ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคติดต่อในประเทศไทย, โรคติดต่อในประเทศไทย หมายถึง, โรคติดต่อในประเทศไทย คือ, โรคติดต่อในประเทศไทย ความหมาย, โรคติดต่อในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคติดต่อในประเทศไทย

          ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อ นับแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีการตราพระราชบัญญัติโรคติดต่อขึ้น และมีการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๔๗๙ และ พ.ศ. ๒๔๘๒ ใน พ.ศ. ๒๔๘๕  ประกาศใช้พระราชบัญญัติไข้จับสั่น และ พ.ศ. ๒๔๘๖ มีพระราชบัญญัติโรคเรื้อน
          ใน พ.ศ. ๒๕๒๓  ได้ยกเลิกกฎหมายทั้ง ๕ ฉบับ และประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ 
          ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีประกาศรัฐมนตรีเรื่องโรคติดต่ออันตราย  โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ เรียงตามลำดับดังนี้
          ๑. โรคติดต่ออันตราย มีอยู่ ๔ โรค ได้แก่อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค
          ๒. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔  มีอยู่ ๔๔ โรค คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลืองไข้กาฬหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน โรคบาดทะยักโปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูมไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า  โรคตับอักเสบ  โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย  ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ สครับไทฟัส (scrub typhus)  มูรีนไทฟัส  (murine  typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทร็กซ์  (antrax) โรคทริคิโนซิส (trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซิส ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน  แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ    โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง
          ๓. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ  มีอยู่ ๑๕โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค  ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ โรคบาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ  ไข้พิษสุนัขบ้า  ไข้รากสาดใหญ่ แอนแทร็กซ์ โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น  โรคคุดทะราด ระยะติดต่อ โรคเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม
          ดังนั้นจะเห็นว่า   ประเทศไทยมีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด  ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรงบางชนิด  ได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว เช่นไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคอีกเลย นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ และไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ. ๒๕๐๕ (ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑) โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้าง  ก็ได้ลดความรุนแรงลงไป  เช่น  อหิวาตกโรคอย่างไรก็ตาม โรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฏอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่  ฉะนั้น โดยทั่วไปแล้ว   โรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป
          โรคติดต่อในปัจจุบันที่สมควรกล่าวให้ทราบมีดังต่อไปนี้ (สำหรับโรคคอตีบ  ไอกรน  บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส ไข้เลือดออก  และวัณโรคในเด็ก  โปรดดูเรื่อง การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ เล่ม ๘)

โรคติดต่อในประเทศไทย, โรคติดต่อในประเทศไทย หมายถึง, โรคติดต่อในประเทศไทย คือ, โรคติดต่อในประเทศไทย ความหมาย, โรคติดต่อในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu