาตรา 1562 นี้ เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิต้องตีความโดยเคร่งครัด ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม 409
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!