อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างความคุ้มกันจากอำนาจศาลและความละเมิดมิได้ในตัวบุคคล??
อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างความคุ้มกันจากอำนาจศาลและความละเมิดมิได้ในตัวบุคคล
อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างความคุ้มกันจากอำนาจศาลและความละเมิดมิได้ในตัวบุคคล
ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลเป็นเรื่องห้ามการจับกุม หรือการบังคับโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ แต่เรื่องความคุ้มกันจากอำนาจศาลเป็นเรื่องหลุดพ้นหรือยกเว้นจากการดำเนินการตามกระบวนการของศาล ข้อ 29 ของอนุสัญญา ฯ กำหนดว่า “ ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางทูตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางทูต ดังนั้นรัฐผู้รับจะต้องให้ความคุ้มกันแก่ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตอย่างเด็ดขาดและไม่จำกัดขอบเขตกล่าวคือ ครอบคลุมถึงการกระทำทุกประการ ทั้งที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่และการกระทำส่วนตัว อย่างไรก็ดี ความละเมิดมิได้ของตัวบุคคลมิใช่จะไม่มีขอบเขตจำกัดเสียเลย ในกรณีที่ทูตได้กระทำการอันก่อให้เกิดอันตรายต่อรัฐผู้รับ หรือการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับก็อาจปฏิบัติการบางอย่างต่อตัวแทนทางทูตได้โดยขอให้รัฐผู้ส่งเรียกทูตกลับ หากมีการละเมิดตัวเจ้าหน้าที่ทางการทูตโดยไม่มีเหตุผลสมควร รัฐผู้รับอาจต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการขอขมาอย่างเป็นทางการ การแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้กลับดีอย่างเดิม การชดใช้ค่าเสียหาย หรือการลงโทษที่ละเมิดต่อทูต เป็นต้น ข้อมูลจาก กระทรวงการต่างประเทศ
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!