ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หมายถึง, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คือ, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ความหมาย, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

          การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ระยะด้วยกัน คือ
          ๑. ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ ๒ สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง ๑ ฟองโดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ ๑๒-๑๖)  ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก๑ เป็น ๒  จาก ๒ เป็น ๔ จาก ๔ เป็น ๘ จาก ๘ เป็น ๑๖ เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว  ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา  เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารกในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์
          ๒. ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๓-๗ หรือ ๘ เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย (organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา  เป็นต้น  ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุดสำหรับการติดเชื้อหรือการกินยาบางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้
          ๓. ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ ๗ หรือ ๘-๔๐ เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
          ในระยะตัวอ่อนนี้  เมื่ออายุครรภ์ครบ  ๒๘ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๓๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ  ๑,๐๐๐ กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่  มีไข่เคลือบทั่ว  อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานได้ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม
          เมื่ออายุครรภ์ครบ ๓๒ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๖๐๐-๒,๐๐๐  กรัม  เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้ มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น
          เมื่ออายุครรภ์ครบ ๓๖ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ  ๒,๐๐๐-๒,๔๐๐ กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่างๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่
          และเมื่ออายุครบ  ๔๐  สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่างๆของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ  ๕๐  เซนติเมตร น้ำหนักตัวไม่ควรน้อยกว่า  ๒,๕๐๐ กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สบายขึ้น

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หมายถึง, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คือ, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ความหมาย, การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu